วันที่ 08-03-2021 | อ่าน : 1277
การควบคุมอาหารที่ถูกต้องมีผลทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนน้อยลง ชะลอการเสื่อมของไต อาหารที่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ ได้แก่
1. โปรตีน ถ้าไตเสื่อมไม่มากให้รับประทานโปรตีนได้ 0.8 กรัม/กก/วัน แต่ถ้าเสื่อมมากให้จำกัดปริมาณโปรตีนไม่เกิน 0.6 กรัม/กก./วัน โปรตีนเป็นส่วนประกอบของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย ขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดของเสียซึ่งถูกขับออกทางไต ถ้าไตเสื่อมของเสียจะคั่งค้างและไปสะสมตามอวัยวะต่างๆ ทำให้อวัยวะต่างๆทำงานผิดปกติไป อาหารที่ให้โปรตีนสูงได้แก่ ไข่ ถั่ว นม เนื้อสัตว์ ไข่ให้รับประทานไข่ขาว ไม่ควรรับประทานไข่แดงเนื่องจากไข่แดงมีฟอสฟอรัสและคอเลสเตอรอลมาก ถ้าดื่มนมจะต้องลดอาหารเนื้อสัตว์ พวกถั่วต่างๆ และผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น น้ำเต้าหู้ เต้าหู้ให้โปรตีนสูงควรงด เนื้อสัตว์ให้รับประทานเนื้อปลา เป็นหลัก
2. แป้งหรือคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ ข้าว ก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้น บะหมี่ เผือก มัน ขนมจีน ผู้ป่วยควรรับประทานหมู่นี้ให้มาก
3. ไขมัน หลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์ เช่น มันหมู มันไก่ มันเป็ด น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม กะทิ แกงต่างๆ เครื่องใน ขาหมู หนังไก่ ไก่ตอน มันไก่ ให้ใช้น้ำมันถั่วเหลืองแทน หลีกเลี่ยงอาหารหรือขนมที่ใส่กะทิ
4. เกลือแร่ ผู้ป่วยไตวายให้ลดอาหารเค็ม เพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูง บวมน้ำ และน้ำท่วมปอด
ตัวอย่างอาหารที่มีเกลือมากควรหลีกเลี่ยง
5. น้ำ ผู้ป่วยควรดื่มน้ำไม่เกินวันละประมาณ 500 มิลลิลิตร ไม่ควรดื่มน้ำแร่ น้ำหนักตัวไม่ควรเพิ่มเกินวันละ 0.5 กิโลกรัม แต่ทั้งนี้ขึ้นกับคำสั่งแพทย์ผู้ทำการรักษาเป็นหลักในการจำกัดสารน้ำ
โพแทสเซียม (Potassium)
เนื่องจากโพแทสเซียมถูกขับออกทางไต เมื่อไตเสื่อมทำให้เกิดการคั่งของโพแทสเซียม ผู้ป่วยไตวายจะมีการคั่งของ โพแทสเซียม ถ้าระดับโพแทสเซียมสูงมากอาจทำให้หัวใจหยุดเต้น
ผู้ที่มีโพแทสเซียมในเลือดสูง (มากกว่า 5 ) ควรงดผลไม้ทุกชนิด รับประทานได้ต่อเมื่อแพทย์สั่งเท่านั้น ควรปฏิบัติตนในการรับประทานผลไม้ ดังนี้
ฟอสเฟต
ฟอสฟอรัสมีมากที่สุดในนมทุกรูปแบบ ผลิตผลจากนม เช่น เนยแข็ง โยเกิร์ต ไอศกรีม ผู้ป่วยโรคไตวายควรหลีกเลี่ยงนมทุกชนิด ไข่ไก่ ไข่เป็ด โดยเฉพาะไข่แดงจะมีฟอสฟอรัสมากรองจากนม ส่วนไข่ขาวมีน้อย ถั่วเมล็ดแห้งทุกชนิด เมล็ดฟักทอง เมล็ดแตงโม นมสด เนยแข็ง ถั่ว เนยแข็ง เมล็ดมะม่วงหินพานต์ การรับประทานอาหารเหล่านี้มากทำให้ระดับฟอสเฟตในเลือดสูง ระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ในเลือดสูงขึ้น และวิตามินดีในเลือดต่ำลง ส่งผลให้มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
เหล็ก
ผู้ป่วยโรคไตควรได้รับธาตุเหล็กเสริมในรูปของยารับประทานตามแพทย์แนะนำ
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้