เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับมะเร็งต่อมลูกหมาก

วันที่ 02-09-2022 | อ่าน : 474


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับมะเร็งต่อมลูกหมาก

     มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคที่พบได้มากในเพศชาย ดังนั้นการตรวจร่างกายประจำปีจึงเป็นสิ่งที่ผู้ชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปไม่ควรละเลยเพราะทำให้พบมะเร็งต่อมลูกหมากได้ตั้งแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงมีอะไรบ้าง

  • อายุ อายุที่มากขึ้นยิ่งพบได้มากขึ้น มักพบในคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
  • เชื้อชาติ พบได้บ่อยในชายผิวดำและชาวตะวันตก ในขณะที่ชาวเอเชียพบได้น้อยกว่า
  • กรรมพันธุ์ โรคมะเร็งต่อมลูกหมากประมาณ 15-20% ถ่ายทอดทางยีน คนที่มีประวัติครอบครัวสายตรงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีความเสี่ยงสูงกว่าคนปกติ
  • อาหาร  เช่น อาหารที่มีไขมันทรานส์ ใช้น้ำมันทอดซ้ำและเนื้อแดง

อาการเตือนมะเร็งต่อมลูกหมากมีอะไรบ้าง
ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยสาเหตุ 3 ประการ ได้แก่

ตรวจคัดกรองและวินิจฉัยได้อย่างไร

รักษาได้ด้วยวิธีใดบ้าง
มะเร็งต่อมลูกหมากมีวิธีการรักษาที่เป็นมาตรฐานอยู่ 4 วิธีด้วยกัน ได้แก่

  • ไม่มีอาการใดๆ แต่ค่าตรวจคัดกรองแล้วพบว่ามีสารบ่งชี้มะเร็ง (PSA) สูงกว่าปกติ
  • มีอาการทางปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะไม่พุ่ง ปัสสาวะลำบากและบ่อยขึ้น จนถึงปัสสาวะเป็นเลือดได้
  • มีอาการกดเบียดอวัยวะอื่นๆ เนื่องจากมะเร็งลุกลาม อาการจะแตกต่างกันตามอวัยวะที่มะเร็งแพร่กระจายไป
    • การตรวจทางทวารหนักเพื่อคลำหาก้อนมะเร็ง (Digital Rectal Examination หรือ DRE)
    • การเจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง (PSA: Prostatic-Specific Antigen)
    • การตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
    • การตรวจอัลตราซาวด์ต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก ( Transrectal Ultrasound: TRUS)
    • การเจาะชิ้นเนื้อออกมาตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าร่วมกับอัลตร้าซาวด์ (MRI/Ultrasound Fusion Biopsy) ซึ่งมีความแม่นยำกว่าการเจาะชิ้นเนื้อตรวจด้วยวิธีปกติ
    • การสังเกตอาการ (watchful waiting) คือการติดตามดูมะเร็งที่ไม่มีอาการหรือมีปัญหา เป้าหมายคือหลีกเลี่ยงการรักษาโดยไม่จำเป็นจนกว่าจะมีอาการเกิดขึ้น  เหมาะกับผู้ที่มีอายุมาก เช่น 80 ขึ้นไป และผู้ที่เป็นมะเร็งระยะแรกเริ่ม ซึ่งมะเร็งอาจไม่ส่งผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวันตลอดช่วงชีวิต
    • การเฝ้าระวังเชิงรุก (active surveillance) คือติดตามมะเร็งอย่างใกล้ชิดพร้อมเปลี่ยนแผนอยู่ตลอดเวลา เป้าหมายคือหลีกเลี่ยงการรักษาโดยไม่จำเป็น เหมาะกับผู้ป่วยที่มะเร็งแรกเริ่มที่เติบโตช้าและยังไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น
    • การผ่าตัด (radical prostatectomy) มีอยู่ 3 วิธีด้วยกันคือ
    • การผ่าตัดแบบเปิด (open radical prostatectomy) เป็นการผ่าตัดเปิดหน้าท้องแนวตั้ง ขนาดประมาณ 20 – 25 เซนติเมตร เพื่อนำก้อนมะเร็งออก
    • การผ่าตัดโดยใช้วิธีส่องกล้อง (laparoscopic radical prostatectomy) แพทย์จะเจาะรูที่หน้าท้องขนาดประมาณ 5-10 มิลลิเมตร และนำกล้องชนาดจิ๋วพร้อมอุปกรณ์ลอดช่องเข้าไปเพื่อทำการผ่าตัด
    • การผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (robotic-assisted da Vinci surgery) แพทย์จะเจาะรูที่หน้าท้องขนาดประมาณ 5 มิลลิเมตร – 1 เซนติเมตร และบังคับแขนหุ่นยนต์ให้เข้าไปทำการผ่าตัด ซึ่งมีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพ โดยวิธีการนี้จะช่วยให้การฟื้นตัวของการกลั้นปัสสาวะและการแข็งตัวของอวัยวะเพศได้เร็วกว่าวิธีอื่น
    • รังสีรักษา (radiation therapy) มักใช้ในมะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่ยังไม่ลุกลามออกนอกต่อมลูกหมาก  (localized prostate cancer) หรือลุกลามออกนอกต่อมลูกหมากไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวฯอุ้งเชิงกราน มี 2 รูปแบบคือการฝังแร่และการฉายรังสี

ที่มา นพ. ธีระพล อมรเวชสุกิจ รพ.บำรุงราษฎร์

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ความรู้มะเร็ง
การดูแลผู้ป่วย
การรักษามะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้