วันที่ 09-08-2023 | อ่าน : 1311
การฉายรังสี บำบัดรักษาโรคมะเร็ง
การรักษามะเร็งด้วยการฉายรังสี หรือ การฉายแสง (radiotherapy) เป็นการนำเอารังสีมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ สามารถใช้รักษาเพียงลำพังหรือใช้ร่วมกับการรักษาอื่น ๆ ได้ เช่น ผ่าตัด ยาเคมีบำบัด การใช้ยามุ่งเป้า (Targeted therapy) เป็นต้น รังสีรักษาสามารถใช้ได้ในหลายระยะของโรคมะเร็งและใช้ได้เพื่อการรักษาแบบหวังให้หายขาด หรือ รักษาเพื่อ ประคับประคอง
รู้จักการฉายรังสี
การฉายรังสี หรือ การฉายแสง (radiotherapy) คือ การใช้รังสีพลังงานสูงฉายตรงไปที่ตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง เพื่อทำลายกลุ่มก้อนเซลล์มะเร็งนั้นๆ โดยการฉายแสงจะส่งผลให้เซลล์มะเร็งที่ได้รับรังสีมีการเปลี่ยนแปลงในระดับยีน ซึ่งในแต่ละครั้งที่ฉายแสงนั้น เซลล์มะเร็งจะสะสมความผิดปกติของยีนมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ไม่สามารถซ่อมแซมส่วนที่เสียหายจากรังสีได้และเซลล์นั้นก็จะตายลง
ปัจจุบันเทคโนโลยีของรังสีรักษาพัฒนาก้าวหน้าไปมาก ทำให้แพทย์สามารถกำหนดตำแหน่งของการรักษาได้แม่นยำ โดยรักษาเนื้อเยื่อปกติโดยรอบให้ปลอดภัยจากรังสี ลดผลข้างเคียงลงและควบคุมโรคได้มากขึ้น การรักษามะเร็งด้วยวิธีนี้ จะขึ้นอยู่กับระยะของโรคมะเร็ง และชนิดของมะเร็งด้วย และสุขภาพของผู้ป่วย
ประเภทของการรักษาด้วยรังสี
การรักษาด้วยรังสีแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่
การฉายรังสีสามารถรักษามะเร็งบริเวณใดได้บ้าง
ก่อนการรักษาด้วยการฉายรังสี
การรักษาด้วยการฉายรังสี ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลโดยแพทย์เฉพาะทาง โดยแพทย์จะอธิบายถึงบทบาทของรังสีรักษา ข้อดี ข้อเสีย และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการรักษา และภายหลังจากเสร็จสิ้นการรักษา โดยก่อนเริ่มการฉายรังสี ผู้ป่วยจะได้รับการทบทวนประวัติการรักษา ตรวจร่างกายทั่วไป ผลการตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ เช่น ผลเลือด ผลการส่องกล้อง ผลเอกซเรย์ต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อเป็นข้อบ่งชี้ในการฉายแสง ตลอดจนตรวจยืนยันผลชิ้นเนื้อและระยะของโรคอีกครั้ง
ขั้นตอนการรักษาด้วยการฉายรังสี
ระหว่างการรักษา
ในระหว่างการฉายรังสี ควรพบแพทย์รังสีรักษาประมาณสัปดาห์ละครั้ง โดยแพทย์จะประเมินการตอบสนองต่อการรักษา ผลข้างเคียง พร้อมแนะนำวิธีปฏิบัติตัว แต่หากมีอาการผิดปกติก็สามารถเข้าปรึกษาแพทย์ได้ทันที นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการตรวจความสมบูรณ์ของเลือด
หลังการรักษาด้วยการฉายรังสี
หลังครบแผนการรักษาของแพทย์ ผู้ป่วยยังคงต้องปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับช่วงฉายรังสีต่อประมาณ 2-3 สัปดาห์ โดยแพทย์จะนัดให้มาตรวจประเมินผลการรักษาประมาณ 2-4 สัปดาห์หลังฉายรังสีเสร็จ จากนั้นจะนัดตรวจทุก 1-3 เดือน แล้วแต่ชนิดของดรคมะเร็งและขั้นตอนการรักษา จากนั้นการติดตามผลการรักษาจะห่างขึ้นเป็น 4-6 เดือนจนกระทั่ง 5 ปี ถ้าผู้ป่วยมีอาการปกติและไม่มีอาการของโรค แพทย์จะนัดติดตามห่างขึ้นเป็นปีละครั้งตลอดไป
อย่างไรก็ตามในช่วงของการรักษาผู้ป่วยจะรู้สึกอ่อนเพลียจึงควรพักผ่อนอย่างเต็มที่ แต่ยังสามารถออกกำลังกายหรือทำกิจวัตรประจำวันที่ไม่เหนื่อยเกินไปได้ตามปกติ พร้อมทั้งควรทานอาหารที่มีประโยชน์ และให้พลังงานสูง เช่น ไข่ขาว เนื้อสัตว์ ปลา และควรดื่มน้ำมาก ๆ รวมไปถึงการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
ขอขอบคุณข้อมูล นพ.คมกฤช มหาพรหม อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา ศูนย์มะเร็ง ฮอไรซัน รพ.นครธน
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้