วันที่ 24-06-2022 | อ่าน : 723
มีหลายครอบครัวที่ต้องสูญเสียคนรักไปด้วย “โรคมะเร็งปอด” เพราะเป็นโรคที่มักจะไม่แสดงอาการจนกว่าจะอยู่ในระยะที่ค่อนข้างรุนแรงแล้ว ฉะนั้นเราทุกคนจึงควรสังเกตอาการของตัวเองและคนในครอบครัว ว่ามีความปกติใดๆ บ้างหรือไม่ เพราะ “มะเร็งปอด” หากตรวจพบเร็วในระยะเริ่มต้น โอกาสรักษาให้หายก็มีมาก
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค “มะเร็งปอด”
“มะเร็งปอด” เกิดจากเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวของปอดที่ผิดปกติ มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และไม่สามารถควบคุมได้ จนเกิดเป็นก้อนเนื้อร้าย ซึ่งสามารถลุกลามและกระจายไปอวัยวะอื่นๆ ได้ โดยโรคมะเร็งปอดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small Cell Lung Cancer)
มะเร็งชนิดนี้พบได้ประมาณ 10-15% เซลล์จะเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างรวดเร็วเช่นกัน
มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer)
มะเร็งชนิดนี้พบได้ประมาณ 85-90% จะแพร่กระจายได้ช้ากว่าชนิดเซลล์เล็ก และหากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกๆ สามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัด
ระยะของมะเร็งปอด
ระยะของมะเร็งปอดมีความสำคัญอย่างมากต่อการรักษา ซึ่งระยะของมะเร็งปอดนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งด้วยเช่นกัน
ระยะของมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก มี 2 ระยะ
ระยะของมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก มี 4 ระยะ
ปัจจัยเสี่ยง...“มะเร็งปอด”
พฤติกรรมในการใช้ชีวิตและสภาพแวดล้อมรอบตัว ล้วนส่งผลต่อการเกิด “โรคมะเร็งปอด” ได้ทั้งสิ้น
การสูบบุหรี่
เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด รวมถึงมะเร็งชนิดอื่นๆ ด้วย เพราะในบุหรี่เต็มไปด้วยสารก่อมะเร็ง ทำให้ผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 10 เท่า
ควันบุหรี่มือสอง
แม้จะไม่ได้สูบบุหรี่ แต่การได้รับควันบุหรี่จากคนรอบข้างที่สูบ ก็เป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดมะเร็งปอดได้เช่นกัน
สารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม
ผู้ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม อาจได้รับสารก่อมะเร็งเป็นประจำโดยไม่รู้ตัว เช่น โครเมียม แร่ใยหิน แร่เรดอน นิกเกิล เป็นต้น
มลภาวะที่เป็นพิษ
จากการศึกษาพบว่า ฝุ่น PM2.5 ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดได้มากถึง 1-1.4 เท่า ซึ่งถือว่ามีความรุนแรงไม่น้อยเมื่อเทียบกับการสูบบุหรี่
พันธุกรรม
แม้โรคมะเร็งปอดจะไม่ได้ถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยตรง แต่หากมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งปอดตั้งแต่อายุน้อยๆ สมาชิกในครอบครัวก็มีความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน
อาการแสดง...เมื่อโรคลุกลาม
ในระยะแรกของโรคมะเร็งปอด ผู้ป่วยมักไม่ค่อยแสดงอาการมากนัก แต่จะมีอาการที่บ่งบอกถึงการเกิดโรคเมื่อโรคเริ่มลุกลามมากขึ้น ดังนี้
หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการเหล่านี้อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อการวินิจฉัยโรคที่แม่นยำ และเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด
หากสงสัยว่าอาจเป็นมะเร็งปอด แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีต่างๆ เช่น การเอกซเรย์ปอด (X-ray), การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan), การส่องกล้องลอดลมปอด (Bronchoscopy), การตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจ (Biopsy), การตรวจคัดกรองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (Low-Dose CT chest), การส่องกล้องในช่องกลางทรวงอก (Mediastinoscopy) ตามความจำเป็น
เราทุกคนควรใส่ใจสุขภาพและหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อคุณและคนที่คุณรักจะได้ใช้เวลาที่มีความสุขร่วมกันยาวนานขึ้น... แม้ว่า “โรคมะเร็งปอด” จะไม่สามารถแพร่เชื้อทำร้ายปอดสู่คนในครอบครัวได้ แต่โรคนี้หากรู้ช้าหรือรักษาไม่ทันท่วงที อาจทำร้ายหัวใจของคนในครอบครัวได้ไม่ยาก...
ขอขอบคุณข้อมูล นพ.ศุภชาติ ชมภูนุช อายุรแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งวิทยา ศูนย์มะเร็งอายุรวิวัฒน์ โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้