วันที่ 28-10-2022 | อ่าน : 503
การออกกำลังกายแบบแอโรบิคและแบบแอนแอโรบิคต่างกันอย่างไร
“แอโรบิค” หมายถึง การออกกำลังกายที่ร่างกายต้องการใช้ออกซิเจน “แอนแอโรบิค” หมายถึง การออกกำลังกายที่ร่างกาย ไม่ใช้ออกซิเจน ระหว่างการออกกำลังกายในระดับปานกลางถึงหนัก เช่น การวิ่งระยะสั้นต่างๆในตอนนี้ผมขอยกตัวอย่างการวิ่งระยะ 100 เมตร ซึ่งเป็นการที่ร่างกายจะต้องทำงานอย่างหนักถึงขั้นที่ว่าระบบหลอดเลือดหัวใจไม่สามารถขนส่งออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อได้รวดเร็วพอ ในขณะที่กำลังวิ่งด้วยความเร็วคุณจะไม่สามารถหายใจได้อย่างสะดวกหรืออาจจะไม่ได้หายใจเลยเพราะระดับความหนักของงานมีมากทำให้คุณออกแรงจนถึงจุดหนึ่งที่ร่างกายไม่สามารถรับออกซิเจนได้เพียงพอกับความต้องการ เราเรียกว่า การออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิค(Anaerobic exercise) ซึ่งจะพบว่าตนเองหอบเหนื่อยโดยสามารถคงระดับความหนักได้เพียงช่วงสั้นๆเท่านั้น
ในทางตรงกันข้าม ระหว่างช่วงการออกกำลังกายแบบแอโรบิค(Aerobic exercise) คุณจะออกกำลังกายด้วยระดับความหนักที่กำลังพอดี เช่น การวิ่งระยะ3-5กิโลเมตรและวิ่งไปเรื่อยๆไม่ต้องใช้ความเร็วมาก นั่นหมายถึงว่าระบบหลอดเลือดหัวใจของคุณจะสามารถส่งออกซิเจนไปให้กล้ามเนื้อและคงระดับการออกกำลังกายขณะนั้นต่อไปได้เรื่อยๆ
การออกกำลังกายแบบแอโรบิค(Aerobic exercise)
ตัวอย่างการคำนวณระดับอัตราการเต้นของหัวใจ(Target hart rate zone) 220-อายุ X เปอร์เซ็นต์ความหนักของการออกกำลังกาย หากเราต้องการออกกำลังกายให้อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 60 - 80 เปอร์เซนต์ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดสามารถทำได้ ดังนี้ อัตราการเต้นหัวใจสูงสุด(Maximam HR) = 220-อายุ วิธีการคำนวณให้คิด2ครั้งและรักษาระดับอัตราการเต้นของหัวใจให้ฮยู่ระหว่าง สองค่านี้ 220-อายุ x 0.60, 220-อายุ x
0.80
การออกกำลังกายแบบแอโรบิค ประโยชน์ที่ได้รับ : พัฒนาสมรรถภาพของหลอดเลือดหัวใจและสร้างความทนทาน เพิ่มความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด และเผาผลาญแคลอรี่จำนวนมาก เป็นการลดน้ำหนักได้อีกด้วย
การออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิค
ประโยชน์ที่ได้รับ : สร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความทนทาน ช่วยให้คุณออกแรงหนัก ๆ ได้นานขึ้น และเผาผลาญแคลอรี่ได้มากจากความหนักที่มากขึ้น ระดับของอัตราการเต้นชีพจรที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการฝึกเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายต่างๆมีดังนี้
1.ระดับที่มีการเผาผลาญไขมันในร่างกายความหนัก 50-60 % Max. HR.
2.ระดับที่ช่วยรักษาสุขภาพปอดและหัวใจให้แข็งแรงความหนัก 60-80 % Max. HR
3.ระดับที่ช่วยพัฒนาระบบการทำงานแบบใช้ออกซิเจนความหนัก 70-80 % Max. HR.
4.ระดับที่ช่วยพัฒนาระบบการทำงานแบบไม่ใช้ออกซิเจน ความหนัก 80-90 % Max. HR.
5.ระดับที่ต้องระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดกับร่างกายความหนัก 90-100 % Max. HR.
ดังนั้น ลองเลือกดูนะครับว่าเราจะฝึกอย่างไร แต่ที่สำคัญจะต้องไม่หักโหมค่อยๆทำไป และสำหรับผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อนหรือเพิ่งเริ่มต้นควรฝึกแบบแอโรบิกก่อนเมื่อมีความแข็งแรงมากขึ้น แล้วค่อยเพิ่มรูปแบบการฝึกแบบ แอนแอโรบิคเพื่อความปลอดภัยครับ
ขอขอบคุณข้อมูล นาย ยลวรณัฏฐ์ จีรัชตกรณ์ งานสร้างเสริมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้