การตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มต้น MULTI-CANCER EARLY DETECTION

วันที่ 08-11-2023 | อ่าน : 499


การตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มต้น MULTI-CANCER EARLY DETECTION

การตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มต้น MULTI-CANCER EARLY DETECTION

รู้หรือไม่? ทำไมต้องตรวจหามะเร็งด้วยวิธี MULTI-CANCER EARLY DETECTION

     ปัจจุบันพบว่าคนไทยมีผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งเฉลี่ยเพิ่มขึ้นในทุกปี ทั้งยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของประชากรโลก แต่ในปัจจุบันการพัฒนาของเทคโนโลยีในการตรวจหามะเร็งก็ได้มีการพัฒนาเพิ่มขึ้น โดยเรียกการตรวจมะเร็งนี้ว่า “การตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มต้น (Multi-Cancer Early Detection)”

รู้จักกับ “การตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มต้น (Multi-Cancer Early Detection)”

     การตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มต้น (Multi-Cancer Early Detection) เป็นการตรวจหาสารมะเร็งพันธุกรรมของเซลล์มะเร็งที่ถูกปลดปล่อยออกมาในกระแสเลือด โดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Next-Generation Sequencing ซึ่งเป็นการตรวจหามะเร็งหลายชนิดพร้อมกัน จากการเจาะเลือดเพียงครั้งเดียว

สามารถตรวจมะเร็งระยะเริ่มต้นใดได้บ้าง?

การตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มต้นสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งได้ถึง 5 ชนิด ได้แก่

  • มะเร็งตับ
  • มะเร็งปอด
  • มะเร็งเต้านม
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร

โดยการตรวจหามะเร็งเหล่านี้สามารถตรวจได้จากการตรวจเลือดเพียงครั้งเดียว

การตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มต้น MULTI-CANCER EARLY DETECTION

 
ข้อดีในการตรวจหามะเร็งแบบ Multi-Cancer Early Detection

  • มีวิธีการตรวจที่ง่ายและเจ็บตัวน้อย เนื่องจากเจาะเลือดเพียงครั้งเดียว
  • ไม่จำเป็นต้องใช้เนื้อเยื่อส่วนต่างๆ หรือรุกล้ำเข้าไปในร่างกาย
  • มีความจำเพาะ แม่นยำ และรู้ผลไว

การตรวจ Multi-Cancer Early Detection เหมาะกับใครบ้าง?

  • ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งชนิดต่างๆ
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ หรือผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคมะเร็ง
  • บุคคลทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่ต้องการตรวจคัดกรองมะเร็งชนิดต่างๆ

      แม้ว่าโรคมะเร็งจะดูเป็นโรคที่ร้ายแรงและมีความน่ากลัว แต่กรณีที่ตรวจเจอในระยะแรกก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตมากกว่าพบในระยะแพร่กระจาย ดังนั้น หากตรวจพบได้เร็ว และเข้าสู่กระบวนการรักษาเร็ว โอกาสในการรอดชีวิตก็จะยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย

     นอกจากนี้การหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ เช่น การตรวจเต้านมด้วยตนเอง การตรวจมะเร็งปากมดลูกหรือการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี ก็อาจจะช่วยให้พบมะเร็งได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก ทำให้สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที

 

ขอขอบคุณข้อมูล นายแพทย์ณัฏฐ์ บุญตะวัน แพทย์ประจำสาขาอายุรกรรม โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อาหารผู้ป่วยมะเร็ง
การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้