วันที่ 01-04-2021 | อ่าน : 1743
รายงานในปี 2563 ขององค์การอนามัยโลกได้เผยให้เห็นว่า คนทั่วโลกป่วยเป็นโรคมะเร็งประมาณ 19 ล้านคนและเสียชีวิตจากโรคมะเร็งประมาณ 9.9 ล้านคน โดยในจำนวนนี้ มีผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหารถึง 1 ล้านคนหรือเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 5 ทั่วโลก ซึ่งในผู้ป่วย 1 ล้านคนนี้ ต้องเสียชีวิตจากโรคมะเร็งกระเพาะอาหารราว 7.6 แสนคน ถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 3 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งหมด
จากสถิติผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งกระเพาะอาหารที่สูงนี้ ทำให้หลายๆประเทศได้ให้ความสำคัญกับการป้องกันโรค ด้วยการตรวจคัดกรองโรคตั้งแต่ผู้ป่วยยังไม่มีอาการ โดยเฉพาะประเทศในเอเชียที่มีอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารสูง เช่น ในประเทศญี่ปุ่นและประเทศเกาหลีใต้ได้ใช้กลยุทธ์ตรวจประชากรทุกคนหรือ universal screening strategies โดยประเทศญี่ปุ่นเริ่มตรวจประชากรทุกคนเมื่ออายุ 50 ปี ด้วยวิธีการวินิจฉัยทางรังสี (upper GI series: UGIS) ทุกปีหรือด้วยวิธีการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (upper endoscopy: EGD) ทุกสองปีหากไม่พบความผิดปกติใด ในขณะที่ในประเทศเกาหลีใต้ ให้ประชากรเริ่มตรวจเมื่ออายุ 40 ปีด้วยวิธีการส่องกล้องและหากใครมีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารในช่วงอายุ 60 ปีให้ตรวจด้วยวิธีการส่องกล้องทุกปี
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหารมีอะไรบ้าง
ปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหารมาจากปัจจัยที่สามารถป้องกันได้ เช่น พฤติกรรมการใช้ชีวิตและปัจจัยที่ป้องกันไม่ได้ เช่น พันธุกรรม ดังนี้
การตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร
ผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหารในระยะแรกอาจไม่แสดงอาการใดๆให้เห็นหรือมีอาการไม่รุนแรง และมีอาการคล้ายกับโรคอื่น ๆ เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องอืด คลื่นไส้ ความอยากอาหารลดลง น้ำหนักลดลง หรือมีภาวะซีดโลหิตจาง เป็นต้น ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวว่าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารจนกระทั่งมะเร็งลุกลามมากขึ้นหรือลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆแล้ว ดังนั้นการตรวจคัดกรองจึงช่วยให้ตรวจพบการเปลี่ยนแปลงในกระเพาะอาหารตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ทำให้การรักษาได้ผลดีและมีโอกาสหายขาดได้ โดยทั่วไปภาวะการเปลี่ยนแปลงในเนื้อเยื่อกระเพาะอาหารก่อนเกิดมะเร็งมีอยู่ 4 ภาวะด้วยกัน คือ chronic gastritis, gastric atrophy, intestinal metaplasia และ dysplasia ซึ่งภาวะเหล่านี้พบได้จากการตรวจคัดกรอง ทำให้แพทย์สามารถติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิดหรือรักษาด้วยวิธีการส่องกล้องและตัดบริเวณรอยโรคออกผ่านการส่องกล้องได้ทันท่วงที
การตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพสามารถทำได้ 2 วิธีหลักด้วยกัน คือ
ควรตรวจบ่อยครั้งแค่ไหน
สำหรับผู้ที่มีอายุ 40 ขึ้นไปแนะนำว่าควรเริ่มตรวจด้วยวิธีการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (upper endoscopy: EGD) ทุกๆ สามปีหากไม่พบความผิดปกติใดๆ
ที่มา ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้