เหล้า บุหรี่ ตัวการร้าย..ทำเสี่ยง มะเร็งในช่องปาก

วันที่ 09-10-2019 | อ่าน : 1943


     มะเร็งในช่องปาก คือเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นภายในช่องปาก นับตั้งแต่ริมฝีปาก ลิ้น กระพุ้งแก้ม เหงือกบนและล่าง ใต้ลิ้น ลิ้น ไปจนถึงเพดานแข็ง โดยสถิติในปี 2017มะเร็งในช่องปากนับว่าเป็นมะเร็ง 1 ใน 10 ที่เกิดขึ้นมากที่สุดในประเทศไทย หรือประมาณ5 – 6% ของมะเร็งทั้งหมด

ปัจจัยที่ทำให้โอกาสเสี่ยงต่อโรคมะเร็งในช่องปากเพิ่มขึ้น

  • บุหรี่มีความเสี่ยง 2 – 3 เท่าเมื่อเทียบกับคนทั่วไป
  • แอลกอฮอล์ มีความเสี่ยง2 - 3 เท่าเมื่อเทียบกับคนทั่วไป (หากทั้งดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ มีโอกาสเกิดโรคมากถึง 30 เท่า)
  • หมาก พลู พบมากในผู้สูงอายุ
  • แสงแดด เมื่อริมฝีปาก โดยเฉพาะริมฝีปากล่างสัมผัสแสงแดดหรือรังสีอัลตร้าไวโอเลตสะสม
  • แผลในปากเรื้อรัง
  • การใส่ฟันปลอมที่ไม่พอดี

สัญญาณเตือนอันตราย...ที่ควรมาพบแพทย์

  • แผลในปากหายช้าเกินกว่า 2 - 3 สัปดาห์ ส่วนมากคนไข้มักเข้าใจผิดว่าเป็นแผลร้อนในที่เป็นได้ทั่วทั้งปาก โดยไม่ทันคิดว่าอาจเป็นมะเร็งในระยะเริ่มต้นได้
  • ก้อนผิดปกติที่ขึ้นมาในปากหรืออาจมีก้อนนูนใต้เยื่อบุช่องปาก
  • รอยแดง หรือรอยขาวที่ผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของมะเร็งในระยะเริ่มต้น
  • ยิ่งพบแพทย์เร็ว ยิ่งมีโอกาสหาย

         ปาก คืออวัยวะที่สำคัญมากในชีวิต หากต้องพบมะเร็งในช่องปากระยะลุกลาม หรือก้อนเนื้อขนาดใหญ่ การผ่าตัดจะมีความซับซ้อนกว่าปกติมาก และอาจต้องนำเนื้อจากบริเวณอื่นมาซ่อมแซมแผลเพื่อให้กลับมาพูด กินข้าว และใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงเดิมมากที่สุดดังนั้น หากมีการตรวจพบในระยะที่ 1 – 2 การรักษาจะได้ผลดี  โดยพบว่าอัตราการรอดชีวิตหลังจากการรักษาที่ 5 ปี มีมากกว่า60-90% ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เป็น

         วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่นระยะของโรค ขนาดของก้อนเนื้อการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองและสุขภาพโดยรวมของคนไข้ แพทย์จึงอาจต้องใช้หลายวิธีในการรักษาทั้งการผ่าตัด การใช้เคมีบำบัด หรือการฉายแสงเข้ามาผสมผสานกันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์การรักษาที่ดีที่สุด

    5 สิ่งที่ควรทำเพื่อป้องกันมะเร็งในช่องปาก

    • ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์อาจสร้างความระคายเคืองในช่องปาก..และอาจกลายเป็นเนื้อร้ายได้ง่าย
    • ลดหรือเลิกสูบบุหรี่การเคี้ยวหมาก และพฤติกรรมที่กระตุ้นให้เกิดแผลเรื้อรังในช่องปาก
    • หมั่นสังเกตความผิดปกติภายในช่องปาก หากพบก้อน หรือรอยผิดปกติให้รีบพบแพทย์หู คอ จมูก
    • หมั่นพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพภายในช่องปาก
    • หลีกเลี่ยงการให้แสงแดดกระทบบริเวณริมฝีปากโดยตรง

     


    ข้อมูลจาก นพ.ธนุศักดิ์ ศรีใจ ศูนย์ศัลยกรรมศีรษะและคอ โรงพยาบาลพญาไท 2

    หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อาหารผู้ป่วยมะเร็ง
การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้