วันที่ 03-07-2019 | อ่าน : 1562
มะเร็ง หนึ่งในโรคที่พันธุกรรมมีส่วนสำคัญ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าใครที่มีคุณพ่อหรือคุณแม่หรือญาติสายตรงเป็นมะเร็งจะต้องเป็นมะเร็งด้วยเสมอไป เพราะการเกิดโรคมะเร็งยังมีปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมและสภาพแวดล้อม ทั้งการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ มลพิษทางอากาศ แสงแดด ไปจนถึงสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดมะเร็ง
จากสถิติการเกิดโรคมะเร็งที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง แพทย์จึงไม่ยอมหยุดพัฒนาวิธีการรักษา โดยในปัจจุบันได้มีการรักษาแนวทางใหม่ที่เรียกว่า Precision Cancer Medicine ซึ่งก็คือ การตรวจความผิดปกติระดับพันธุกรรม วินิจฉัยลึกถึงการกลายพันธุ์ ต้นเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็ง ที่จะช่วยให้แพทย์กำหนดวิธีการรักษาและเลือกใช้ยาที่เหมาะสมสำหรับคนไข้เฉพาะบุคคลได้
Precision Cancer Medicine ตรวจได้ไร้ข้อจำกัด
การตรวจหามะเร็งในอดีต เมื่อแพทย์วินิจฉัยจนแน่ใจแล้วว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งจริง จึงเริ่มทำการรักษาตามระยะอาการของโรค ซึ่งมักเป็นการรักษาด้วยวิธีฉายแสง เคมีบำบัด และการผ่าตัด ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ ทั้งยังให้ผลข้างเคียงจากการรักษาค่อนข้างมาก เพราะเป็นการรักษาที่ทำให้เซลล์ปกติต้องถูกทำลายไปพร้อมกันกับเซลล์มะเร็ง
แต่ปัจจุบัน มีการตรวจมะเร็งแบบ Precision Cancer Medicine ซึ่งเป็นวิธีตรวจความผิดปกติของกรรมพันธุ์ (Gene) เพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีรักษามะเร็งที่ดีที่สุดสำหรับคนไข้ในระยะลุกลาม โดยแพทย์จะทำการตรวจชิ้นเนื้อปัจจุบันของผู้ป่วย ก่อนจะนำมาวิเคราะห์หาความผิดปกติในพันธุกรรม และเลือกใช้ยารักษาที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยแบบเฉพาะบุคคล ทำให้ผลข้างเคียงจากการรักษาลดลง ต่างจากการรักษามะเร็งด้วยวิธีเคมีบำบัด ทั้งยังเป็นการตรวจมะเร็งที่แทบไม่มีข้อจำกัดใดๆ คือ
เมื่อผู้ป่วยได้รับการตรวจมะเร็งแบบ Precision Cancer Medicine เพื่อหาความผิดปกติระดับพันธุกรรม จะช่วยให้แพทย์เลือกยาที่ช่วยหลีกเลี่ยงการเกิดผลข้างเคียงจากการรักษาได้มากขึ้น ลดระยะเวลาการฟื้นตัวของคนไข้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แปลผลตรงจุด วิเคราะห์ยีนกลายพันธุ์
นอกจากความก้าวหน้าทางเทคนิคแล้ว ความสำเร็จของการรักษายังขึ้นอยู่กับความชำนาญของแพทย์ผู้วิเคราะห์เป็นสำคัญ เพราะการวิเคราะห์หายีนกลายพันธุ์จะต้องใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ เพราะต้องวินิจฉัยขั้นลึกผ่านการอ่านค่าความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย
เมื่อแพทย์ตรวจซ้ำจนแน่ใจแล้วว่ามีการกลายพันธุ์ของยีนจริง ขั้นตอนการให้ยารักษาแบบพุ่งเป้า (Targeted Therapy) จำเพาะบุคคลจึงเริ่มขึ้น ขั้นตอนการวิเคราะห์ผลที่มีประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญ เพราะจะส่งผลต่อการให้ยารักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย ตลอดจนความสำเร็จหลังการรักษา และอัตราผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น โดยที่ผู้ป่วยเองจะได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกวิธีรักษาในแบบที่ยอมรับได้ ตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ชำนาญการอย่างใกล้ชิด
กรรมพันธุ์มะเร็ง เสี่ยงเป็นแต่ป้องกันได้
สิ่งที่เราทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คือ กรรมพันธุ์ หรือยีนที่ถูกส่งต่อกันมารุ่นสู่รุ่น นั่นคือสิ่งที่เป็นตัวกำหนดตัวตนของมนุษย์แต่ละคน รวมถึงโรคทางพันธุกรรม เช่น มะเร็ง แต่ใช่ว่าจะเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงกันไม่ได้ เพราะในทางการแพทย์นั้นกรรมพันธุ์ หรือยีนจะมีผลต่อการเกิดมะเร็งอยู่ประมาณ 10-20% เท่านั้น ที่เหลือล้วนมาจากสิ่งเร้าภายนอกเป็นสิ่งกระตุ้นสำคัญ จนกลายพันธุ์เป็นมะเร็งอย่างสมบูรณ์ วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ การตรวจสุขภาพ และดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสามารถทำได้โดย
ความก้าวหน้าทางการแพทย์เป็นสิ่งที่ดำเนินไปในทุกๆ วัน เพื่อพัฒนาวิธีรักษาที่ให้ประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง โดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ และแม้ว่าปัจจุบันการรักษามะเร็งแบบ Precision Cancer Medicine จะใช้รักษามะเร็งในระยะลุกลาม แต่เชื่อว่าในอนาคตจะมีการใช้รักษามะเร็งในระยะเริ่มต้นมากขึ้น จนพัฒนาไปสู่การรักษามะเร็งตั้งแต่ต้นเหตุได้
ข้อมูลจาก นพ.วิกรม เจนเนติสิน แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยาและเคมีบำบัด โรงพยาบาลพญาไท 1
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้