วันที่ 20-07-2022 | อ่าน : 294
โรคมะเร็งกระดูก สามารถพบได้ทั้งที่บริเวณกระดูกสันหลัง (Spine) เชิงกราน และแขน-ขา (Pelvic and Extremities) โดยมะเร็งกระดูกนั้น แบ่งได้เป็น 2 ชนิดหลักๆ คือ
1.มะเร็งกระดูกที่มีต้นกำเนิดจากเซลล์กระดูกเอง (Primary Bone Cancer)
มะเร็งชนิดนี้ มีสาเหตุเกิดจากเซลล์ในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงแบ่งตัวมากผิดปกติจนกลายเป็นเนื้องอกมะเร็ง พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์จากการคลำเจอก้อนตามร่างกาย ปวด กระดูกหัก หรือตรวจพบโดยบังเอิญ เช่น มะเร็งกระดูกชนิดออสทีโอซาร์โคมา (Osteosarcoma)
2.มะเร็งจากอวัยวะอื่นๆ แล้วลามมาที่กระดูก (Secondary Bone Cancer / Bone Metastasis)
มักพบในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเป็นมะเร็งอยู่ก่อนแล้ว เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งไทรอยด์ มะเร็งไต มะเร็งเม็ดเลือด (multiple myeloma) แล้วลามมาที่กระดูก หากผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งแล้วมีอาการปวดกระดูก ภายหลังจากรักษาเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้น ควรพิจารณาพบแพทย์เฉพาะทางมะเร็งกระดูกเพื่อตรวจเพิ่มเติม
อาการของมะเร็งกระดูก
มะเร็งกระดูกอาจเกิดขึ้นที่กระดูกบริเวณใดก็ได้ แต่ส่วนมากมักพบที่กระดูกสันหลัง ซึ่งอาจส่งผลให้กระดูกสันหลังหัก ร่วมกับมีเนื้องอกมะเร็งมากดทับไขสันหลังหรือเส้นประสาท ผู้ป่วยอาจคลำได้ก้อน ร่วมกับมีอาการปวดหลังร้าวลงแขน-ขา บางครั้งอาจมีอาการชา แขนขาอ่อนแรง กรณีมารับการรักษาช้า อาจส่งผลให้มีปัญหาด้านการควบคุมปัสสาวะ-อุจจาระได้
ตำแหน่งที่พบรองลงมาคือ มะเร็งกระดูกเชิงกรานและแขนขา ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการปวด อาจปวดตอนกลางคืน หรือปวดเมื่อเคลื่อนไหว เวลาเปลี่ยนท่า ยืน-เดิน บางครั้งสามารถคลำได้ก้อน ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจส่งผลให้กระดูกหักได้ ซึ่งกรณีกระดูกหักไปแล้วผลการรักษามักจะไม่ค่อยดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งกระดูกชนิดที่มีต้นกำเนิดจากเซลล์กระดูกเอง (Primary Bone Cancer)
อาการใดที่สงสัยภาวะมะเร็งกระดูก?
การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งกระดูกทำได้อย่างไร?
เบื้องต้นแพทย์จะสอบถามอาการและตรวจร่างกายบริเวณที่ผิดปกติ และอาจพิจารณาตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เช่น
การวินิจฉัยสามารถเป็นอะไรได้บ้าง? นอกจากมะเร็งกระดูก
มะเร็งกระดูกรักษาได้อย่างไรบ้าง?
ในการรักษาโรคมะเร็งกระดูก จะขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรค
มะเร็งกระดูก ผ่าตัดครั้งแรกสำคัญที่สุด
มะเร็งกระดูกที่มีต้นกำเนิดจากเซลล์กระดูกเอง เทคนิคการผ่าตัดที่เหมาะสมสามารถรักษาให้หายขาดจากมะเร็งได้ อย่างไรก็ตามถ้ารักษาผ่าตัดผิดวิธี โอกาสมะเร็งงอกซ้ำจะสูงมาก รวมถึงโอกาสการผ่าตัดแก้ไขก็แทบจะไม่มี เนื่องจากเกิดการปนเปื้อนของเซลล์มะเร็งในบริเวณที่เคยผ่าตัด
ทีมสหสาขาวิชาชีพ และเทคโนโลยีอุปกรณ์ผ่าตัดที่ทันสมัย มีความสำคัญต่อผลลัพธ์การรักษา
การรักษามะเร็งกระดูก จำเป็นต้องรักษาโดยทีมแพทย์เฉพาะทาง เช่น อายุรแพทย์ด้านมะเร็ง อายุรแพทย์โรคเลือด ศัลยแพทย์ แพทย์รังสีรักษา แพทย์รังสีวินิจฉัย พยาธิแพทย์ และอื่นๆ ทีมแพทย์จะร่วมกันวินิจฉัยและวางแผนการรักษาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในคนไข้แต่ละราย
ขอขอบคุณข้อมูล ศูนย์กล้ามเนื้อกระดูกและข้อ โรงพยาบาลพญาไท 2
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้