การให้กำลังใจมีความสำคัญต่อผู้ป่วยมะเร็งอย่างไร

วันที่ 26-03-2025 | อ่าน : 47


การให้กำลังใจมีความสำคัญต่อผู้ป่วยมะเร็งอย่างไร

การให้กำลังใจผู้ป่วยมะเร็งเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถช่วยให้พวกเขาผ่านพ้นความยากลำบากไปได้ นอกจากนั้นยังส่งผลต่อการฟื้นตัวทั้งทางร่างกาย และ จิตใจของผู้ป่วย แต่การให้กำลังใจที่ผิดวิธีก็อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแย่ และ หมดหวังได้เช่นกัน การให้กำลังใจที่ดีควรเริ่มจาก การเข้าใจ และ เคารพความรู้สึกของผู้ป่วย ฟังพวกเขาอย่างตั้งใจ และ ไม่ตัดสิน บางครั้งแค่การอยู่เคียงข้างและให้การสนับสนุนก็สามารถทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นอย่างมาก

เราควรให้กำลังใจผู้ป่วยมะเร็งอย่างไร?

แม้ว่าผู้ป่วยมะเร็งบางคนจะดูเข้มแข็ง และ มีกำลังใจดี แต่ในบางวันหรือบางครั้ง พวกเขาก็อาจมีความรู้สึกหมดหวัง และ ท้อแท้ การรักษาโรคมะเร็งมักจะมาพร้อมกับผลข้างเคียงต่างๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอ่อนล้า ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บปวดจากการรักษา หรือ ความเครียด ดังนั้นการพูดให้กำลังใจ และ สนับสนุนจิตใจผู้ป่วยมะเร็งจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง

 

  1. ให้คำแนะนำที่เป็นกำลังใจ และ ไม่ตัดสินทางเลือกของผู้ป่วย 

สำหรับผู้ป่วยมะเร็งการต้องเผชิญกับโรค และ การรักษา อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเครียด และ วิตกกังวลอยู่แล้ว  หากเราต้องการให้กำลังใจ จึงไม่ควรไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเครียดมากขึ้น และ ไม่ควรพยายามแก้ไขปัญหาให้เขา หากต้องการให้กำลังใจควรเลือกคำถามที่แสดงออกถึงความห่วงใย เช่น “วันนี้เป็นอย่างไรบ้าง มีอะไรที่ฉันสามารถช่วยเหลือได้บ้าง” และ อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ คือการไม่ตัดสินในการกระทำของผู้ป่วย หรือ นำความคิดเห็นส่วนตัวมาตัดสินทางเลือกของผู้ป่วย เช่น “ทำไมไม่รักษาแบบนี้” หรือ “ถ้าหากเป็นฉัน จะเลือกทำอย่างนี้” เพราะนอกจากจะเป็นการบั่นทอนความรู้สึกของผู้ป่วยแล้วยังไม่ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับกำลังใจใด ๆ อีกด้วย

 

  1.  เป็นผู้ฟังที่ดี รับฟังอย่างใส่ใจ

สับหรับผู้ป่วยบางราย เขาเพียงต้องการผู้ฟังที่ดีที่จะรับฟังเรื่องเล่า และ ปัญหาของเขา พวกเขาอาจไม่ได้คาดหวังให้เราแก้ไขปัญหา หรือ แนะนำทางออกใด ๆ การรับฟังที่ดีคือการฟังในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการเล่าโดยไม่ตัดสิน การที่ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกหรือเล่าเรื่องราวของตัวเองออกมา และมีใครสักคนที่ฟังอย่างใส่ใจ ช่วยให้เขารู้สึกได้แบ่งเบาความเครียดและความกังวล ผ่อนคลายมากขึ้น และไม่รู้สึกโดดเดี่ยว เพราะในบางครั้งคนเราก็ต้องการเพียงแค่มีใครสักคนคอยรับฟังอยู่เคียงข้าง เข้าใจ และ ยอมรับในตัวเรา

 

  1. การสนันสนุนผู้ป่วยในด้านการดูแลสุขภาพ

นอกเหนือจากการให้กำลังใจด้วยคำพูดแล้ว การช่วยเหลือผู้ป่วยในด้านการดูแลสุขภาพนั้นก็เป็นสำคัญไม่แพ้กัน เพราะการดูแลร่างกายให้แข็งแรงสามารถช่วยเสริมสร้างพลังใจและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยได้อย่างมาก เช่น การเตรียมอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การแนะนำอาหารที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วย เป็นต้น 

 

ข้อความหรือคำพูดที่ควรหลีกเลี่ยงหากเรามีเพื่อน หรือ คนรู้จักเป็นโรคมะเร็ง

  • หลีกเลี่ยงการพูดถึงโรคของผู้ป่วยซ้ำ ๆ เพราะบางคำพูดอาจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเครียด หรือ วิตกกังวลมากขึ้น เช่น “โรคมะเร็งน่ากลัวมาก” “ใกล้หายหรือยัง” 
  • อย่าเปรียบเทียบปัญหาของผู้ป่วยกับคนอื่น เพราะอาการของโรคในแต่ละบุคคลแตกต่างกัน การเปรียบเทียบอาการของเขากับผู้ป่วยท่านอื่นอาจทำให้ผู้ป่วยมีความเครียดเพิ่มมากขึ้นแทน
  • ไม่ควรพูดว่า “ฉันรู้ว่าคุณรู้สึกอย่างไร” ถึงแม้เจตนาจะต้องการสื่อว่าเราเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วย แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ป่วยอาจรู้สึกว่าไม่มีใครที่เข้าใจเขาอย่างแท้จริง สิ่งที่ควรทำคือการรับฟัง แสดงออกให้ผู้ป่วยรู้ว่าต่อให้เราไม่รู้ว่าเขารู้สึกอย่างไร แต่เราจะคอยอยู่เคียงข้างเขาเสมอ
  • ไม่ควรพูดว่า “อย่าคิดมาก” “อย่าเครียดไปเลย” เพราะนั่นจะทำให้รู้สึกว่าเขาถูกปฏิเสธความรู้สึกของตัวเองและถูกบอกให้หยุดคิดถึงปัญหาหรือความกังวลที่เขากำลังเผชิญอยู่ ถึงแม้ว่าเราอาจจะต้องการให้กำลังใจเขาก็ตาม สิ่งที่ควรทำคือรับฟังอย่างตั้งใจ และคอยอยู่เคียงข้างเขา
  • ระมัดระวังในการพูดถึงผลของการรักษา เช่น “ทำไมยังไม่หาย” “ทำไมยังเป็นอีก” คำพูดเหล่านี้อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผิดหวัง หรือ รู้สึกว่าเขากำลังล้มเหลวในการรักษา เพราะการรักษามะเร็งอาจต้องใช้เวลา 

 

การดูแลสภาพจิตใจผู้ป่วยมะเร็ง

การดูแลสภาพจิตใจของผู้ป่วยมะเร็งเป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการฟื้นฟู และ ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรับมือกับการรักษาได้ดีขึ้น ซึ่งแนวทางในการดูแลสภาพจิตใจของผู้ป่วยมะเร็งมีดังนี้

  1. มีเวลาให้กับผู้ป่วย 

ผู้ป่วยมะเร็งอาจมีความรู้สึกโดดเดี่ยว การมีใครสักคนอยู่เคียงข้างจะช่วยให้ผู้ป่วยคลายความกังวลลงได้ 

  1. ชวนผู้ป่วยออกไปทำกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียด

ให้ผู้ป่วยได้ทำในสิ่งที่ชอบ เช่น ดูภาพยนตร์ ละครเวที เดินเล่น เป็นต้น 

  1. ชวนผู้ป่วยออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้การออกกำลังกาย

ยังช่วยลดความเครียดจากการรักษา และได้ปลดปล่อยความคิดทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น

 

ปรึกษามะเร็งฟรี

สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลตนเอง หรือ การให้กำลังใจแบบถูกวิธีแก่ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผ่านช่องทางการติดต่อของเรา

Facebook Fanpage: ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
📞 เบอร์ติดต่อ: 087-678-6026

🌐 เว็บไซต์: https://www.siamca.com/ 

 

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
ความรู้มะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้