วันที่ 12-02-2020 | อ่าน : 2830
เชื้อฮิวแมน ปาปิลโลมา ไวรัส (Human Papilloma Virus : HPV) หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของเอชพีวี คือเชื้อไวรัสที่มีสายพันธุ์มากกว่า 100 สายพันธุ์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
สาเหตุการติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่ติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ ทำให้ผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อนจะมีโอกาสติดเชื้อ HPV หนึ่งครั้งในชีวิตมากถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอาจเป็นสายพันธุ์ที่ทำให้ก่อมะเร็งหรือไม่ก็ได้ รวมถึงการสัมผัสอย่างรุนแรงบริเวณอวัยวะเพศ หรือการติดต่อจากแม่สู่ลูกในระหว่างคลอดปกติ ที่ยังคงมีโอกาสติดเชื้อ HPV ได้
3 เรื่องบนเตียง ทำแล้วไม่เสี่ยงติดเชื้อ HPV จริงหรอ ?
เมื่อการติดเชื้อ HPV มีต้นเหตุสำคัญเพราะเพศสัมพันธ์เป็นหลัก การลดความเสี่ยงด้วยเรื่องบนเตียงจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสนใจ และทำความเข้าใจให้ตรงกัน ดังนี้
รวมถึงผู้ชายที่มีโอกาสติดเชื้อ HPV ได้ไม่ต่างกับผู้หญิง ซึ่งทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งองคชาตหรือหูดที่อวัยวะเพศได้ นอกจากการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย การตรวจหาเชื้อ HPV จึงเป็นวิธีช่วยลดความเสี่ยง เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่เชื้อแบบไม่รู้ตัวได้ดีที่สุด
ตรวจแปปเมียร์ (Thin Prep Pap Test) ให้รู้ตัวก่อนเป็นผู้แพร่เชื้อ HPV
ผู้ติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ว่าตนเองได้รับเชื้อ HPV เนื่องจากการติดเชื้อจะไม่มีอาการแสดงใดๆ ปรากฏให้เห็น เพราะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถกำจัดเชื้อไวรัสออกได้เอง จึงอาจทำให้เชื้อ HPV หายไปใน 1-2 ปี แต่ใช่ว่าความโชคดีเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับผู้ติดเชื้อ HPV ทุกคน ปัจจุบันยังพบตัวเลขผู้ที่ติดเชื้อเป็นระยะเวลายาวนาน จนทำให้เกิดโรคมะเร็งปากลดมูก มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งช่องคลอด มะเร็งที่อวัยวะเพศ มะเร็งช่องปากและหลอดลม ตลอดจนโรคอื่นๆ ตามมา
การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Thin Prep Pap Test) เป็นวิธีตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือสอดผ่านช่องคลอด ก่อนจะป้ายเซลล์บริเวณปากมดลูกบางส่วนออกมา เพื่อส่งตรวจอย่างละเอียดที่ห้องปฏิบัติการต่อไป โดยการตรวจแปปเมียร์มักจะทำควบคู่กับการตรวจ Cotest Thinprep plus HPV mRNA หรือ Cotest Thinprep plus HPV cobas เพื่อให้ทราบชนิดสายพันธุ์ของเชื้อ HPV อย่างละเอียดและแม่นยำ ทั้งยังช่วยให้แพทย์วางแผนการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การมีเพศสัมพันธ์ไม่ใช่เรื่องผิด เพราะเป็นเรื่องปกติตามธรรมชาติทั่วไปในมนุษย์ หากแต่ควรอยู่ในกรอบของความปลอดภัย หมั่นอัพเดทสุขภาพภายในเป็นประจำสม่ำเสมอ ก่อนที่คุณหรือใคร..จะกลายเป็นผู้แพร่เชื้อรายต่อไปแบบไม่รู้ตัว
ข้อมูลจาก พญ.ธิศรา วีรสมัย สูตินรีแพทย์ เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลพญาไท 1
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้