วันที่ 10-08-2022 | อ่าน : 243
แขนง ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค
แขนง เป็นผักตระกูลกะหล่ำที่มีขนาดเล็ก นิยมนำไปประกอบอาหารหลายชนิด เช่น ผัดแขนงน้ำมันหอย ผัดแขนงหมูกรอบ ผัดแขนงหมูสับ ซึ่งช่วยเพิ่มรสชาติและความกรุบกรอบให้กับเมนูอาหาร นอกจากนี้ แขนงยังอุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุมากมายที่อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพกระดูก ดวงตา ผิว รวมถึงอาจช่วยจัดการกับโรคเบาหวาน และอาจช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้อีกด้วย
คุณค่าทางโภชนาการของแขนง
แขนง 100 กรัม ให้พลังงาน 43 กิโลแคลอรี่ อุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุ เช่น
นอกจากนี้ แขนงยังมีวิตามินและแร่ธาตุอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ เช่น เหล็ก แมกนีเซียม โซเดียม สังกะสี ทองแดง แมงกานีส ซีลีเนียม (Selenium) วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 โฟเลต (Folate) โคลีน (Choline) วิตามินเอ เบต้าแคโรทีน ลูทีน (Lutein) ซีแซนทีน (Zeaxanthin) วิตามินอี วิตามินเค
ประโยชน์ของแขนงต่อสุขภาพ
แขนงอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพของแขนง ดังนี้
1. อาจช่วยบำรุงรักษาสุขภาพกระดูก
แขนงอุดมไปด้วยแคลเซียมและวิตามินเคที่มีส่วนช่วยในการบำรุงรักษากระดูกให้แข็งแรง รวมถึงยังมีสารประกอบอย่างแอลเลียม (Allium) และซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) ที่อาจช่วยลดการสลายตัวของมวลกระดูก
โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคผักและผลไม้ และการแตกหักของกระดูก พบว่า ผักตระกูลกะหล่ำ เช่น แขนง กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บร็อคโคลี่ อุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิดที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพกระดูก เช่น แคลเซียม วิตามินเค นอกจากนี้ยังมีสารประกอบ เช่น แอลเลียม ซัลโฟราเฟน ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเสื่อมสภาพของเซลล์กระดูกที่ทำให้กระดูกแตกหักง่าย และช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก จึงอาจมีส่วนช่วยให้กระดูกแข็งแรงและสุขภาพดี
2. อาจช่วยบำรุงสุขภาพดวงตา
แขนงเป็นผักตระกูลกะหล่ำที่อุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิด เช่น วิตามินซี ลูทีน ซีแซนทีน สังกะสี เบต้าแคโรทีน วิตามินอี ที่มีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระและป้องกันการอักเสบของจอประสาทตา จึงอาจช่วยบำรุงสุขภาพสายตาได้ดี
โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร National Institutes of Health เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของวิตามินซี พบว่า แขนงอุดมไปด้วยวิตามินซีที่ช่วยบำรุงสุขภาพตา รวมถึงอาจช่วยป้องกันจอประสาทตาที่เสื่อมตามอายุและต้อกระจกได้ นอกจากนี้ ยังอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญอื่น ๆ เช่น ลูทีน ซีแซนทีน สังกะสี เบต้าแคโรทีน วิตามินอี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อจอประสาทตา ช่วยให้สุขภาพตาแข็งแรง และป้องกันปัญหาสายตาอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
3. อาจช่วยส่งเสริมสุขภาพผิว
แขนงอุดมไปด้วยวิตามินซีที่ดีต่อสุขภาพผิว ช่วยต้านอนุมูลอิสระและช่วยสร้างคอลลาเจน ทำให้ผิวแข็งแรง ยืดหยุ่นและสุขภาพดี
โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของวิตามินซีต่อสุขภาพผิว พบว่า วิตามินซีพบได้ในผักหลายชนิด เช่น แขนง กะหล่ำปลี พริกแดง มะเขือเทศ ผักปวยเล้ง บร็อคโคลี่ ซึ่งวิตามินซีมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ส่งผลดีต่อสุขภาพผิว ช่วยปกป้องผิวจากการทำร้ายของรังสียูวี รวมถึงช่วยกระตุ้นการสังเคราะห์คอลลาเจนในชั้นผิวหนัง ทำให้ผิวแข็งแรงและยืดหยุ่นมากขึ้น
4. อาจช่วยจัดการกับโรคเบาหวาน
แขนงอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด โดยเฉพาะกรดอัลฟาไลโปอิก (Alpha-Lipoic Acid หรือ ALA) ที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบที่เกิดจากการรุกรานของโรคเบาหวาน ช่วยเพิ่มความไวของอินซูลิน และอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ
โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Biomolecules เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 ศึกษาเกี่ยวกับกรดอัลฟาไลโปอิกในการรักษาโรค พบว่า กรดอัลฟาไลโปอิกพบได้ในผักหลายชนิด เช่น แขนง ผักปวยเล้ง บร็อคโคลี่ มะเขือเทศ ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระ ล้างสารพิษ ยับยั้งการจับตัวของไขมันในหลอดเลือด และช่วยเพิ่มความไวของอินซูลินในการดูดซึมน้ำตาลเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง รวมถึงยังช่วยป้องกันการอักเสบของเนื้อเยื่อและเซลล์ที่เกิดจากการรุกรานของโรคเบาหวานได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยอีกหนึ่งชิ้นที่ตีพิมพ์ในวารสาร Primary Care Diabetes เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 ศึกษาเกี่ยวกับการบริโภคผักตระกูลกะหล่ำและโรคเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 16,544 คน ที่ได้บริโภคผักตระกูลกะหล่ำเพิ่มขึ้นอาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ลดลง
5. อาจช่วยป้องกันมะเร็ง
แขนงอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและสารประกอบหลายชนิด เช่น ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) แคโรทีนอยด์ (Carotenoids) เอทานอล (Ethanol) ที่มีส่วนช่วยในการต้านการอักเสบและช่วยล้างสารพิษที่อาจก่อให้เกิดการพัฒนาของเนื้องอกมะเร็งได้
โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Preventive Nutrition and Food Science เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 ศึกษาเกี่ยวกับปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและการต้านอนุมูลอิสระของแขนง พบว่า แขนงอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ฟลาโวนอยด์ แคโรทีนอยด์ เอทานอล ที่ช่วยต้านการอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกาย ซึ่งอาจช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน นอกจากนี้ แขนงยังมีสารประกอบอีกหลายชนิด เช่น ซัลโฟราเฟน ฟีนอล ไอโซไธโอไซยาเนต (Phenylethyl Isothiocyanate หรือ PEITC) อัลลิล ไอโซไทโอไซยาเนต (Allyl Isothiocyanate) อินโดล (Indole) ที่อาจออกฤทธิ์ช่วยต้านมะเร็ง โดยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ในร่างกายเพื่อช่วยในการล้างสารพิษตกค้างที่อาจก่อให้เกิดเนื้องอกมะเร็ง
ข้อควรระวังในการบริโภคแขนง
แขนงมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย แต่สำหรับบางคนอาจมีข้อควรระวัง ดังนี้
ขอขอบคุณข้อมูล hellokhunmor.com
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้