โรคอ้วนเสี่ยงมะเร็งอะไร
วันที่ 30-06-2023 | อ่าน : 222
โรคอ้วนเสี่ยงมะเร็งอะไร
โรคอ้วน เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงมะเร็งอย่างไรและอะไรบ้าง ?
โรคอ้วนอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ เนื่องจากการมีน้ำหนักมากเกินไป โดยเฉพาะเมื่อเป็นโรคอ้วน อาจทำให้ระดับฮอร์โมนอินซูลินและฮอร์โมนไอจีเอฟ-วัน (IGF-1) สูงเกินไป โดยฮอร์โมนไอจีเอฟ-วันเป็นฮอร์โมนที่มีโครงสร้างคล้ายอินซูลิน มีหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ในร่างกาย หากในร่างกายมีฮอร์โมน 2 ชนิดนี้มากเกินไป อาจกระตุ้นให้เซลล์พัฒนาผิดปกติจนกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ อีกทั้งยังพบว่า ร่างกายของผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนมักเกิดการอักเสบในระดับต่ำเป็นประจำ หรือเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ เช่น โรคกรดไหลย้อน โรคหลอดลมอักเสบ ซึ่งหากปล่อยไว้นาน ๆ หรือปล่อยให้เป็นเรื้อรังอาจทำให้เซลล์ที่ดีในร่างกายถูกทำลาย และกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้
นอกจากนี้ เนื้อเยื่อไขมัน (Fat tissue หรือ Adipose tissue) ที่สะสมอยู่ในร่างกายของผู้ที่น้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนยังอาจกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งรังไข่ โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เป็นต้น อีกทั้งเซลล์ไขมันยังอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย การมีเซลล์ไขมันมากเกินไป จึงอาจกระตุ้นให้เซลล์เจริญเติบโตมากหรือเร็วกว่าปกติ จนเกิดเป็นเซลล์มะเร็งได้เช่นกัน
คนที่เป็นโรคอ้วนเสี่ยงเป็นมะเร็งอะไรบ้าง
โรคอ้วนอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้หลายชนิด เช่น
- มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวเกินหรือเป็นโรคอ้วนเสี่ยงเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกมากกว่าผู้หญิงที่มีน้ำหนักปกติถึงสองเท่า โดยโรคอ้วนสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้หลายทาง โดยที่สาเหตุสำคัญมาจากสารสังเคราะห์ไขมัน (lipid synthesis) ในร่างกาย โดยเฉพาะการสะสมไขมันที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่เรียกว่า adipose tissue เป็นสิ่งที่สร้างฮอร์โมนต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อเซลล์มะเร็งโพรงมดลูกได้
- มะเร็งหลอดอาหาร โรคอ้วนอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหลอดอาหารชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา (adenocarcinoma) ได้การสะสมไขมันในบริเวณช่องท้อง ทำให้เกิดการแปรปรวนในระบบการเผาผลาญและการส่งออกฮอร์โมน ที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
- มะเร็งตับอ่อน การเกิดโรคอ้วนส่งผลต่อการทำงานของตับอ่อน ตับอ่อนต้องทำงานมากขึ้น เพราะตับอ่อนมีหน้าที่ในการผลิตน้ำย่อยในการย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต โดยเฉพาะไขมัน ทั้งยังมีหน้าที่สร้างฮอร์โมนอินซูลินและฮอร์โมนกลูคากอนซึ่งมีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งหากเซลล์ตับอ่อนผิดปกติ ก็อาจเกิดมะเร็งตับอ่อนได้
- มะเร็งตับ การเกิดโรคอ้วนส่งผลต่อการทำงานของตับ ตับทำงานมากขึ้นในการสลายไขมัน มีการเกิดการอักเสบของตับเป็นเวลานานหากเซลล์ตับแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนเซลล์มากกว่าปกติ อาจเกิดเป็นก้อนมะเร็งในตับได้
- มะเร็งไต การเกิดโรคอ้วนจะทำให้ร่างกายมีการสร้างไขมันส่วนเกิน ซึ่งส่วนใหญ่จะเก็บอยู่ที่ช่องท้อง ไขมันเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของแรงดันเลือด และน้ำหนักเกินที่มีผลต่อการเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง โรคไตเรื้อรังนี้เป็นตัวกลางที่เชื่อมโยงกับการเกิดมะเร็งไต อาจเกิดจากเซลล์เนื้อเยื่อไตและกรวยไตเจริญเติบโตเร็วและผิดปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติม เช่น สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์อย่างเป็นพิเศษ
- มะเร็งเต้านม อาจเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในท่อน้ำนม หรือต่อมน้ำนม สังเกตได้จากสัญญาณเตือนเบื้องต้น เช่น คลำพบก้อนเนื้อบริเวณเต้านมหรือใต้รักแร้ อีกทั้งการเป็นโรคอ้วนสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้โดยอ้อม เพราะเนื้อเยื่อไขมันสามารถสร้างฮอร์โมนเพศหญิงชื่อว่าอิสโตรเจน (estrogen) ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านมได้
- มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก อาจเกิดจากติ่งเนื้อขนาดเล็ก เรียกว่า โพลิป (Polyp) ซึ่งเป็นเซลล์เนื้อผิดปกติที่งอกจากผนังลำไส้ การสะสมไขมันในช่องท้องส่งผลต่อการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นสารที่เปลี่ยนเป็นฮอร์โมนแอนดรอกทินซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ การสะสมไขมันในช่องท้องยังส่งผลกระทบต่อการแตกต่างในการดูแลสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง อาทิเช่น การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง การดื่มแอลกอฮอล์ และการไม่ออกกำลังกายเพียงพอ ซึ่งเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้และทวารหนักในผู้ที่มีน้ำหนักเกินปกติและโรคอ้วน
- มะเร็งกระเพาะอาหาร การอ้วนเป็นตัวบ่งชี้ว่าร่างกายมีการสะสมไขมันเกินความจำเป็น ซึ่งอาจส่งผลให้ระบบย่อยอาหารไม่ทำงานอย่างถูกต้อง ทำให้กระเพาะอาหารไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และน้ำหนักที่เกินจะส่งผลให้ความดันในกระเพาะอาหารสูงขึ้น และอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเซลล์ที่เป็นตัวบ่งชี้การเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้อาจเกิดจากเซลล์เยื่อบุผนังกระเพาะอาหารชั้นในเจริญเติบโตและแบ่งตัวมากและเร็วผิดปกติ จนลุกลามมาถึงผนังกระเพาะอาหารชั้นนอก และแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณกระเพาะ
- มะเร็งต่อมไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมที่อยู่ด้านหน้าลำคอ เมื่อมีความผิดปกติจะโตขึ้น และเห็นเป็นก้อนในบางครั้ง การสะสมไขมันในช่องท้องทำให้ระบบฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดการสร้างฮอร์โมนอื่นๆ เช่น ฮอร์โมนอินซูลินและฮอร์โมนอีสโตรเจน ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ต่างๆในต่อมไทรอยด์ นอกจากนี้ การสะสมไขมันในช่องท้องยังส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการก่อตัวของเซลล์มะเร็งในต่อมไทรอยด์ได้ การมีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ แต่การเกิดโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ยังขึ้นกับปัจจัยอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งอาจรวมถึงปัจจัยทางพันธุกรรม อายุ และประวัติการใช้ฮอร์โมนเพศชาย
- เนื้องอกเมนิงจิโอมา หรือเนื้องอกเยื้อหุ้มสมอง (Meningioma) เนื้องอกที่เกิดในเยื้อหุ้มสมองหรือเยื่อหุ้มไขสันหลัง โดยปกติแล้วจะเจริญเติบโตช้า และใช้เวลานานกว่าจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการ
ขอขอบคุณข้อมูล ศูนย์มะเร็งตรงเป้า - โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง