วันที่ 28-08-2019 | อ่าน : 2448
ผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการเคมีบำบัด จะต้องได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น หรือลดผลข้างเคียงให้เหลือน้อยที่สุด และเป็นผลดีต่อการรักษา
เคมีบำบัดเป็นวิธีหนึ่งในการรักษาโรคมะเร็ง โดยใช้ยาต้านมะเร็งเพื่อทำลายหรือควบคุมเซลล์มะเร็งให้มีขนาดเล็กลง พร้อมทั้งควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งไม่ให้โตขึ้นและยับยั้งการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ จุดประสงค์ของการทำเคมีบำบัดขึ้นอยู่กับระยะของโรค สามารถหวังผลให้หายขาดได้ในมะเร็งบางชนิดที่อยู่ในระยะเริ่มต้น เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งลำไส้ เป็นต้น
วิธีการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการเคมีบำบัด ก่อนอื่นทั้งตัวผู้ป่วยเองและผู้ดูแลจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นหลังการทำเคมีบำบัด เพื่อทำการเฝ้าระวังและจัดการให้ถูกต้องเหมาะสม เช่น อาการคลื่นไส้อาเจียน ที่ผู้ป่วยจะต้องเข้าใจก่อนว่าสามารถเกิดขึ้นได้และเกิดเพียงชั่วคราวเท่านั้น หลังการรักษาหรือเลิกรับประทานยาที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว ผลข้างเคียงเหล่านั้นก็จะหายไปเอง หากเป็นมากสามารถไปรับยาแก้อาการคลื่นไส้จากแพทย์ได้อีกด้วย
วิธีการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการเคมีบำบัด
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลข้างเคียงของการทำเคมีบำบัด
ผลข้างเคียงที่เกิดจากเคมีบำบัดนั้นเกิดจากการที่ตัวยาไปทำลายเซลล์มะเร็ง ทำให้มีผลกับเซลล์ปกติด้วย โดยเซลล์ปกติมีด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดแบ่งตัวเร็ว และชนิดที่ไม่ได้แบ่งตัวเร็ว โดยเซลล์ที่ได้รับผลกระทบจะเป็นเซลล์ชนิดแบ่งตัวเร็ว เช่น เซลล์รากผม เซลล์เม็ดเลือด เซลล์เยื่อบุในช่องทางเดินอาหารตั้งแต่ปากถึงทวารหนัก
ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจะเกิดเพียงชั่วคราวและฟื้นตัวได้เร็ว เมื่อหยุดการรักษาร่างกายก็จะกลับมาเป็นปกติ เช่น ผมที่เคยร่วงก็จะกลับมาขึ้นเป็นปกตินั่นเอง โดยผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นนั้นยังขึ้นอยู่กับชนิดของยา พบว่ายาบางตัวในการทำเคมีบำบัดก็ไม่ได้ทำให้ผมร่วง โดยส่วนมากยาที่ทำให้ผมร่วง คือ ยารักษามะเร็งเต้านม
ผลข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัดที่พบบ่อย
ในช่วงที่มีการทำเคมีบำบัด ตัวยาจะกดการสร้างเม็ดเลือด ทำให้เม็ดเลือดลดน้อยลง ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำลง และติดเชื้อได้ง่ายขึ้น โดยภาวะติดเชื้อของผู้ป่วยเมื่อได้รับยาเคมีบำบัดจะเกิดช่วง 1-2 สัปดาห์หลังเข้ารับการรักษา ผู้ดูแลและตัวผู้ป่วยเองต้องระมัดระวังในเรื่องของอาหารการกินเป็นพิเศษ ต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และอาหารต้องสุกสะอาด หากมีไข้ต้องรีบพบแพทย์ ไม่ควรรับประทานยาลดไข้เอง ทั้งนี้อาการดังกล่าวจะมีผลต่อเซลล์เยื่อบุทางเดินอาหารทั้งหมด ทำให้มีอาการเจ็บปาก ร้อนใน ท้องเสีย จำนวนเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดต่ำ อาจทำให้เกิดภาวะซีดในคนไข้บางราย
อาการที่ควรระวังหลังการให้เคมีบำบัด
ข้อมูลจากรายการ Rama Square ช่วง Daily expert การดูแลผู้ป่วยที่ให้ยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลรามาธิบดี
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้