วิธีการของการรักษาด้านโภชนาการ

วันที่ 06-11-2019 | อ่าน : 3793


     การให้อาหารแก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถกินอาหารได้ตามปกติ แม้ว่าการกินอาหารทางปากตามปกติจะเป็นสิ่งที่เหมาะสมและควรทำมากที่สุด แต่ในผู้ป่วยบางท่านไม่ สามารถรับอาหารได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเนื่องจากการของโรคมะเร็งหรือผลจากการรักษา  เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็งบริเวณศีรษะ ลำคอ หลอดอาหาร หรือกระเพาะอาหาร เป็นต้น ผู้ป่วยอาจมีความจำเป็นที่จะ ต้องรับอาหารทางท่อสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารหรือให้ทางเส้นเลือด โดยรับสารอาหารในสูตรต่างๆ โดยมากมักเป็นของเหลวที่ประกอบด้วย น้ำ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และ/หรือเกลือแร่ ซึ่งเลือกให้ตามความต้องการและวิธีการให้สารอาหาร แม้ว่า การให้สารอาหารเสริมจะสามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้แต่วิธีการนี้ก็อาจจะมีความ เสี่ยงและข้อเสียที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจ โดยหนึ่งในความเสี่ยงก็คือขณะนี้ยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่าสารอาหาร เหล่านั้น จะส่งผลต่อการเติบโตของมะเร็ง อย่างไร นอกจากนี้ การให้สารอาหาร แต่ละวิธียังมีผลดีและผลเสียต่างกัน เช่น การให้ผ่านระบบทางเดินอาหาร จะทำให้กระเพาะและลำไส้ทำงานได้อย่างปกติและมีความยุ่งยากในการดำเนิน การน้อยกว่า การให้ทางเส้นเลือด ดังนั้นจึงควรมีการปรึกษากับคนไข้ในประเด็นเหล่านี้ก่อนทำการรักษา

การให้อาหารเสริม มีประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีอาการต่อไปนี้

  • น้ำหนักตัวน้อย
  • ไม่สามารถดูดซึมอาหารได้
  • มีรูหรือการรั่วไหลในกระเพาะอาหารหรือช่องท้อง
  • ไม่สามารถดื่มหรือกินอาหารได้เป็นเวลานานกว่า 5 วัน
  • มีความเสี่ยงของการขาดสารอาหารในระดับปานกลางขึ้นไป
  • ผู้ป่วยและผู้ดูแลสามารถดำเนินการให้อาหารทางสายยางได้ที่บ้าน
  • Enteral Nutrition (การให้สารอาหารผ่านระบบทางเดินอาหาร) ซึ่งการให้สารอาหารวิธีนี้รวมถึงการให้สารอาหารทางสายยางด้วย
    Enteral Nutrition คือการให้อาหารในรูปของเหลวให้แก่ผู้ป่วยผ่านทางสายยางที่ต่อเข้ากับกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปต่างๆ ได้แก่

    • การให้อาหารทางสายยางที่เข้าสู่กระเพาะ/ลำไส้เล็กผ่านทางจมูกและคอ ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมสำหรับการให้อาหารในระยะสั้น
    • การให้อาหารทางสายยางผ่านรูเปิดบนหน้าท้อง ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมสำหรับการให้อาหารในระยะยาวหรือในผู้ป่วยที่ไม่สามารถให้อาหารผ่านทางจมูกและคอได้

         Enteral Nutrition สามารถดำเนินการได้ในหลายรูปแบบ  การให้อาหารผ่านทางสายยางที่ต่อเข้ากับกระเพาะอาหารนั้นจะสามารถให้อาหารได้ทั้งในลักษณะต่อเนื่อง หรือในลักษณะให้หลายๆ ครั้งต่อวัน ขณะที่การให้อาหารโดยต่อเข้ากับลำไส้เล็กนั้นทำให้ส่งผ่านอาหารได้อย่างต่อ เนื่องและสามารถเลือกสูตรของสารอาหารที่ให้ได้ตามความเหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วยด้วย

         แม้ว่า Enteral Nutrition จะใช้ในกรณีที่ไม่สามารถทานอาหารทางปากได้หรือทานได้ไม่เพียงพอ แต่วิธี  การนี้ควรใช้เป็นเพียงวิธีเสริมให้ผู้ป่วยสามารถได้รับอาหารได้อย่างเพียงพอเท่านั้น โดยผู้ป่วยควรที่จะพยายามรับ  สารอาหารด้วยวิธีการปกติเท่าที่ผู้ป่วยจะสามารถทำได้ด้วย

         Enteral Nutrition เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ยังมีการทำงานของระบบทางเดินอาหารอยู่ Enteral Nutrition เป็นวิธีการที่ยังคงใช้การทำงานของกระเพาะและลำไส้ของผู้ป่วยในการรับและย่อยอาหาร วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งบริเวณศีรษะ คอ ระบบย่อยอาหารและผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการทานตามปกติ เนื่องมาจากผลข้างเคียงของเคมีและรังสีบำบัด

    Enteral Nutrition ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีอาการต่อไปนี้

    • ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการทำงานของกระเพาะและลำไส้หรือมีการตัดกระเพาะ/ลำไส้ออกไป
    • ผู้ป่วยที่มีภาวะการอุดตันของลำไส้
    • ผู้ป่วยที่มีอาการ อาเจียน และหรือถ่ายเหลว
    • ผู้ป่วยที่มีอาการเกล็ดเลือดต่ำ
    • ผู้ป่วยที่มีจำนวนเม็ดเลือด (ไม่ว่าจะเป็นเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือด) ในระดับต่ำ

         Enternal Nutrition ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องแม้ว่าผู้ป่วยจะออกจากโรงพยาบาลแล้ว ในกรณีที่ผู้ป่วยจะต้องได้รับ Enteral Nutrition หลังจากออกจากโรงพยาบาลแล้ว ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลจะต้องได้รับการฝึกฝนการใช้สายยาง และการดูแลตัวผู้ป่วย นอกจากนี้ที่พักของผู้ป่วยจะต้องสะอาดและตัวผู้ป่วยจะต้องได้รับการตรวจโดยทีมงานโภชนาการเป็นประจำ

         Parenteral Nutrition (การให้สารอาหารทางเส้นเลือด) Parenteral Nutrition เป็นการให้สารอาหารแก่ผู้ป่วยผ่านทางระบบเลือด โดยจะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับอาหารทางปากหรือทาง Enteral Feeding ได้ โดยจะเป็นการให้สารอาหารเข้าสู่ระบบเลือดโดย ตรงผ่านทางเข็ม Catheter โดยไม่ผ่านระบบการย่อยอาหารของผู้ป่วย ซึ่งเป็นวิธีการที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่

    • กระเพาะอาหารและลำไส้ถูกตัดออกไปหรือไม่สามารถทำงานได้
    • มีอาการถ่ายเหลว อาเจียน
    • มีอาการเจ็บในช่องปาก หรือ หลอดอาหาร
    • มีรูรั่วในกระเพาะอาหาร หรือ หลอดอาหาร
    • มีอาการสูญเสียมวลร่างกายและกล้ามเนื้อ Enteral Nutrition

         สายให้สารอาหาร อาจถูกต่อเข้ากับเส้นเลือดดำเข้าสู่บริเวณหน้าอกหรือต้นแขน สายให้สารอาหาร จะถูกต่อเข้ากับเส้นเลือดดำผ่านทางผิวหนังบริเวณหน้าอกส่วนบน เรียกว่า Central Venous Catheter ส่วน Peripheral Venous Catheter จะถูกสอดเข้าสู่เส้นเลือดดำที่ต้นแขนโดยทีมแพทย์ เพื่อใช้สำหรับการให้อาหารในระยะสั้น หลังจากที่มีการสอดสายยางแล้ว  ผู้ป่วยจะต้องได้รับการตรวจอาการติดเชื้อ หรือเลือดออกบริเวณที่สอดสายยางอยู่เสมอ   ควรงดยาบางประเภทที่ให้โดยการฉีดเข้าเส้นเลือด ยาและสารบางประเภทอาจจะไม่ปลอดภัยเมื่อมีการผสมกับสารอาหารที่ให้ผ่านทางเส้นเลือด ดังนั้นจึงควร  มีการปรึกษากับเภสัชกร/แพทย์ก่อนการผสมยาหรือสารอื่นๆ ทุกครั้ง

         การใช้ Parenteral Nutrition ควรได้รับการดูแลโดยบุคลากรทางการแพทย์ที่ผ่านการฝึกฝนทักษะแล้ว การใช้ Parenteral Nutrition ควรได้รับการดูแลโดยบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝนมา เนื่องจากผู้ป่วยอาจจะเกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ ได้เช่น

    • การใส่และวางปลายสายอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง
    • เกิดก้อนแข็งตัวของเลือด
    • ภาวะปอดล้มเหลว
    • ระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำเกินไป
    • ระดับโปแตสเซียมในเลือดต่ำ
    • ระดับเอนไซม์ของตับมีค่าสูงขึ้น

         Parenteral Nutrition ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องแม้ว่าผู้ป่วยจะออกจากโรงพยาบาลแล้ว ในกรณีที่ผู้ป่วยจะต้องได้รับการ Parenteral Nutrition หลังจากออกจากโรงพยาบาลแล้ว ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลจะต้องได้รับการฝึกฝนการใช้สายยาง ปั๊มและการดูแลตัวผู้ป่วย นอกจากนี้ที่พักของผู้ป่วยจะต้องสะอาด และตัวผู้ป่วยจะต้องได้รับการตรวจโดยทีมผู้เชี่ยวชาญเป็นประจำ

         การถอด/ยกเลิก Parenteral Nutrition Support ควรดำเนินการโดยบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีประสบการณ์ การถอด/ยกเลิก Parenteral Nutrition Support ควรดำเนินการภายใต้การดูแลโดยบุคลากรทางการแพทย์ โดย Parenteral Nutrition นี้ควรค่อยๆ ลดปริมาณลงก่อนจะยกเลิกและเปลี่ยนไปให้อาหารโดยวิธีอื่น เช่น Enteral Nutrition หรือการให้อาหารทางปาก

         การแนะนำด้านโภชนาการเพื่อการบรรเทาอาการของผู้ป่วยในกรณีที่ผลข้างเคียงจากโรคมะเร็งหรือจากการรักษาส่งผลกระทบต่อการกินอาหารของผู้ป่วย ควรมี การปรับเปลี่ยนอาหารเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยจะสามารถได้รับสารอาหารที่จำเป็นได้อย่างเพียงพอ โดยในกรณีนี้ อาจจะมีการให้ยาเพื่อกระตุ้นความอยากอาหาร และเน้นอาหารที่ให้ พลังงาน โปรตีน วิตามิน  และเกลือแร่สูงควบคู่ไปกับการวางแผนทางโภชนาการที่เหมาะสมกับความต้องการสารอาหารและชนิดอาหารที่ผู้ป่วยพึงพอ ใจในรสชาติ


    ข้อมูลจาก ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

    หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อาหารผู้ป่วยะมเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้