มะเร็งมีกี่ระยะ และ การดูแลร่างกายผู้ป่วยมะเร็งในแต่ละระยะ

วันที่ 26-02-2025 | อ่าน : 238


มะเร็งมีกี่ระยะ และ การดูแลร่างกายผู้ป่วยมะเร็งในแต่ละระยะ

โรคมะเร็ง (Cancer) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเซลล์จะแบ่งตัวและเจริญเติบโตรวดเร็วอย่างควบคุมไม่ได้เกิดเป็นก้อนเนื้อร้าย มีการลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ข้างเคียง หรือ แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายผ่านระบบเลือด ระบบทางเดินน้ำเหลือง โรคมะเร็งมีหลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับตำแหน่งของโรคและชนิดของเซลล์มะเร็ง

 

ระยะของโรคมะเร็ง คือการประเมินระดับความรุนแรง และ การแพร่กระจายของมะเร็งในร่างกาย โดยแบ่งออกเป็นหลายระยะเพื่อช่วยแพทย์ในการวางแผนการรักษา ระยะของมะเร็งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ขนาดของก้อนมะเร็ง การแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง หรือ การแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย

 

มะเร็งมีกี่ระยะ?

ระยะที่ 0: มะเร็งยังไม่ได้เจริญเติบโตเข้าไปในเนื้อเยื่อที่ปกติ แต่มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็ง

ระยะที่ 1: หรือมะเร็งระยะแรก ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็ก เซลล์มะเร็งเพิ่งเริ่มก่อตัวอยู่ในอวัยวะเดียว ยังไม่มีการลุกลามหรือแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ

ระยะที่ 2: ก้อนมะเร็งเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น และ เริ่มมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียง

ระยะที่ 3: ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง หรือ ต่อมน้ำเหลืองหลายแห่ง

ระยะที่ 4: หรือมะเร็งระยะสุดท้าย มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ เช่น ปอด ตับ กระดูก สมอง เป็นต้น 

 

มะเร็งระยะที่ 0 หลายคนมักจะไม่รู้จักระยะที่ 0 หรือระยะนี้ โดยมะเร็งในระยะนี้มักจะไม่มีอาการที่ชัดเจน เนื่องจากมะเร็งยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น อาจตรวจพบจากการตรวจสุขภาพประจำปี การรักษาในระยะที่ 0 มักจะเป็นการผ่าตัดหรือการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การฉายรังสี หรือการใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งที่เป็น

การดูแลสุขภาพทั่วไป เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ ทานผัก ผลไม้ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงควรลดความเครียด ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ด้วยการหางานอดิเรกทำ หรือ นั่งสมาธิ เป็นต้น

 

มะเร็งระยะที่ 1 หรือ มะเร็งระยะแรก คือระยะที่มะเร็งเริ่มมีการเจริญเติบโตขึ้นในอวัยวะที่เกิดและยังไม่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่น ๆ มะเร็งในระยะนี้มักจะยังมีขนาดเล็ก

การรักษาและการดูแลสุขภาพทั่วไป สำหรับมะเร็งระยะนี้จะรักษาโดยการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออก การฉายรังสี หรือการใช้ยาเคมีบำบัด ขึ้นอยู่กับชนิดและตำแหน่งของมะเร็ง การดูแลด้านอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น

การรับประทานอาหาร ทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ อาหารไขมันต่ำ และ หลีกเลี่ยงอาหารทอด อาหารมัน อาหารแปรรูปที่เสี่ยงมีสารก่อมะเร็ง

การออกกำลังกาย ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน เพิ่มกล้ามเนื้อ โดยการออกกำลังกายควรเลือกออกกำลังตามความเหมาะสม และ ไม่ฝืนจนเกินไป

พักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับให้เพียงพอช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

มะเร็งระยะที่ 2 มะเร็งในระยะนี้ก้อนมะเร็งเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น และ เริ่มมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียง

การรักษาและการดูแลสุขภาพทั่วไป ในช่วงมะเร็งระยะที่ 2 ที่มีก้อนเนื้อขนาดใหญ่ขึ้นนั้นจะรักษาด้วยการผ่าตัด ฉายรังสี หรือการใช้ยาเคมีบำบัด ซึ่งการดูแลตัวเองในระหว่างการรักษานั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ

การดูแลหลังการผ่าตัด ควรพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นตัว และ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก หมั่นดูแลรักษาความสะอาดของแผลผ่าตัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ สามารถออกกำลังกายเบา ๆ ได้ เช่นการเดิน แกว่งแขน เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มออกกำลังกาย

การดูแลหลังการฉายรังสี การฉายรังสีอาจทำให้ผิวหนังบริเวณที่ได้รับรังสีแห้งหรือระคายเคือง ใช้ครีมหรือโลชั่นที่อ่อนโยนต่อผิวทาเบาๆ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดด และดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ ที่สำคัญต้องหมั่นสังเกตตัวเองอยู่เสมอหากมีอาการแสบร้อน มีผื่นแดง หรือผิวหนังลอก ต้องรีบแจ้งแพทย์ทันที

การดูแลตัวเองหลังการทำเคมีบำบัด เมื่อทำเคมีบำบัดอาจมีอาการข้างเคียงหลายอย่าง เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ผัก ผลไม้ เลือกชนิดที่ไม่หวาน และทานแต่พอดีไม่เยอะจนเกินไป และ ต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ ไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ ที่สำคัญต้องพักผ่อนให้เพียงพอ

มะเร็งระยะที่ 3 ในระยะนี้มะเร็งมักมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง หรือ อวัยวะข้างเคียงแล้ว

การรักษาและการดูแลสุขภาพทั่วไป ในช่วงนี้การรักษาและติดตามผลการรักษาเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการรักษาด้วยการผ่าตัด เคมีบำบัดหรือฉายแสงทำให้ภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยลดลง ต้องเสริมภูมิคุ้มกันด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายตามความเหมาะสม หลังจากจบการรักษาไปแล้วก็ยังมีความเสี่ยงที่มะเร็งจะกลับมาเกิดซ้ำได้อีก ดังนั้นควรติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง

 

มะเร็งระยะที่ 4 หรือ มะเร็งระยะสุดท้าย ในระยะนี้มะเร็งได้ลุกลามหรือแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยมะเร็งในระยะสุดท้ายมักจะมีอาการที่รุนแรงขึ้น เช่น การเจ็บปวดอย่างต่อเนื่อง อาการเบื่ออาหาร การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว และปัญหาทางร่างกายอื่น ๆ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติในกิจกรรมประจำวัน ในกรณีของมะเร็งระยะสุดท้ายที่ไม่สามารถรักษาหายขาดได้ การรักษาในช่วงนี้จะเน้นไปที่การบรรเทาอาการของโรคและทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด ซึ่งการดูแลในระยะนี้จะถูกเรียกว่า การดูแลแบบประคับประคอง เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดของผู้ป่วย ให้มีสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ทรมาน สำหรับผู้ป่วยในระยะนี้กำลังใจจากคนรอบข้างและครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียด และ วิตกกังวล 

ความสำคัญของการให้กำลังใจผู้ป่วยมะเร็ง

สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งในทุกระยะการได้รับกำลังใจจากคนที่รัก ครอบครัว หรือคนรอบข้าง เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะผู้ป่วยต้องเผชิญกับความเครียด วิตกกังวล และความเจ็บปวดทางร่างกาย การให้กำลังใจผู้ป่วยไม่เพียงแต่เป็นการทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น แต่เป็นการทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าไม่ได้อยู่เพียงลำพัง ยังมีคนที่คอยห่วงใย คอยสนับสนุน ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกโดดเดี่ยว

 

ปรึกษามะเร็งฟรี

สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลตนเอง หรือ การให้กำลังใจแบบถูกวิธีแก่ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผ่านช่องทางการติดต่อของเรา

Facebook Fanpage: ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
📞 เบอร์ติดต่อ: 087-678-6026

🌐 เว็บไซต์: https://www.siamca.com/ 

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
ความรู้มะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้