วันที่ 03-05-2019 | อ่าน : 1773
ในหนึ่งวันร่างกายของเราต้องเจอกับแสงแดดอยู่เป็นประจำ ซึ่งผิวหนังเป็นส่วนที่ถูกแสงแดดมากที่สุดในร่างกาย ทำให้มีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งผิวหนังจากแสงแดด ดังนั้น เราควรสังเกตความผิดปกติของผิวหนังเป็นประจำ
ปัจจัยเสี่ยง
อาการ
ส่วนใหญ่เริ่ม จากมีการเปลี่ยนแปลงของไฝ ปาน หรือเริ่มต้นเป็นแผลเล็ก ๆ แล้วค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้น ขรุขระ อาจมีสีดำที่ขอบ ๆ และเมื่อเป็นมาก จะเป็นก้อนคล้ายดอก กระหล่ำปลี มะเร็งผิวหนังส่วนใหญ่มักพบที่บริเวณใบหน้า แขน ขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว
การรักษา
ขึ้นอยู่กับ ชนิด ขนาด และตำแหน่งของมะเร็ง แพทย์อาจใช้วิธีการผ่าตัดเอาส่วนที่เป็น มะเร็งออก ซึ่งบางครั้งต้องตัดต่อมน้ำเหลืองที่เป็นทางกระจายของมะเร็งออกด้วย การ ใช้ยาเคมีและรังสีรักษาเสริมการผ่าตัด จะทำให้มีโอกาสหายขาดมากขึ้น
การป้องกัน
1.ไม่ควรให้ผิวหนังถูกแสง แดดจนไหม้เกรียม
2.ระมัดระวังการใช้ยาที่ เข้าสารหนู
3.สังเกตความเปลี่ยนแปลง ของหูด ไฝ ปาน
4. แผลเรื้อรังที่ผิวหนัง รักษาแล้วไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ ควรพบแพทย์
ข้อมูลจาก สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้