วันที่ 01-09-2023 | อ่าน : 309
อันตราย! กลั้นอุจจาระ เสี่ยงริดสีดวง-มะเร็งลำไส้
การกลั้นอุจจาระ อาจเป็นพฤติกรรมที่หลายคนทำเป็นปกติ เนื่องด้วยการดำเนินชีวิต ที่ไม่เอื้อต่อการเข้าห้องน้ำ เมื่อปวดอุจจาระและมีความรีบเร่งในชีวิตประจำวัน ก็ทำให้กลั้นอุจจาระจนเคยชิน แต่ทราบหรือไม่ว่า การกลั้นอุจจาระ สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายและอาจก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้
กลั้นอุจจาระบ่อย ส่งผลเสียอะไรบ้าง?
การกลั้นอุจจาระ อาจส่งผลเสียต่าง ๆ ต่อร่างกาย ดังนี้
อาการของริดสีดวงทวาร อาจเริ่มตั้งแต่ไม่มีอาการ มีก้อน มีอาการปวด ไปจนถึงมีเลือดออกมากได้
นอกจากนี้หากมีการกลั้นอุจจาระจนท้องผูก และต้องใช้ยาระบายบ่อย ๆ อาจเกิดภาวะลำไส้ดื้อยา ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณการใช้ยาไปเรื่อย ๆ
ดูแลตัวเอง เลิกนิสัยกลั้นอุจจาระ
จากผลเสียของการกลั้นอุจจาระดังที่กล่าวมาแล้ว แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการไม่กลั้นอุจจาระ และฝึกการขับถ่ายให้เป็นกิจวัตร โดยการปฏิบัติตัว ดังนี้
อย่างที่เราทราบกันดีว่า ถ้าระบบการขับถ่ายผิดปกติ อาจจะทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับสุขภาพลำไส้ตามมา ได้แก่ ริดสีดวงทวารหนัก แผลปริที่ขอบทวารหนัก ลำไส้อักเสบเรื้อรัง มะเร็งลำไส้ ฯลฯ
ดังนั้นหากระบบทางเดินอาหารมีปัญหา หรือขาดสมดุล ร่างกายจะไม่สามารถทำงานได้ปกติ ส่งผลให้เกิดอาการเหนื่อยล้า ขาดสมาธิ สุดท้ายอาจนำไปสู่โรคร้ายแรงอย่างมะเร็งได้
เช็กความผิดปกติของตัวเองว่า มีปัญหาในเรื่องขับถ่ายหรือไม่?
การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
ปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยเทคนิคที่ทันสมัยผ่านทางกล้อง เช่น NBI (Narrow Band Image) EMR (Endoscopic Mucosal Resection) และ Endobrain (เป็นprogram AI) ที่ช่วยประเมินความเสี่ยงของติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ ซึ่งในการตรวจคัดกรองนั้น มีดังนี้
ตรวจยีนมะเร็งลำไส้ใหญ่
ผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ประมาณ 5% เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งได้รับยีนที่ผิดปกติมาจากบิดาหรือมารดา
ปัจจุบันมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ชนิดที่พบบ่อยแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลักๆ ได้แก่
Familial adenomatous polyposis (FAP)
เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบประมาณ 0.5-1% ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากกลายพันธุ์ของยีน APC tumor suppressor gene โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นและมากกว่า 99% จะพัฒนาเป็นมะเร็งในช่วงอายุก่อน 40 ปี
Hereditary Nonpolyposis Colorectal Cancer (HNPCC) หรือ Lynch Syndrome
เป็นโรคทางพันธุกรรม เช่นเดียวกับ FAP แต่พบได้บ่อยกว่า คือ ประมาณ 3-5% ของผู้ที่เป็นมะเร็ง โรคนี้เกิดจากยีน MLH1, MSH2, MSH6 และ PMS2 ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบรหัสพันธุกรรมเกิดการกลายพันธุ์ ปกติแล้วโรคนี้ตลอดช่วงชีวิต มีโอกาสการเกิดมะเร็งลำไส้สูงถึง 80% อายุเฉลี่ยของการเกิดมะเร็งลำไส้อยู่ที่ประมาณ 40-50 ปี อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่อื่นๆ ได้อีก เช่น มดลูก กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ตับอ่อน ไต และท่อทางเดินปัสสาวะ
ขอขอบคุณข้อมูล นพ. ชาลี เลาหพันธ์ อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร รพ.สมิติเวช
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้