โภชนาการสำหรับมะเร็งระยะลุกลาม

วันที่ 31-05-2019 | อ่าน : 3197


โภชนาการสำหรับมะเร็งระยะลุกลาม (Nutrition in Advance Cancer) ผลข้างเคียงทางด้านสารอาหาร อาจเกิดขึ้นหรือมีอาการทรุดลงเมื่อโรคมะเร็งลุกลามมากขึ้น

อาการข้างเคียงทางด้านสารอาหาร ที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยมะเร็งที่มีอาการรุนแรง ได้แก่

  • อาการที่ทำให้เกิดการอ่อนเพลีย น้ำหนัก ไขมัน และกล้ามเนื้อลีบลง
  • น้ำหนักตัวลดลงมากกว่า 10% ของน้ำหนักตัวปกติ
  • ไม่สามารถกินอาหารได้เต็มที่
  • ผายลม
  • เบื่ออาหาร
  • ท้องผูก
  • ปากแห้ง
  • รสนิยมในด้านอาหารเปลี่ยนไป
  • อาเจียน
  • กลืนลำบาก
  • การรักษาอาการในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลาม

         นั้นทำเพื่อบรรเทาอาการและเพิ่ม คุณภาพชีวิตของผู้ป่วย เป้าหมายของการ Palliative Care คือ การเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ซึ่งการดูแล
    อาการ ดังกล่าวนี้รวมถึงการป้องกันหรือการรักษาอาการ, ผลข้างเคียงตั้งแต่ที่เริ่มมีอาการ และยังครอบคลุมไป ถึงปัญหาด้านจิตใจ และสังคมด้วย มะเร็งระยะแพร่กระจายและการดูแลแบบประคับประคอง

         อาการป่วยที่พบได้ทั่วไปในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลาม ได้แก่ การกินอาหารได้น้อยลงเนื่องจากมีปัญหาในการกลืน ในกรณีนี้ผู้ป่วยควรได้รับสารอาหารในรูปอาหารอ่อนหรืออาหารเหลวมากกว่า และผู้ป่วยอาจจะสามารถกลืนอาหารเหลวที่มีลักษณะน้ำข้นได้ดีกว่าน้ำใส นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีอาการในระยะสุดท้ายอาจจะไม่มีอาการหิวหรือ อยากอาหาร และสามารถรับอาหารได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

         เมื่อโรคมะเร็งมีอาการรุนแรงขึ้นควรมีการดูแลด้านโภชนาการในด้านความสุขและความชื่นชอบในการรับประทานอาหารมากขึ้น นอกเหนือจากการดูแลในเรื่องของพลังงานและสารอาหารตามปกติ

         ในผู้ป่วยที่มีอาการหนักนี้อาจจะต้องมีการผ่อนคลายข้อจำกัดต่างๆในด้านอาหารลง โดยคำนึงถึงความต้องการและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้มากขึ้น เช่น การลดการจำกัดของหวานในผู้ป่วยโรคเบาหวาน แต่ก็ยังคงควรที่จะจำกัดในเรื่องที่จำเป็นเช่น การให้อาหารอ่อนในผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อน ,มดลูก,รังไข่ หรือมะเร็งที่อื่นๆ ที่ส่งผลกระทบ ต่อบริเวณช่องท้อง เพื่อป้องกันภาวะลำไส้อุดตัน

     


    ข้อมูลจาก สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

    หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อาหารผู้ป่วยะมเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้