โรคมะเร็งที่เกิดจากบุหรี่

วันที่ 24-02-2023 | อ่าน : 577


โรคมะเร็งที่เกิดจากบุหรี่

     ใน บุหรี่ เต็มไปด้วยสารเคมีมากกว่าหลายพันชนิด ในจำนวนเหล่านี้มีถึง 60 ชนิดที่เป็นสารก่อมะเร็ง (carcinogen) มี 3 ชนิดที่สําคัญและรู้จักกันดีได้แก่

  • polycyclic aromatic hydrocarbon (PAH)
  • nitrosamine
  • aromatic amines

     ซึ่งเมื่อเราสูดดมเข้าไปในร่างกายเป็นเวลานานๆ จะก่อให้เซลล์ เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติกลายเป็น โรคมะเร็ง ได้ในเวลาต่อมา

     ปัจจุบัน EPA (environmental protection agency) ของสหรัฐอเมริกาได้กําหนดให้ ควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็งระดับA (class A carcinogen) หมายความว่า สามารถก่อให้เกิดมะเร็งในคนได้แน่ ๆ ซึ่งมีข้อมูลทางการแพทย์ยืนยันได้ชัดเจน

โรคมะเร็ง ที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ได้แก่

  • มะเร็งปอด
  • มะเร็งริมฝีปาก
  • มะเร็งกล่องเสียง
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งตับอ่อน
  • มะเร็งไต
  • มะเร็งปากมดลูก
  • มะเร็งตับ
  • มะเร็งเม็ดเลือด
  • มะเร็งหลอดอาหาร
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งปอด
     พบ 90% มาจากการสูบบุหรี่ และ 30% จากผลกระทบของบุหรี่มือสอง ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีโอกาสเสี่ยงเกิดมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบถึง 50 เท่าและผู้ที่ไม่สูบบุหรี่แต่ต้องสูดดมควันบุหรี่เป็นประจํามีโอกาสเกิดมะเร็งปอดได้เพิ่มขึ้นประมาณ 7-47% หรือเฉลี่ย 26%

  • กลุ่มเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดจากการสูดดมควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมมากที่สุดคือ หญิงที่แต่งงาน หรืออยู่กินกับชายที่สูบบุหรี่38-40 %
  • การสูบบุหรี่แบบมีก้นกรองและแบบมีนิโคตินน้อยไม่ช่วยให้อุบัติการณ์การเกิดมะเร็งปอดลดลง พบว่า
  • การสูบบุหรี่แบบนิโคตินน้อยมีโอกาสเกิดมะเร็งปอดชนิดadenocarcinoma สูง

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
     พบอุบัติการณ์ของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะในผู้ที่สูบบุหรี่สูงกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ 1.5 – 3 เท่า ซึ่งสาเหตุเกิดจากเมตาโบไลต์ของaromatic amines ที่ได้รับจากควันบุหรี่

มะเร็งปากมดลูก
     หญิงที่สูบบุหรี่มีโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูกสูงกว่าหญิงที่ไม่สูบบุหรี่ 3.42 เท่า เมื่อตรวจวิเคราะห์ปริมาณนิโคตินจากเมือกที่ปากมดลูกพบว่า ปริมาณนิโคตินที่ปากมดลูก(cervix) มีความสัมพันธ์กับโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งอื่น ๆ
     สารก่อมะเร็งนิโคตินมีส่วนชักนําให้เกิดมะเร็ง(tumorpromotion) ได้โดยมีฤทธิ์เร่งการสร้างหลอดเลือดใหม่ (angioneogenesis) โดยกระตุ้น growth receptor และยับยั้งการตายของเซลล์ ( anti-apoptosis )

     ในเซลล์เพาะเลี้ยง (cell culture) นิโคตินในปริมาณมากๆ สามารถทําลายสารพันธุกรรม (DNA) ได้โดยตรง (direct genotoxic agent) แต่เมื่อฉีดเข้าไปในสัตว์ทดลองกลับไม่พบผลการทําลาย DNAเชื่อว่าเป็นเพราะในร่างกายมีขบวนการซ่อมแซม DNA(DNA repairing)

     นอกจากนี้นิโคตินยังเหนี่ยวนําให้เกิดมะเร็งผ่านการเกิดสารอนุมูลอิสระ (free-radical) โดยสารอนุมูลอิสระจะชักนําให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง ก่อให้เกิดความผิดปกติของระบบภูมิต้านทานในการกําจัดเซลล์ที่มีการ กลายพันธุ์ (mutation) ไปเป็นเซลล์มะเร็ง

     การที่นิโคตินมีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดapoptosis นอกจากจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งแล้ว ยังทําให้ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบําบัดแบบมีฤทธิ์เร่งการเกิด apoptosis ไม่เห็นผลการรักษาอีกด้วย หากผู้ป่วยยังคงสูบบุหรี่ในขณะได้รับเคมีบําบัด

     ควันบุหรี่ยังมีผลให้ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยกระตุ้นให้มีการหลั่ง VEGF (vascular endothelial growth factor) ทําให้เกิดการสร้างหลอดเลือดแทรกเข้าไปหล่อเลี้ยงภายในก้อนมะเร็ง ในผู้ที่เป็นมะเร็ง การได้รับควันบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่ส่วนอื่น (secondary cancer) เพิ่มความไวต่อการเกิดมะเร็งหลังได้รับการฉายรังสี ทําให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายได้เร็วขึ้น และเพิ่มโอกาสกลับเป็นมะเร็งซ้ำ

     นิโคตินยังทําให้หลอดเลือดหดตัว จึงมีผลให้แผลจากการเป็นมะเร็งหายชา สารพิษจากควันบุหรี่ทําให้ยาเคมีบําบัดมีประสิทธิภาพลดลง โดยไปรบกวนเมตาโบลิซึมของยาในร่างกาย หรือไปออกฤทธิ์รบกวนการออกฤทธิ์ของยาโดยตรง ควันบุหรี่ยังทําให้ภาวะเบื่ออาหารซูบผอม (cachexia) ในผู้ป่วยมะเร็งรุนแรงขึ้นด้วย

 

ขอขอบคุณข้อมูล ศูนย์มะเร็งตรงเป้า โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ความรู้มะเร็ง
การดูแลผู้ป่วย
การรักษามะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้