ไม่ได้ดื่มหนัก ก็เสี่ยงโรคตับได้

วันที่ 04-08-2022 | อ่าน : 250


     “ตับ” เป็นอวัยวะภายในร่างกายที่ใหญ่ที่สุด และมีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างน้ำดีเพื่อช่วยในการย่อยอาหาร ช่วยขจัดของเสียออกจากกระแสเลือด รวมถึงช่วยผลิตโปรตีนหลายชนิดให้ร่างกาย ฉะนั้นเราจึงควรใส่ใจดูแล “ตับ” ให้อยู่ในสภาพที่แข็งแรงปกติ พร้อมทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ โดยการ “ตรวจการทำงานของตับ” เช่นเดียวกับการตรวจอวัยวะอื่นๆ

ตรวจการทำงานของตับ

1. ตรวจการทำงานของตับ AST (Aspartate transaminase) หรือ SGOT (Serum glutamic oxaloacetic transaminase)  

AST คือเอนไซม์ที่ตับสร้างขึ้นเมื่ออวัยวะในร่างกายเกิดความเสียหาย หากพบในปริมาณมากจะเป็นสัญญาณว่าอวัยวะภายในมีปัญหา

  • ตรวจการทำงานของตับ AST ตรวจเพื่อยืนยันอาการผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณของโรคทางตับ เช่น อาการตัวเหลือง คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องใต้ชายโครงใต้ลิ้นปี่ เป็นต้น
  • ตรวจเมื่อต้องติดตามผลการรักษาอาการทางตับ หรือผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการรักษา
  • ตรวจเพื่อหาความเสียหายของตับที่อาจเกิดขึ้น

2. ตรวจการทำงานของตับ ALT (Alanine transaminase) หรือ SGPT (Serum glutamate-pyruvate transaminase)

ALT เป็นเอนไซม์ที่พบมากในตับ ร่างกายใช้ในการเผาผลาญโปรตีนเป็นพลังงาน เป็นเอนไซม์ที่สร้างขึ้นเมื่ออวัยวะในร่างกายเกิดความเสียหาย โดยปกติระดับ ALT พบได้ในกระแสเลือดปริมาณเล็กน้อย แต่หากตรวจพบ ALT ในปริมาณมากกว่าปกติ ก็อาจเป็นสัญญาณว่าการทำงานของตับมีปัญหานั่นเอง

  • ตรวจสอบความรุนแรงของความเสียหายที่เกิดกับตับ หรืออาการทางตับที่เป็นอยู่
  • ตรวจการทำงานของตับสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการตัวเหลือง หรือผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพื่อยืนยันโรคทางตับ
  • ตรวจสอบผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นกับยาที่ใช้รักษา เช่น ยาลดคอเลสเตอรอล
  • ทำไมเราต้องตรวจตับ
    หาก “ตับ” ทำงานผิดปกติ ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายด้วย  เราจึงไม่ควรละเลย “การตรวจการทำงานของตับ” อย่างเด็ดขาด  เพื่อเป็นการเฝ้าระวังโรคอย่างมีสติ

    • ตรวจหาความเสี่ยงและความเสียหาย หรืออาการติดเชื้อที่เกี่ยวกับตับ
    • ตรวจหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตับ และความผิดปกติที่มีผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ
    • ตรวจหาผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยา
    • ตรวจการทำงานของตับในผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเป็นโรคที่เกี่ยวกับตับ
    • ตรวจเพื่อติดตามอาการ และผลการรักษาโรคที่เกี่ยวกับตับ

    ใครบ้างที่ควรตรวจการทำงานของตับ
    ทุกคนควรเข้ารับการตรวจการทำงานของตับ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มบุคคลต่อไปนี้

    • ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ
    • ผู้ที่ทานยาที่ส่งผลต่อการทำงานของตับเป็นประจำ
    • ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นหรือเคยเป็นโรคที่เกี่ยวกับตับ
    • ผู้ที่มีความสงสัยว่าตนเองอาจได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ
    • ผู้ที่พบว่าตนมีอาการของโรคทางตับ เช่น คลื่นไส้อาเจียน ภาวะตัวเหลือง (ภาวะดีซ่าน) อ่อนแรง ท้องบวม ขาบวม เป็นต้น

    ไม่ตรวจ “ตับ”เสี่ยงโรคร้าย
         ความผิดปกติของตับสามารถส่งผลร้ายต่อร่างกายคุณได้ไม่ยาก  และอาจมีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคร้ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งตับ ตับอักเสบ ตับแข็ง รวมไปถึงโรคท่อน้ำดี  

         เราทุกคนจึงควรหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ และใส่ใจสุขภาพของ “ตับ” ให้มากขึ้น  เพื่อให้ “ตับ” ได้ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ  และช่วยรักษาความสมดุลของระบบต่างๆ ในร่างกาย เพื่อความแข็งแรงและการมีสุขภาพที่ดีไปอย่างยาวนาน

     

    ขอขอบคุณข้อมูล นพ.อุดมรัช โกวิททวิพัฒน์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบทางเดินอาหารและตับ ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์

    หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อาหารผู้ป่วยมะเร็ง
การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้