วันที่ 18-01-2023 | อ่าน : 578
อายุที่เพิ่มขึ้นของผู้สูงวัย ส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่เว้นแม้แต่ผิวหนัง เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น จะมีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง และเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคผิวหนังบางโรคได้มากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังของผู้สูงวัย
จะมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
8 โรคหรืออาการทางผิวหนังที่มักพบในผู้สูงอายุ
1. ผิวหนังเหี่ยวย่น
เป็นการเปลี่ยนแปลงตามอายุ เกิดจากการสร้างคอลลาเจนและอีลาสตินบริเวณผิวหนังลดลง และมีปัจจัยกระตุ้นคือการใช้กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าในการแสดงอารมณ์ การถูใบหน้าแรง ๆ เป็นประจำ การสัมผัสแสงแดด
วิธีป้องกัน
วิธีรักษา
การใช้ครีมหรือโลชั่นอาจช่วยได้แต่เป็นส่วนน้อย อาจมีการฉีดสารเพื่อเติมเต็มร่องและริ้วรอยบริเวณใบหน้า การใช้แสงเลเซอร์ หรือการทำศัลยกรรมใบหน้า
2. อาการคันจากผิวแห้ง (Xeroderma)
เกิดจากต่อมไขมันและต่อมเหงื่อทำงานลดลง ผิวหนังจึงแห้ง ขาดน้ำ ทำให้เกิดขุยและอาการคัน พบมากในบริเวณขา แต่อาจพบที่มือหรือลำตัว หากไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดเป็นภาวะผิวหนังแห้งและอักเสบ (Xerotic eczema) เกิดการแดง ลอก และคันมากขึ้น ผู้ป่วยอาจเกาจนทำให้เกิดแผลบริเวณผิวหนังซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
วิธีป้องกัน
วิธีรักษา
โดยทั่วไปอาการมักดีขึ้นหากผิวหนังได้รับความชุ่มชื้นอย่างเพียงพอ แต่หากอาการคันยังมีอย่างต่อเนื่องควรปรึกษาแพทย์เนื่องจากอาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคอื่น ๆ เช่น พร่องฮอร์โมนไทรอยด์ การแพ้หรือผลข้างเคียงของยาบางชนิดได้
3. ผื่นคันจากการแพ้ (Atopic dermatitis)
พบได้มากในผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น ภูมิแพ้ หอบหืด ผื่นคันจากการแพ้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ฝุ่นละออง สารเคมี อาหารทะเล สัตว์เลี้ยง อุณหภูมิ หรือยาที่ใช้ประจำ ผื่นคันมักเป็นบริเวณข้อพับ เป็นผื่นแดง นูน และก่อให้เกิดอาการคันมาก
วิธีป้องกัน
วิธีรักษา
หากเป็นในบริเวณไม่มาก สามารถรักษาด้วยการทายาสเตียรอยด์ได้ แต่หากเป็นในบริเวณกว้างการทายาสเตียรอยด์อาจไม่ครอบคลุม อาจพิจารณาใช้ยากลุ่มยาแก้แพ้แต่ต้องระวังผลข้างเคียงทางระบบประสาท เช่น ง่วงซึม การใช้ยาสเตียรอยด์แบบรับประทานควรใช้เมื่อมีข้อบ่งชี้ในการใช้เท่านั้น
4. ผิวหนังเปลี่ยนสี จุดด่างดำในผู้สูงอายุ (Senile lentigo หรือ Age spots)
เกิดจากการรวมตัวของเม็ดสีผิดปกติในผิวหนัง มีลักษณะเป็นสีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงเข้ม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโดยทั่วไปจะเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร โดยจะพบมากในผู้มีประวัติครอบครัวมีผิวหนังเปลี่ยนสีมาก่อน และจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุโดยเฉพาะบริเวณที่สัมผัสกับแสงแดด เช่น คอ หน้า และหลังมือ
วิธีการป้องกัน
วิธีรักษา
โดยทั่วไปมักไม่มีอันตรายจึงไม่ต้องรักษา เว้นแต่เพื่อความสวยงาม แต่หากเส้นผ่านศูนย์กลางมีขนาดใหญ่มาก มีการนูนผิดปกติ หรือมีความไม่สม่ำเสมอของสี ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยแยกโรคมะเร็งผิวหนัง
5. สิวในผู้สูงอายุ (Senile comedone)
เป็นลักษณะสิวอุดตันหัวปิด เห็นเป็นจุดสีดำเล็ก ๆ รวมตัวกัน หรือเป็นสิวหัวเปิดสีขาว โดยไม่ค่อยมีลักษณะการอักเสบ มักพบบริเวณตาและโหนกแก้มที่ถูกแสงแดดมาก
วิธีการป้องกัน
วิธีรักษา
ทำความสะอาดบริเวณที่เป็นด้วยน้ำสะอาดและสบู่อ่อนวันละสองครั้ง อาจพบแพทย์เพื่อพิจารณาสั่งยาทาประเภท Retinoid อาจใช้การรักษาโดยการจี้แต่อาจกลับมาเป็นซ้ำได้
6. กระเนื้อ (Seborrhoeic keratoses)
มีลักษณะนูน กลมหรือรี สีเข้ม มักพบบริเวณใบหน้า อก คอ หลัง อาจมีอาการคันได้เล็กน้อย
วิธีการป้องกัน
วิธีรักษา
โดยทั่วไปมักไม่มีอันตรายจึงไม่ต้องรักษา เว้นแต่เพื่อความสวยงาม โดยแพทย์จะรักษาด้วยเลเซอร์ CO2 หรือความเย็นจี้ อย่างไรก็ตาม กระเนื้ออาจมีขนาดใหญ่และแยกออกยากจากมะเร็งผิวหนัง จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจและแยกโรค
7. แผลและการติดเชื้อ
เนื่องจากผู้สูงอายุจะมีผิวหนังที่บางและเปราะ ฉีกขาดง่าย จึงเกิดแผลได้ง่าย และเมื่อมีแผลก็อาจเกิดการติดเชื้อได้ง่ายเนื่องจากภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานลดลง
การป้องกัน
การรักษา
หากมีแผลควรทำความสะอาดแผลให้สะอาด ป้องกันการติดเชื้อ อาจไปพบแพทย์เพื่อรักษาและพิจารณาสั่งยาฆ่าเชื้อ รับประทานอาหารที่มีสารอาหารอย่างเพียงพอเพื่อช่วยในการหายของแผล
8. มะเร็งผิวหนัง
พบได้หลายชนิด สัมพันธ์กับกรรมพันธุ์และการถูกแสงแดด
วิธีการดูแลผิวหนังสำหรับผู้สูงวัย
ขอขอบคุณข้อมูล พญ. ลออ อรุณพูลทรัพย์ สาขาตจวิทยา โรงพยาบาลสมิติเวช
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้