วันที่ 23-09-2022 | อ่าน : 278
พริกไทยดำ เป็นพืชสมุนไพรและเครื่องเทศที่นิยมใช้ประกอบอาหารและใช้เป็นยาสมุนไพรกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต บรรเทาอาการปวดท้อง แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ มาช้านาน พริกไทยดำมีกลิ่นฉุนและมีรสเผ็ดร้อน ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีแดง และเมื่อแห้งทั้งเปลือกจะกลายเป็นเม็ดสีดำ อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 โพแทสเซียม แคลเซียม จึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เช่น มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านโรคมะเร็ง และช่วยเพิ่มการดูดซึมสารอาหารเข้าสู่กระแสเลือด
คุณค่าทางโภชนาการของ พริกไทยดำ
ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture หรือ USDA) ระบุว่า พริกไทยดำสด ประมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 251 กิโลแคลอรี่ และอุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุ เช่น
นอกจากนี้ ในพริกไทยดำยังมีแมงกานีส ซีลีเนียม สังกะสี ทองแดง เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 โฟเลต โคลีน รวมถึงสารต้านอนุมูลอิสระอย่างสารไพเพอร์รีน (Piperine) ซึ่งเป็นสารอัลคาลอยด์ (สารประกอบอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก) ที่ให้กลิ่นฉุนและรสเผ็ดร้อน มีส่วนช่วยต้านการอักเสบและบรรเทาปวด
ประโยชน์ต่อสุขภาพของ พริกไทยดำ
พริกไทยดำอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพของพริกไทยดำ ดังนี้
อาจช่วยเพิ่มการดูดซีมสารอาหารได้
พริกไทยดำมีสารไพเพอร์รีนที่อาจช่วยกระตุ้นการดูดซึมอาหารเข้าสู่กระแสเลือด และอาจช่วยปรับปรุงการทำงานของระบบทางเดินทางอาหารได้ โดยงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Foods เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 ศึกษาเกี่ยวกับผลของการบริโภคขมิ้นชันต่อสุขภาพมนุษย์ โดยการรวบรวมและทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า โดยปกติแล้ว ร่างกายจะดูดซึมสารอาหารจากขมิ้นชันไปใช้ประโยชน์ได้ไม่มากนัก แต่เมื่อรับประทานขมิ้นชัน 2 กรัมร่วมกับสารไพเพอร์รีนจากพริกไทยดำ 20 มิลลิกรัม พบว่า ร่างกายสามารถดูดซึมสารเคอร์คูมิน (Curcumin) จากขมิ้นขันเข้าสู่กระแสเลือดได้มากขึ้นถึง 2,000% ภายในระยะเวลา 1-2 ชั่วโมงหลังบริโภค โดยไม่เกิดอาการไม่พึงประสงค์ในมนุษย์
อาจเป็นพรีไบโอติกที่มีประโยชน์
สารไพเพอร์รีนในพริกไทยดำช่วยควบคุมความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้และเสริมสุขภาพทางเดินอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Food Science เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 ศึกษาเกี่ยวกับศักยภาพในการเป็นพรีไบโอติก องค์ประกอบทางเคมี และความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของเครื่องเทศที่ใช้ประกอบอาหารหลายชนิด พบว่า พริกไทยดำมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์และยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียก่อโรค ช่วยควบคุมความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ และเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานของระบบทางเดินอาหาร
อาจต้านมะเร็งได้
พริกไทยดำมีสารบีตา-แคริโอฟิลลีน (b-caryophyllene) ซึ่งเป็นสารเทอร์พีน (Terpenes) จำพวกน้ำมันหอมระเหยที่ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่อาจเป็นประโยชน์ในการบรรเทาปวด ป้องกันการเสียหายของเซลล์ และรักษาโรคเรื้อรังอย่างโรคมะเร็งที่เกิดจากการอักเสบได้
งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Cancer Medicine เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติต้านมะเร็งและแก้ปวดของสารบีตา-แคริโอฟิลลีน พบว่า สารบีตา-แคริโอฟิลลีนกระตุ้นการตายและยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง รวมทั้งลดระดับของการสร้างเส้นเลือดใหม่ของเนื้องอกมะเร็งได้ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการทดลองในสัตว์ จึงควรศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในมนุษย์ต่อไปเพื่อยืนยันประสิทธิภาพในการต้านมะเร็งของพริกไทยดำ
ข้อควรระวังในการบริโภค พริกไทยดำ
ข้อควรระวังในการบริโภค พริกไทยดำ อาจมีดังนี้
ขอขอบคุณข้อมูล Helloคุณหมอ
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้