อาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในเด็ก

วันที่ 11-12-2024 | อ่าน : 43


มะเร็งต่อมน้ำเหลืองในเด็ก

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองในเด็ก เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในระบบน้ำเหลือง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มะเร็งประเภทนี้มักมีการเจริญเติบโตของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติ

 

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ

  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Hodgkin มักเริ่มจากการบวมของต่อมน้ำเหลืองที่คอ รักแร้ หรือขาหนีบ โดยไม่เจ็บปวด
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non Hodgkin เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่พบในเด็กได้น้อยกว่า Hodgkin lymphoma แต่ก็ยังสามารถพบได้ มีหลายชนิด ซึ่งบางประเภทอาจมีอาการที่รุนแรงกว่าหรือกระจายเร็วขึ้น

 

อาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในเด็ก

อาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในเด็กจะขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรค อาการที่พบได้บ่อย คือ

  • การบวมของต่อมน้ำเหลือง

เด็กอาจมีต่อมน้ำเหลืองบวมที่คอ รักแร้ หรือ ขาหนีบ ซึ่งมักจะไม่มีอาการเจ็บปวด การบวมอาจเริ่มต้นในจุดใดจุดหนึ่งแล้วขยายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ต่อมน้ำเหลืองที่บวมอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ หากไม่ได้รับการรักษา

  • เป็นไข้

ไข้สูงโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจมีไข้ที่เป็น ๆ หาย ๆ

  • เหงื่อออกตอนกลางคืน

อาการเหงื่อออกในเวลากลางคืน อาจทำให้เด็กตื่นนอนมนช่วงกลางคืนบ่อยครั้ง และ อาการเหงื่อออกในตอนกลางคืนมักเกิดร่วมกับอาการไข้

  • น้ำหนักลด

น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ แม้ว่าเด็กจะไม่ได้ลดการรับประทานอาหาร อาการน้ำหนักลดอาจเกิดขึ้นอย่างช้าๆ แต่เมื่อมีการเจริญเติบโตของมะเร็ง เด็กอาจมีการสูญเสียน้ำหนักอย่างรวดเร็ว

  • อ่อนเพลีย

เด็กอาจรู้สึกเหนื่อยง่าย หรือขาดพลังงาน แม้จะไม่ได้ทำกิจกรรมหนัก นอกจากนี้อาการอ่อนเพลียสามารถรบกวนกิจกรรมประจำวันของเด็ก ทำให้รู้สึกไม่สดชื่นและไม่กระปรี้กระเปร่า

  • ปวดท้อง

ในบางกรณีมะเร็งต่อมน้ำเหลืองอาจขยายไปที่อวัยวะภายใน เช่น ม้าม หรือตับ ซึ่งอาจทำให้เด็กมีอาการปวดท้อง อาการปวดท้องอาจเกิดจากการขยายตัวของต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง

  • คันบริเวณผิวหนัง

เด็กบางคนอาจรู้สึกคันที่ผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณที่มีการบวมของต่อมน้ำเหลือง ซึ่งอาการคันนี้อาจไม่สามารถอธิบายได้ และอาจเป็นอาการที่มาพร้อมกับเหงื่อออกตอนกลางคืน

  • หายใจลำบาก

หากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีการขยายตัวไปที่ปอดหรือบริเวณใกล้เคียง อาจทำให้เด็กหายใจลำบาก

  • ไอ

การไอเรื้อรัง หรือการไอที่ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน อาจเป็นสัญญาณของการกระจายของมะเร็งไปยังปอดหรือช่องอก

 

การวินิจฉัยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในเด็ก

โรคนี้จำเป็นต้องนำชิ้นเนื้อจากก้อนหรือต่อมน้ำเหลืองมาตรวจเพิ่มเติมอย่างละเอียดทางพยาธิวิทยา รวมถึงต้องทำการตรวจเพิ่มเติม เพื่อดูการกระจายของตัวโรค เช่น การตรวจทางรังสีวินิจฉัย (CT scan, Gallium scan/PET scan และ Bone scan) และเจาะตรวจไขกระดูก

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ความรู้มะเร็ง
การดูแลผู้ป่วย
การรักษามะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้