วันที่ 22-08-2019 | อ่าน : 10908
เมื่อเอ่ยถึงโรคมะเร็ง หลายคนอาจจะนึกถึงก้อนเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นตามอวัยวะใหญ่ๆ ในร่างกาย เช่น มะเร็งปอด มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไล้ใหญ่และทวารหนัก และมะเร็งปากมดลูก ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันจัดเป็นมะเร็งลำดับต้นๆ ที่คร่าชีวิตคนไทย จากข้อมูลล่าสุดของกระทรวงสาธารณสุขปี 2561
แต่รู้ไหมว่า เซลล์เล็กๆ อย่างต่อมน้ำลายก็สามารถเติบโตผิดปกติจนกลายเป็นก้อนมะเร็งได้เช่นกัน
มะเร็งต่อมน้ำลายเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่จะพบในผู้ใหญ่ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยอัตราการพบมะเร็งต่อมน้ำลายคือ 1 รายต่อประชากรหนึ่งแสนคน ซึ่งเมื่อเทียบกับมะเร็งบริเวณศีรษะและคอทั้งหมดแล้ว มะเร็งต่อมน้ำลายจัดว่ายังพบได้น้อย แต่ขึ้นชื่อว่ามะเร็ง เราก็ไม่ควรประมาท ต้องรีบรักษาดูแลเสียแต่เนิ่นๆ
“โรคมะเร็งสามารถรักษาให้หายได้เพียงรีบมาพบแพทย์ การรักษาไม่ได้ส่งผลเสียกับคนไข้อย่างที่คนไข้หรือญาติเข้าใจ ทุกวันนี้วิวัฒนาการของการรักษาไปไกลแล้ว ยิ่งก้อนมะเร็งมีขนาดไม่ใหญ่มากและตรวจพบได้เร็ว ก็จะมีโอกาสหายสูง” รศ.นพ.นฏดล ตั้งจาตุรนต์รัศมี ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว
รู้จักต่อมน้ำลาย
ต่อมน้ำลายมีหน้าที่สร้างน้ำลายมาหล่อเลี้ยงในช่องปาก ช่วยในการหล่อลื่นอาหาร เพิ่มแร่ธาตุให้กับฟัน
ต่อมน้ำลายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
สาเหตุมะเร็งต่อมน้ำลาย
ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด และไม่พบสาเหตุที่สัมพันธ์กับการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ หรือการรับประทานอาหารประเภทหมักดอง เหมือนกับมะเร็งชนิดอื่นๆ รวมถึงยังไม่สามารถระบุชัดด้วยว่ามีความเกี่ยวพันกับพันธุกรรม อย่างไรก็ตาม มีข้อบ่งชี้ว่า มะเร็งต่อมน้ำลายมีความสัมพันธ์กับผู้ที่ประกอบอาชีพที่สัมผัสกับ
ฝุ่นไม้เป็นเวลานานๆ เช่น ช่างทำเฟอร์นิเจอร์ หรือผู้ที่ทำงานในโรงเลื่อย ซึ่งจะพบอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งต่อมน้ำลายในโพรงจมูกได้มากกว่าปกติ
สัญญาณผิดปกติที่ควรใส่ใจ
ก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นบริเวณหน้ากกหู หรือแก้ม และใต้คาง ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้องอกธรรมดา แต่หากเป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นกับต่อมขนาดเล็กของต่อมน้ำลายบริเวณโพรงจมูก ริมฝีปาก และเพดานอ่อน ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งต่อมน้ำลายได้ ทั้งนี้ อาการที่น่าสงสัยว่าก้อนเนื้องอกจะกลายเป็นมะเร็ง มีดังนี้
ตรวจและรักษา
แพทย์วินิจฉัยโรคด้วยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย เจาะชิ้นเนื้อตรวจหาความผิดปกติ ตรวจ อัลตร้าซาวด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็ก ส่วนการรักษา การผ่าตัดเป็นวิธีการที่ได้ผลดี และต้องทำร่วมกับการฉายแสงและการใช้ยาบำบัด ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์และผลตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา คนไข้ส่วนใหญ่ (เกิน 50 – 60 %) มีโอกาสหายได้
“เราควรหมั่นตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงตรวจก้อนเนื้อด้วยตัวเองเป็นประจำ อย่างในเวลาอาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย ก็ลูบคลำบริเวณต่างๆ ตามร่างกาย เพื่อหาจุดสะดุด หรือสัมผัสที่ไม่เคยมีมาก่อน และเมื่อคลำเจอก้อนบริเวณแก้ม ใต้คาง ใต้ลิ้นในช่องคอ ให้รีบไปพบแพทย์ทางหู คอ จมูก เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป” รศ.นพ.นฏดล ตั้งจาตุรนต์รัศมี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว
ข้อมูลจาก วารสารจุฬาฯ CU Around จุฬาสัมพันธ์ ฉบับที่ 8 ปีที่ 62
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้