วันที่ 02-08-2019 | อ่าน : 2208
มะเร็งกล่องเสียง คืออะไร?
กล่องเสียงเป็นอวัยวะที่อยู่ด้านหน้าของลำคอ ขนาดกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร ประกอบด้วยกล้ามเนื้อสองแถบทำหน้าที่เป็นสายเสียง และมีกระดูกอ่อนอยู่ทางด้านหน้า กล่องเสียงมีหน้าที่ในการออกเสียง ช่วยในการหายใจ และกลืนอาหาร มะเร็งกล่องเสียงเป็นเนื้องอกร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่อบุผิวของกล่องเสียง ส่วนใหญ่พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีประวัติสูบบุหรี่จัดเป็นเวลานาน
ปัจจัยเสี่ยงการเกิดมะเร็งกล่องเสียง
1.การสูบบุหรี่ ควันของบุหรี่จะทำให้ขนกวัดบริเวณเยื่อบุกล่องเสียงหยุดการเคลื่อนไหว หรือเคลื่อนไหวช้าลง ทำให้มีสารคัดหลั่ง หรือสารระคายเคืองค้างอยู่ ทำให้เยื่อบุของกล่องเสียงหนาตัวขึ้นจนกลายเป็นเซลล์มะเร็ง
2.การดื่มแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์สามารถกระตุ้นเยื่อบุของกล่องเสียงให้เปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็งได้
3.การอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุกล่องเสียง เช่น จากคอ หรือหลอดลมที่อักเสบเรื้อรัง
4.มลพิษทางอากาศ การสูดดมอากาศที่เป็นพิษ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ฝุ่น ควัน และสารเคมี จากโรงงานอุตสาหกรรม
5.การติดเชื้อไวรัส ทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงและแบ่งเซลล์ผิดปกติ ไวรัสสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
6.การฉายรังสี การรักษาโดยการฉายรังสีก้อนเนื้อบริเวณคอ สามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้
7.ฮอร์โมนเพศ
อาการของมะเร็งกล่องเสียง
1.เสียงแหบเรื้อรัง
2.กลืนอาหารลำบาก กลืนแล้วเจ็บ หรือสำลัก
3.ไอเรื้อรัง บางรายมีเสมหะปนเลือด
4.เจ็บคอเรื้อรัง มีความรู้สึกเหมือนก้างติดคอ
5.หายใจติดขัด หายใจลำบาก
6.มีก้อนโตที่คอ
7.เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
8.ปวดหู
การวินิจฉัยโรคมะเร็งกล่องเสียง
1.ใช้กระจกส่องลงไปตรวจที่กล่องเสียงเพื่อตรวจดูเนื้องอก
2.การส่องกล้องตรวจที่กล่องเสียง และตัดชื้นเนื้อที่สงสัยไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง
3.การตรวจเลือด ปัสสาวะ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการดมยาสลบ การส่องกล้องตรวจที่กล่องเสียง และการตัดชื้นเนื้อ
4.การตรวจพิเศษอื่นๆ เช่น เอ็กซเรย์ปอด เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อให้ทราบว่าเป็นมะเร็งระยะที่เท่าไร หรือมีการแพร่กระจายไปที่ใดบ้าง
แนวทางการรักษา
ระยะแรกเริ่ม (ระยะที่ 1 และระยะที่ 2)
รักษาโดยการฉายรังสีหรือการผ่าตัดวิธีใดวิธีหนึ่ง การฉายรังสีสามารถรักษามะเร็งกล่องเสียงในระยะแรกให้หายขาดได้ และสามารถรักษากล่องเสียงไว้ได้ทำให้ผู้ป่วยยังคงพูดได้เป็นปกติ ส่วนการผ่าตัดผู้ป่วยอาจมีเสียงแหบบ้างแต่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ
ระยะลุกลาม (ระยะที่ 3 และระยะที่ 4 ซึ่งยังไม่มีการแพร่กระจายเข้ากระแสโลหิต)
ใช้การรักษาร่วมกันหลายวิธี เช่น การผ่าตัดกล่องเสียงออกทั้งหมด รวมถึงต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เคียงร่วมกับการฉายรังสี หรืออาจใช้เคมีบำบัดร่วมด้วย ซึ่งหลังผ่าตัดผู้ป่วยจะพูดไม่ได้เป็นปกติ แต่ส่วนใหญ่จะรับประทานอาหารได้ปกติ ต้องฝึกการพูดแบบไม่มีกล่องเสียงหรือใช้อุปกรณ์ช่วยพูด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแพทย์จะพิจารณาแนวทางในการรักษา
มะเร็งกล่องเสียงรักษาหายได้หรือไม่?
มะเร็งกล่องเสียงจัดเป็นโรคที่มีความรุนแรงปานกลางแต่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งโอกาสในการรักษาให้หายนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้
ข้อมูลจาก โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้