วันที่ 18-11-2022 | อ่าน : 607
ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง กินอะไรดี จึงจะช่วยให้มีแรง
เมื่อถามว่า ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง กินอะไรดี? คำตอบที่ได้อาจเป็น อาหารที่เป็นแหล่งพลังงานชั้นดีและอาจช่วยลดอาการอ่อนเพลียหรือหมดแรงได้ เช่น กล้วย อัลมอนด์ อาหารทะเล ทั้งนี้ นอกจากการเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์และให้พลังงานแล้ว ควรเลือกบริโภคอาหารในสัดส่วนที่พอเหมาะ รวมถึงการดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการในแต่ละวันซึ่งอาจช่วยลดอาการอ่อนเพลียระหว่างวันได้
ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง กินอะไรดี
เมื่อรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ควรบริโภคอาหารต่อไปนี้ อาจช่วยให้อาการดีขึ้นได้
กล้วย
กล้วยอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญอย่างโพแทสเซียมซึ่งมีส่วนช่วยรักษาสมดุลของของเหลวในร่างกาย ใยอาหารซึ่งทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่มท้องได้นาน รวมทั้งวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย การบริโภคกล้วยจึงอาจช่วยให้ผู้ที่มีร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง มีอาการดีขึ้นได้
งานวิจัยชิ้นหนึ่ง เรื่องกล้วยในฐานะแหล่งพลังงานระหว่างออกกำลังกาย ตีพิมพ์ในวารสาร PLoS One ปี พ.ศ. 2555 นักวิจัยแบ่งนักปั่นจักรยานจำนวน 14 รายออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกให้บริโภคกล้วย ส่วนอีกกลุ่มให้บริโภคเครื่องดื่มคาร์โบไฮเดรต แล้วปั่นจักรยานเป็นระยะทาง 75 กิโลเมตร จากนั้น 3 สัปดาห์ต่อมา นักวิจัยทดสอบแบบเดิมอีกครั้ง โดยให้นักปั่นจักรยานสลับอาหารที่เคยบริโภคในการทดสอบครั้งก่อนเป็นของอีกกลุ่มแทน ผลปรากฏว่า ประสิทธิภาพในการปั่นจักรยานทั้งสองครั้งไม่ต่างกันมากนัก นักวิจัยจึงสรุปว่า เมื่อบริโภคกล้วยและเครื่องดื่มคาร์โบไฮเดรตในสัดส่วนและจังหวะเวลาที่เท่ากัน อาหารทั้งสองชนิดต่างมีประโยชน์ต่อการออกกำลังกายในระดับเดียวกัน
อาหารทะเล
การบริโภคอาหารทะเลอย่างปลาแซลมอน ปลาทูน่า หรือหอยนางรม รวมถึงอาหารชนิดอื่น ๆ ที่มีกรดไขมันโอเมกา 3 เช่น เมล็ดแฟลกซ์ (Flax Seed) เมล็ดเจีย ถั่วเหลือง วอลนัท อาจช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการของภาวะอ่อนเพลียเรื้อรังได้ เพราะโอเมกา 3 มีคุณสมบัติในการช่วยลดภาวะเครียดออกซิเดชัน (Oxidative Stress) ซึ่งเป็นสาเหตุของการอักเสบและความผิดปกติต่าง ๆ ภายในร่างกาย
งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโอเมกา 3 และภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง ตีพิมพ์ในวารสาร Neuro Enocrinology Letters ปี พ.ศ. 2548 นักวิจัยได้ศึกษาสุขภาพร่างกายของผู้ที่มีภาวะอ่อนเพลียเรื้อรังจำนวน 22 ราย และสุขภาพร่างกายของผู้ที่มีสุขภาพปกติจำนวน 12 ราย และพบข้อสรุปว่า หากปริมาณโอเมกา 3 ในร่างกายลดลงอาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง และส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานแย่ลง
นอกจากนี้ นักวิจัยยังแนะนำว่า ผู้ที่มีภาวะอ่อนเพลียเรื้อรังควรรักษาด้วยการรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันในกลุ่มโอเมกา 3 เช่น กรดอิโคซะเพนตะอีโนอิก (Eicosapentaenoic Acid หรือ EPA) กรดโดโคซะเฮกซะอีโนอิก (Docosahexaenoic Acid หรือ DHA)
อัลมอนด์
การบริโภคอัลมอนด์ อาจช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยล้าได้ เพราะอัลมอนด์มีแมกนีเซียมสูง หรือในปริมาณ 268 มิลลิกรัม/100 กรัม โดยแมกนีเซียมมีคุณสมบัติช่วยให้การทำงานของระบบประสาทเป็นปกติ หากร่างกายขาดแมกนีเซียมมักส่งผลให้การสูบฉีดเลือดและชีพจรผิดปกติได้ ซึ่งมีผลให้เกิดอาการ ไม่มีแรง เป็นกังวล หรือปวดหัว
งานวิจัยชิ้นหนึ่ง เรื่องความสำคัญของแมกนีเซียม เผยแพร่ในวารสาร Scientifica ปี พ.ศ. 2560 ระบุว่า แมกนีเซียมมีความสำคัญต่อระบบโมเลกุลของเซลล์และระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย การขาดแคลนแมกนีเซียมย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพ และยังส่งผลให้ผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งรู้สึกเหนื่อยล้าเพิ่มขึ้น
ดังนั้น การบริโภคอาหารที่มีแมกนีเซียมสูง จึงอาจช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรงได้
นอกจากอาหารข้างต้น หาก ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง กินอะไรดี สามารถบริโภคอาหารต่าง ๆ ได้ดังนี้
คำแนะนำในการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
นอกจากการบริโภคอาหารข้างต้นแล้ว ควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำต่อไปนี้เพื่อป้องกันร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ระหว่างวันได้
ขอขอบคุณข้อมูล helloคุณหมอ
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้