ตรวจตับ แบบไม่เจ็บด้วย FIBRO SCAN

วันที่ 21-10-2022 | อ่าน : 284


ตับฟื้นฟูได้ พักตับ ครบพรรษา 3 เดือนพิสูจน์กัน ตรวจตับ แบบไม่เจ็บด้วย FIBRO SCAN

ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ในปัจจุบัน เราสามารถตรวจสุขภาพตับได้ละเอียดมากขึ้น ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า ไฟโบรสแกน (FIBROSCAN) หน้าตาของเครื่องก็จะมีลักษณะเหมือนเครื่องอัลตร้าซาวด์ เข้ามาทดแทนการเจาะตรวจชิ้นเนื้อตับ ทำให้สามารถที่จะตรวจวัดปริมาณไขมันในตับและพังผืดในตับได้พร้อมกัน โดยที่ไม่ต้องมีความเสี่ยงจากการโดนเจาะตับ แล้วก็ไม่เจ็บตัว

ใครควรเข้ารับการตรวจสุขภาพตับ ผู้ป่วยที่มีภาวะตับอักเสบเรื้อรัง เช่น

  • ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี หรือตับอักเสบซี
  • ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีไขมันพอกตับอยู่แล้ว ควรมาตรวจเพื่อประเมินภาวการณ์เกิดพังผืดในตับ
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการมีไขมันพอกตับโดยไม่รู้ตัว เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่มีภาวะอ้วน หรืออ้วนลงพุง
  • ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

ภาวะไขมันพอกตับ เริ่มมีพังผืดในตับ หรือแม้แต่เป็นตับแข็งในระยะแรก ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะไม่มีอาการอะไรเลย ซึ่งกว่าโรคจะดำเนินเข้าสู่ระยะตับแข็งที่มีอาการ อาจใช้เวลานาน 5-10 ปี ถ้าผู้ป่วยมีอาการเกิดขึ้น นั่นแปลว่าการทำงานของตับเสียไปมากแล้ว

อาการของโรคตับแข็ง เช่น

  • มีอาการท้องบวมจากการที่มีน้ำในช่องท้อง
  • ตัวเหลือง
  • ตาเหลือง
  • อาเจียนเป็นเลือด หรือแม้กระทั่งเป็นมะเร็งตับ

ถ้าเกิดว่าผู้ป่วยมีอาการแล้ว ผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตภายใน 1-2 ปีแรกค่อนข้างสูง

การตรวจตับด้วยเครื่อง Fibroscan ดีอย่างไร?
การใช้เครื่อง Fibroscan ในผู้ป่วย สามารถตรวจวัดปริมาณไขมันในตับ รวมถึงพังผืดในตับได้อย่างรวดเร็ว ใช้เวลาไม่นาน ผู้ป่วยไม่เจ็บตัว สามารถทดแทนการเจาะชิ้นเนื้อได้ในบางกรณี ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคตับได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เข้าสู่การตรวจติดตามรักษาได้ตั้งแต่ระยะแรกของโรค อีกทั้งยังสามารถทำซ้ำได้เรื่อย ๆ และที่สำคัญ การใช้เครื่องมือชนิดนี้เป็นที่ยอมรับและนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางมากในวงการแพทย์

ข้อจำกัดในการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่อง Fibroscan
คนไข้ที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือมีดัชนีมวลกายมากกว่า 30 เนื่องจากคลื่นเสียงไม่สามารถส่งผ่านชั้นไขมันไปถึงเนื้อตับได้อย่างมีประสิทธิภาพและสำหรับผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจหรือ Pacemaker และผู้ป่วยที่มีภาวะตับอักเสบรุนแรง การใช้เครื่อง Fibroscan อาจทำให้การแปลผลมีความคลาดเคลื่อนได้

การเตรียมตัวก่อนตรวจตับด้วยเครื่อง Fibroscan
คนไข้ควรงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนตรวจด้วยเครื่อง Fibroscan เนื่องจากอาหารจะทำให้การไหลเวียนของเลือดในตับมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้การแปลผลมีความคลาดเคลื่อนได้เช่นกัน

จะดีกว่าไหมถ้าเราตรวจหากลุ่มเสี่ยง หรือคนที่ยังไม่มีอาการในระยะเริ่มแรก เพื่อเข้ารับการักษาที่เหมาะสมสามารถลดปริมาณไขมันในตับ หรือแม้แต่ลดการมีพังผืดในตับได้ เป็นการชะลอหรือป้องกันไม่ให้โรคดำเนินไปสู่ภาวะตับแข็งที่มีอาการ ซึ่งจะช่วยป้องกันการเสียชีวิตและป้องกันการเกิดมะเร็งตับได้

 

ขอขอบคุณข้อมูล โรงพยาบาลรามคำแหง , โรงพยาบาลสุขุมวิท

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อาหารผู้ป่วยมะเร็ง
การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้