พันธุกรรมกับความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง

วันที่ 19-04-2019 | อ่าน : 1725


     แม้ว่าเปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยมะเร็งส่วนมากจะมีลักษณะการเกิดโรคเฉพาะตัว หรือที่เรียกว่า Sporadic Case แต่ความจริงแล้วโรคมะเร็งนั้นสามารถเกิดจากความผิดปกติของยีนในร่างกาย และถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมในครอบครัวได้ ถึงแม้ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเป็นส่วนน้อย แต่หากอยู่ในครอบครัวที่มีความเสี่ยง แพทย์แนะนำให้ตรวจสุขภาพเป็นประจำ หมั่นสำรวจตัวเอง หรือตรวจหาความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งด้วยวิธี Preventive Genetic Testing เพื่อป้องกัน..ก่อนโรคร้ายจะลุกลามจนยากต่อการรักษา

โรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สามารถแบ่งกลุ่มคนไข้ได้ เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มคนไข้ที่พบมากที่สุดในปัจจุบัน คือโรคมะเร็งที่อยู่ๆ ก็เกิดขึ้นมาในลักษณะโรคเฉพาะตัว(Sporadic Case) เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด มะเร็งตับ เป็นต้น

กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มคนไข้ที่เกิดโรคมะเร็งทางพันธุกรรม ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์และยีนบางตัวในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็ง

โรคมะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของยีนในร่างกาย
ยีนในร่างกายที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 คือยีนที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวเอง มีคุณลักษณะที่ผิดปกติไป และอาจพัฒนากลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด

กลุ่มที่ 2 คือยีนในร่างกายที่มีหน้าที่ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง...มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้

     “ยีนทั้ง 2 กลุ่มนี้ทำหน้าที่แตกต่างกัน แต่ไม่ว่าจะมีการกระตุ้นของยีนที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งมากขึ้น หรือว่าจะมีการยับยั้งของยีนที่ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ก็สามารถที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและกลายเป็นเซลล์มะเร็งขึ้นมาได้”

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง
• มีประวัติครอบครัวบ่งชี้ถึงความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่สืบทอดทางพันธุกรรม
• สามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของยีนได้ชัดเจนว่า มี หรือ ไม่มี
• ผลการตรวจให้ข้อมูลที่ช่วยชี้นำการดูแลทางการแพทย์ในอนาคต

ลักษณะความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งที่สืบทอดทางพันธุกรรม
• มีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งเมื่ออายุยังน้อย
• มีมะเร็งหลายชนิดเกิดขึ้นในคนเดียวกัน
• เกิดมะเร็งในอวัยวะที่มีเป็นคู่ โดยเกิดมะเร็งทั้ง 2 ข้าง
• มีญาติใกล้ชิดเป็นมะเร็งชนิดเดียวกัน
• เกิดมะเร็งในสภาวะที่ไม่พบบ่อย เช่น มะเร็งเต้านมในเพศชาย
• มีความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น ก้อนที่ผิวหนังหรือกระดูก ที่สัมพันธ์กับกลุ่มอาการของมะเร็งทางพันธุกรรม
• มีเชื้อชาติที่เสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการของโรคมะเร็งทางพันธุกรรม

โรคมะเร็งทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อย หรือ Family of Cancer Syndrome ได้แก่
โรคมะเร็งในสตรี เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ เป็นต้น ในผู้ป่วยบางรายอาจเป็นทั้งมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งปัจจุบันพบว่าโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เกิดขึ้นจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมากขึ้น

โรคมะเร็งในเด็ก โดยปกติผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคสูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น แต่สำหรับมะเร็งในเด็กนั้นจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมค่อนข้างมาก

ตรวจสุขภาพเป็นประจำ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งทางพันธุกรรม
     ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันโรคมะเร็งที่ได้ผลแน่ชัด ทำได้เพียงการเฝ้าระวัง สำรวจอาการผิดปกติของตัวเอง หรือเข้ารับการตรวจสุขภาพหรือการตรวจหามะเร็งในระยะแรกเริ่มเป็นประจำ นอกจากนี้ในอนาคตอันใกล้ยังสามารถตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งด้วยวิธี Preventive Genetic testing หรือการตรวจหาความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง โดยการรวบรวมยีนที่ผิดปกติของมะเร็งที่พบได้บ่อย (Common Cancers) เพื่อนำมาทดสอบกับผู้ที่ต้องการตรวจหาโรค


ที่มา : รพ.พญาไท, ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ความรู้มะเร็ง
การดูแลผู้ป่วย
การรักษามะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้