การเลือกรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง

วันที่ 13-11-2024 | อ่าน : 15


การดูแลโภชนาการสำหรับผู้ป่วยมะเร็งมีความสำคัญมาก เพราะการได้รับสารอาหารที่เหมาะสมช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

อาหารประเภทใดที่ผู้ป่วยมะเร็งควรกิน

  • สุก สะอาด มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่
  • เน้นโปรตีนทั้งจากพืช และสัตว์
  • ผัก ผลไม้ ต้องปอกเปลือกและล้างให้สะอาด
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ

 

หลักการเลือกอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง

โปรตีน

โปรตีนช่วยในการซ่อมแซมเซลล์และเนื้อเยื่อที่เสียหาย รวมถึงช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน อาหารที่มีโปรตีนสูงได้แก่

  • เนื้อสัตว์ (ไก่ ปลา หมู)
  • ถั่วเมล็ดแห้ง (ถั่วเขียว ถั่วเหลือง)
  • ไข่
  • นมและผลิตภัณฑ์จากนม (ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องการย่อย)

 

ผักและผลไม้

มีวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และลดการอักเสบ

  • ผักใบเขียว เช่น ผักโขม คะน้า
  • ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น บลูเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่
  • ผักที่มีสีสันต่าง ๆ เช่น แครอท พริกหวาน

 

ไขมันดี

ควรเลือกไขมันที่มีประโยชน์ เช่น ไขมันจากปลา (โอเมก้า-3) หรือไขมันจากพืช

  • น้ำมันมะกอก
  • น้ำมันมะพร้าว (ในปริมาณที่พอเหมาะ)
  • อะโวคาโด

 

คาร์โบไฮเดรตที่ดี

เลือกคาร์โบไฮเดรตที่มีไฟเบอร์สูง เช่น

  • ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต
  • มันหวาน เผือก
  • ขนมปังโฮลวีต

 

น้ำ

การดื่มน้ำให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะช่วยในการขับสารพิษออกจากร่างกาย และช่วยให้การย่อยอาหารดีขึ้น ควรดื่มน้ำอย่างน้อย 8-10 แก้วต่อวัน

 

อาหารประเภทใดที่ผู้ป่วยมะเร็งควรหลีกเลี่ยง

  • อาหารหมักดอง อาหารไม่สด ไม่สะอาด อาหารทิ้งไว้ข้ามคืน
  • ในช่วงได้รับการรักษา งดกินผักสด ผลไม้เปลือกบางที่กินทั้งเปลือก เช่น องุ่น ชมพู่
  • เลิกแอลกอฮอล์ เลิกสูบบุหรี่

 

หากเกิดอาการข้างเคียงจากการรักษามะเร็ง ควรทานอย่างไร

หากมีน้ำหนักลดลงมาก

เพิ่มการรับประทานอาหารระหว่างมื้อ จากอาหารมื้อหลัก 3 มื้อ อาจจะเป็นอาหารช่วงบ่ายและช่วงก่อนนอน เช่น โจ๊ก ขนมปังทาเนย หรือ แยมคุกกี้ ขนมปังกรอบต่างๆ ไอศกรีม น้ำเต้าหู้ เป็นต้น

 

เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน

รับประทานอาหารทีละน้อยบ่อยครั้ง เลือกรับประทานอาหารที่ชอบ และรับประทานช้า ๆ หลีกเลี่ยงจากอาหารที่มีกลิ่นฉุนต่าง ๆ เช่น กลิ่นกระเทียม หัวหอม กลิ่นเครื่องเทศต่าง ๆ เป็นต้น แนะนำเพิ่มเติมให้ดื่มน้ำขิง น้ำมะนาน้ำผลไม้เย็น ๆ จะช่วยไม่ให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนมาก

 

มีแผลบริเวรปากหรือมีอาการเจ็บคอ

หลีกเลี่ยงอาหารที่แห้งและแข็ง อาหารที่มีรสจัด เช่น เผ็ด เปรี้ยว เค็ม หรืออาหารที่ร้อนหรือเย็นมากเกินไป รับประทานอาหารอ่อน เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม หรือ นม น้ำเต้าหู้ เป็นต้น หลังจากรับประทานอาหารเสร็จให้บ้วนปากทุกครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อภายในปาก

 

ท้องเสีย

หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่อาจจะทำให้ท้องเสีย ได้แก่ นม ผลไม้ อาหารมัน อาหารรสเผ็ด อาหารหมักดอง เป็นต้น นอกจากนี้ หากดื่มนมแล้วท้องเสีย สามารถเปลี่ยนมาดื่มน้ำเต้าหู้ หรือนมถั่วเหลืองแทนได้ รวมทั้งให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก เป็นต้

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อาหารผู้ป่วยะมเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้