วันที่ 31-08-2020 | อ่าน : 2680
ก่อนให้ยาเคมีบำบัด
ระหว่างให้ยาเคมีบำบัด
หลังให้ยาเคมีบำบัด
อาการข้างเคียงหลังให้ยาเคมีบำบัด มักเกิดขึ้นภายใน 7-14 วันแรกผู้ป่วยแต่ละคนจะมีการตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดที่มากหรือน้อยแตกต่างกันได้
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือ
อาการเบื่ออาหารคลื่นไส้อาเจียน อาจเกิดขึ้นหลังได้รับยา 2-3 ชั่วโมงดูหลังรับยาแล้วนานเป็นวันสามารถป้องกันและลดความรุนแรงได้ดังนี้
ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำมากเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 7-10 หลังให้ยาเคมีบำบัด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคได้ง่ายหากมีไข้ หนาวสั่น เจ็บรอบๆทวารหนักผู้ป่วยควรรีบมาพบแพทย์เพื่อฉีดยาปฏิชีวนะโดยด่วน ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง ภาวะติดเชื้อสามารถป้องกันได้ดังนี้
ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะโลหิตจาง ทำให้มีอาการซีด อ่อนเพลียมาก รู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติ หัวใจเต้นเร็วและหน้ามืดบ่อยควรรีบมาพบแพทย์และอาจจำเป็นต้องให้เลือด
ถ้ามีจุดเลือดจ้ำเลือดขึ้นตามตัว หรือมีเลือดออกตามไรฟันเลือดกำเดาไหล มีจุดแดงเล็กๆที่ตาขาว ลำตัว แขนและขา ประจำเดือนมามากหรือเลือดออกแล้วหยุดไหลได้ช้าควรรีบมาพบแพทย์ทันทีเนื่องจากมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำและจำเป็นต้องให้เลือด
ยาเคมีบำบัดอาจทำให้มีอาการเจ็บปากเจ็บคอ และปวดแสบร้อนช่องปากและเหงือกมีสีแดง เป็นมัน บวม ผู้ป่วยสามารถบรรเทาอาการได้โดยอมน้ำแข็งหรือรับประทานของเย็นๆ เช่น ไอศครีม ดื่มน้ำมากๆอย่านอนวันละ 8-10 แก้ว และรับประทานอาหารอ่อน ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แห้งแข็ง รสจัด ร้อนจัด น้ำอัดลมและการเคี้ยวหมากพลูเพราะจะทำให้ช่องปากมีการอักเสบและเจ็บมากขึ้น
ดูแลทำความสะอาดช่องปากและฟัน หลังทานอาหารทุกมื้อด้วยแต่สีฟันขนอ่อนนุ่มและบนปากบ่อยๆด้วยน้ำเกลือหรือน้ำสะอาดหรือน้ำยาบ้วนปากที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคและเหงือกอักเสบและไม่ควรใส่ฟันปลอมในช่วงการรักษารากฟันปลอมจะกดเหงือกทำให้เกิดแผลได้ง่ายและเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคได้
ยาเคมีบำบัดบางชนิดอาจทำให้ผมร่วงได้ แต่ไม่ต้องวิตกกังวลเพราะเมื่อจบการรักษาแล้วผมจะงอกขึ้นมาใหม่เอง
ผิวหนังเล็บอาจจะมีอาการแห้งหยาบ มีสะเก็ด มีสีดำคล้ำ อาการนี้จะเกิดขึ้นชั่วคราวเมื่อหยุดยาก็จะหายไปเอง ผู้ป่วยควรทาครีมหรือโลชั่นเพื่อให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้นและตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ เลี่ยงการถูกแสงแดดจ้า เช่น สวมเสื้อผ้าแขนยาว สวมหมวกหรือใช้ร่มป้องกันแสงแดดและทาครีมกันแดดเมื่อออกจากบ้าน ห้ามแกะ เกาผิวหนังเมื่อมีอาการคัน
ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการชาที่ปลายมือปลายเท้า อาการชานี้สามารถหายกลับเป็นปกติได้แต่มันต้องใช้เวลานานผู้ป่วยอาจนวดหรือออกกำลังกายแบบยืดกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาการและปรึกษาแพทย์เพื่อรับวิตามินเสริม
ฝ่ามือฝ่าเท้าอาจมีสีแดงหรือดำคล้ำและเจ็บ อาการนี้จะเกิดขึ้นชั่วคราวเมื่อหยุดยาก็จะหายไปเอง แต่อาจใช้เวลานาน ควรสวมถุงมือถุงเท้า เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งของโดยตรงและใช้โลชั่นทาฝ่ามือ ฝ่าเท้า
อาการถ่ายเหลว เกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางรายเมื่อมีอาการควรทานอาหารอ่อนย่อยง่ายรสไม่จัดดื่มน้ำเกลือแร่หรือน้ำชาจีนเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกากใยสูงเช่นผักผลไม้สดเพราะจะกระตุ้นให้ท้องเสียมากขึ้นถ้ามีอาการรุนแรงควรรีบมาพบแพทย์โดยด่วนไม่ควรซื้อยารับประทานเอง
อาการหูอื้อหรือการได้ยินลดลง อาจพบได้ในผู้ป่วยบางรายที่ได้รับยาซิสพลาติน
สำหรับเพศหญิงช่องคลอดมีอาการแห้ง ทำให้มีเพศสัมพันธ์ได้ยากหรือเจ็บอาจใช้ครีมหล่อลื่นช่วย
ยาเคมีบำบัดมีผลต่อรังไข่ ทำให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอหรือไม่มีประจำเดือนมาอีกเลย
ผู้ป่วยอาจมีอารมณ์แปรปรวน ซึ่งอาจเป็นผลจากยาเคมีบำบัดควรหากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำเพื่อช่วยผ่อนคลายจิตใจเช่นฟังวิทยุอ่านหนังสือดูรายการโทรทัศน์ที่ชอบออกกำลังกายสม่ำเสมอควรเอาใจใส่และฟื้นกำลังกายอยู่เสมอ
ที่มา ศูนย์มะเร็งตรงเป้า - โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้