วันที่ 04-11-2022 | อ่าน : 294
การตรวจโมเลกุลสารพันธุกรรมมะเร็งจากเลือด (Liquid biopsy) คืออะไร
Liquid biopsy – ในการเลือกใช้ยามะเร็งแบบมุ่งเป้า (Targeted drugs) มีความจำเป็นต้องตรวจว่าผู้ป่วยรายนั้นมีโมเลกุลสารพันธุกรรมมะเร็ง ( Biomarker )ที่จำเพาะต่อยานั้นๆหรือไม่ ซึ่งในทางห้องปฏิบัติการปัจจุบัน การตรวจโมเลกุลสารพันธุกรรมมะเร็ง ( Biomarker ) มี 2 แบบ คือ การตรวจจากชิ้นเนื้อและการตรวจจากเลือด
แต่เนื่องจากในบางกรณีผู้ป่วยมีข้อจำกัดในการตัดชิ้นเนื้อ เช่น ก้อนชิ้นเนื้อมีขนาดเล็ก อยู่ใกล้อวัยวะสำคัญ หรือผู้ป่วยมีสภาพร่างกายไม่พร้อมรับหัตถการ การตัดชิ้นเนื้อ ( Biopsy )
ในทางการแพทย์จึงวิวัฒนาการเทคโนโลยีการตรวจโมเลกุลสารพันธุกรรมมะเร็งจากเลือดขึ้น ที่เรียกว่า “ Liquid biopsy ” ซึ่งโมเลกุลสารพันธุกรรมของก้อนมะเร็งที่พบจากเลือดเกิดจากการหลุดของโมเลกุลจากก้อนมะเร็งเข้าสู่กระแสเลือด สามารถตรวจพบยีนมะเร็งที่ผิดปกติได้มากกว่าร้อยละ 80 ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม , มะเร็งลำไส้ , มะเร็งปอด และมะเร็งรังไข่ โดยยีนมะเร็งในเลือดเป็นยีนเดียวกับยีนที่พบในชิ้นเนื้อมะเร็งและอาจมียีนบางตัวที่พบแต่ในเลือดเพียงอย่างเดียวประมาณร้อยละ 10 เหตุผลที่การตรวจเป็นเช่นนี้ เนื่องจากเลือดมีความเป็นเนื้อเดียวกัน ( Hemogeneity ) มากกว่า ทำให้ยีนมะเร็งกระจายสม่ำเสมอ ในขณะที่ชิ้นเนื้อเป็นเนื้อผสม ( Heterogeneity ) เลยทำให้พบยีนมะเร็งไม่สม่ำเสมอจึงมีโอกาส ตรวจแล้วเป็นผลลบได้เนื่องจากชิ้นเนื้อส่วนที่ตัดได้มาไม่มีเซลล์มะเร็งมาด้วย
เทคโนโลยี Liquid biopsy ใช้การเจาะเลือดผู้ป่วยเพียง 10 ซีซี นำมาวิเคราะห์สารโมเลกุลดังกล่าวด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และได้ผลในเวลาที่รวดเร็ว ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่รวดเร็ว และสะดวกมากขึ้น เพียงแค่เจ็บตัวเล็กน้อยตอนเจาะเลือด
ขอขอบคุณข้อมูล โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้