วันที่ 06-10-2021 | อ่าน : 416
มะเร็งเต้านม ถือเป็นภัยเงียบที่ใกล้ตัวผู้หญิงเรา ในระยะเริ่มแรกมักไม่แสดงอาการ แต่อาจจะชัดเจนก็ต่อเมื่อก่อนในเต้านมเกิดอักเสบ โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้หญิงไทยมากที่สุดโรคหนึ่ง ในผู้หญิงไทยมีแนวโน้มจากการเจ็บป่วยด้วยมะเร็งเต้านมมากขึ้น เพื่อป้องกันโรคมะเร็งเต้านมผู้หญิงทุกคนที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม ยังไม่เพียงพอที่จะยืนยันความแม่นยำสูงถึง 100 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความหนาแน่นของเนื้อเต้านม ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ความแม่นยำนั้นลดลง
ตรวจก่อน รู้ก่อน แก้ไขทัน
• การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ช่วงอายุ : 20 ปีขึ้นไป ความถี่ : เดือนละครั้ง
• การตรวจอัลตร้าซาวด์ ช่วงอายุ : น้อยกว่า35 ปี ความถี่ : 1-2 ปี ต่อครั้ง
• การตรวจดิจิตอลแมมโมแกรม ช่วงอายุ : 35 ปีขึ้นไป ความถี่ : 1-2 ปี ต่อครั้ง
หมายเหตุ : ผู้หญิงที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม ควรตรวจคัดกรองตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าผู้อื่น
การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง (Breast Self-Examination)
ควรตรวจเป็นประจำทุกเดือน ในช่วงหลังหมดประจำเดือนไปแล้วประมาณ 7-10 วัน เนื่องจากเป็นช่วงที่ เต้านมไม่มีการคัดตึง และเกิดความผิดพลาดน้อย หากพบความผิดปกติ ดังนี้ควรรีบปรึกษาแพทย์
• คลำเจอก้อนนูน
• รู้สึกเจ็บ บวม แดง ร้อน
• ลักษณะรูปทรงเต้านมผิดปกติ เปลี่ยนแปลงไป
• ผิวของเต้านมลักษณะคล้ายเปลือกส้ม
• มีรอยผื่นบริเวณหัวนม ซึ่งมักคิดว่าเกิดจากผื่นแพ้ เมื่อตรวจด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมอาจไม่พบความผิดปกติแต่อย่างใด ซึ่งในความเป็นจริงแล้วผื่นแพ้ที่เห็นนั้นเป็นรอยโรคของมะเร็งในระยะเริ่มแรกซึ่งจะรู้ผลโดยการตรวจเพิ่มเติมจากแพทย์เฉพาะทาง
• มีน้ำใสๆหรือเลือดซึมออกจากหัวนม ซึ่งเป็นอาการนำของโรคมะเร็งเต้านม แต่การตรวจด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมอาจจะมองไม่เห็นเท่าการตรวจร่างกายจากแพทย์ร่วมด้วย ผู้ป่วยที่พบว่ามีก้อนอยู่บริเวณขอบฐานของเต้านมซึ่งสามารถคลำได้เอง
การตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound)
ควรเข้ารับการตรวจตั้งแต่อายุน้อยกว่า 35 ปี ควรตรวจทุกๆ 1-2 ปี ทั้งนี้ การตรวจอัลตราซาวด์ เป็นการตรวจโดยการส่งคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไปในเนื้อเต้านม ทำให้สามารถตรวจจับความแตกต่างของเนื้อเยื่อปกติกับก้อนในเต้านมได้
การตรวจดิจิตอลแมมโมแกรม (Digital Mammogram)
ควรเข้ารับการตรวจตั้งอายุ 35 ปี ขึ้นไป โดยควรตรวจทุกๆ 1-2 ปี การตรวจเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม เครื่องจะบันทึกภาพเต้านมแบบดิจิตอล ทำให้สามารถมองเห็นภาพบนจอคอมพิวเตอร์ แพทย์สามารถเรียกดูรูปจากหน้าจอในห้องตรวจได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่วินาที มีความแม่นยำสูง หากแพทย์พบจุดที่น่าสงสัย ก็สามารถขยายภาพให้เห็นได้ชัดเจนขึ้น
ผู้หญิงที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม ควรตรวจคัดกรองทางพันธุกรรม เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าผู้อื่น เพราะมะเร็งเต้านมเกิดจากความผิดปกติในรหัสพันธุกรรมของยีน ซึ่งสามารถถ่ายทอดสู่ลูกได้ทั้งจากบิดา หรือมารดา เพื่อเป็นการป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ หากพบความผิดปกติในพันธุกรรม ก็สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีป้องกันการเป็นมะเร็งข้างต้นได้ก่อนที่จะมีอาการ
ดังนั้น คุณผู้หญิงควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม และอัลตร้าซาวด์พร้อมตรวจร่างกายโดยแพทย์เฉพาะทาง ปีละ 1 ครั้ง หากมีอาการน่าสงสัยควรตรวจทุกๆ 6 เดือน ในกรณีที่มีความผิดปกติแพทย์จะทำการตรวจชิ้นเนื้อต่อไป มะเร็งเต้านมรักษาได้ หากพบแต่เนิ่นๆ
ขอบคุณข้อมูล โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้