วันที่ 12-04-2019 | อ่าน : 1998
ข้อมูลจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยระบุว่า ปี 2560 ประเทศไทยมีประชากรสูงอายุ 11 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17 นับว่าเป็นตัวเลขที่น่าจับตามองได้เลยทีเดียว โดยประเทศไทยกำหนดนิยาม ผู้สูงอายุไว้ใน พ.ร.บ. ผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 มาตรา 3 หมายถึง บุคคลซึ่งอายุเกิน 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย ซึ่งสัดส่วนที่ใช้ในการแบ่งสังคมสูงวัยนั้น มีเกณฑ์การแบ่ง ดังนี้
1.สังคมสูงวัย (Aged Society) คือ สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด
2.สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society) คือ สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด
3.สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) คือ สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด
นับว่าเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ประเทศไทยกำลังเผชิญนั่นคือ ทำอย่างไร ให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพ แม้ว่าหลาย ๆ ฝ่าย จะมีมาตรการและนโยบายในระยะต่าง ๆ ที่จะแบ่งเบาและช่วยเหลือผู้สูงอายุก็ตาม แต่ท้ายที่สุดแล้วกลับพบว่า แต่ละคนต้องเตรียมตัวเองในเบื้องต้นก่อนที่จะรอความช่วยเหลือจากที่อื่น ๆ
นพ.บรรลุ ศิริพานิช ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย และในฐานะผู้สูงอายุแห่งชาติประจำปี 2562 จะมาบอกเล่าประสบการณ์การเตรียมความพร้อม ที่ทุกๆ คนสามารถวางแผนและตั้งตัวแต่เนิ่น ๆ ก่อนจะเข้าสู่สูงวัย โดยคุณหมอ เล่าว่า การจะเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ ต้องเตรียมตัวดี 4 ประการ ได้แก่ มีสุขภาพดี มีการทำงาน มีความมั่นคง และมีสิ่งแวดล้อมที่ดี
1.มีสุขภาพดี
2.มีการทำงานดี
3.มีความมั่นคงดี
4.มีสิ่งแวดล้อมที่ดี
นอกจากนี้ คุณตา คุณยาย เวลาอยู่เหงา ๆ ที่บ้าน ระหว่างคอยลูกหลานออกไปทำงานในช่วงกลางวัน ยังมีกิจกรรมสร้างสุขในชีวิตประจำวันที่นับว่าเป็นตัวช่วยในการสร้างเสริมเพื่อให้ผู้สูงอายุ พึ่งพาตนเองและใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข ดังนี้
1.กิจวัตรประจำวัน / การดูแลตนเอง
2.การทำงาน
3.กิจกรรมยามว่าง / นันทนาการ
คุณหมอบรรลุ ยังบอกอีกว่า การออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เป็นสิ่งที่สูงวัยต้องให้ความสำคัญ โดยส่วนตัวคุณหมอเป็นคนชอบออกกำลังกายและมีวิธีในการรับประทานอาหารที่เน้นผักและผลไม้ นี่คงเป็นเคล็ดลับที่ทำให้คุณหมอแข็งแรงและมีอายุถึง 94 ปี นับเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพอีกท่านหนึ่งนั่นเอง
“เราต้องเตรียมของเราเอง อย่าหวังเพิ่งคนอื่น เราต้องทำของเราเองให้ได้” คุณหมอบรรลุ กล่าวทิ้งท้าย แม้ว่าปัจจุบันจะถือว่า ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นผู้สูงอายุ แต่ในอนาคตอาจจะขยาย จาก 60 ปี เป็น 65 ปีก็เป็นได้ เนื่องจากมีกำลังและความสามารถที่หลากหลายอีกมากมาย จากการเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพนั่นเอง
ที่มา : สสส.
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้