20 วิธีที่ทำให้ชีวิตดีขึ้นและยืนยาวขึ้น

วันที่ 22-03-2019 | อ่าน : 1927


 

     การที่มีอายุมากและมีสุขภาพดีไม่ได้ดูกันที่จำนวนปีที่มีชีวิตอยู่เท่านั้นแต่ต้องดูถึงชีวิตที่มีอยู่ในปีเหล่านั้นด้วย  ซึ่งเป็นคำถามใหญ่ว่าจะทำอย่างไรจึงจะได้มาทั้งคู่

     จากงานวิจัยพบว่าโภชนาการและวิถีชีวิตอาจมีความสำคัญมากกว่าพันธุกรรมเสียอีก  ดังนั้น  สิ่งที่ต้องทำเพื่อปรับปรุงให้ชีวิตยืนยาวขึ้นมีอะไรบ้าง?  คำตอบคือ  ให้ทำทุกอย่างเพื่อให้มีสุขภาพดีเนื่องจากว่าการทำให้ชีวิตยืนยาวนั้นเป็นผลมาจากการที่ไม่มีความเจ็บไข้  การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงๆ

     กลเม็ด  20  ประการต่อไปนี้หลายข้อได้รับการรวบรวมจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์  ส่วยข้ออื่นๆก็เป็นเรื่องสามัญสำนึกธรรมดาๆนี่เอง บทสรุปก็คือว่าคุณต้องเอาจริงเอาจังเพื่อทำให้ร่างกายและจิตในแข็งแรงสมบูรณ์และยิ่งเริ่มต้นได้เร็วเท่าใดก็ยิ่งเป็นการดีเท่านั้น

1)  รับประทานผลไม้และผักมากๆ  สารอาหารที่เรียกว่าแอนติออกซิแดนท์  เช่น  ไวตามิน เอ,  ซี  และ  อี  และแคโรทีนอยด์ต่างๆ  เช่นบีท่า  แคโรทีน ฟลาโวนอยด์  ช่วยป้องกันโมเลกุลที่เป็นอันตรายที่เรียกว่า ฟรี  แร็ดดิคัล  การศึกษาเร็วๆนี้ในผู้ชราที่มีอายุ 100 ปี พบว่าคนเหล่านี้มีระดับสารแอนติออกซิแดนท์ในเลือดสูงกว่าปกติ ส่วนมากเป็นเพราะรับประทานผักและผลไม้มากกว่าคนสูงอายุอื่นและคนวัยกลางคนอยู่หลายเท่า

2)  ควบคุมน้ำตาลในเลือด  ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความโน้มเอียงที่จะเสียชีวิตเนื่องจากโรคหัวใจมากผู้ป่วยเป็นโรคนี้อย่างไรก็ตาม  ในการศึกษาเร็วๆนี้พบว่าผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดมากที่สุดมีความเสี่ยงต่อโรคหับใจพิบัติ  เพื่อที่จะรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ลดน้ำตาลที่อยู่ในอาหารและคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีลง  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น  อาหารเสริมอัลฟ่าไลโปอิคแอซิด, ไซลีมาริน (ซึ่งได้จากสมุนไพรมิลค์ธิสเซิ่ล) โสมอเมริกัน (Panax quinquefolium)  ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เช่นกัน

3)  ดื่มน้ำมากๆ  น้ำหนักตัวส่วนมากของเรานั้นเป็นน้ำ  ดังนั้นจึงมีความสำคัญที่จะทำให้ร่างกายมีน้ำอย่างเพียงพอ  ให้ดื่มน้ำผ่านการกรองหรือน้ำชนิดขวดวันละมากๆ  หลีกเลี่ยงกาแฟ (และเครื่องดื่มอื่นๆที่มีคาแฟอีนสูง) และแอลกอฮอล์  ซึ่งล้านแต่เป็นยาขับปัสสาวะและทำให้ร่างกายขาดน้ำได้

4)  รักษารูปร่าง  การมีน้ำหนักเกินพิกัดจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและโรคหัวใจ ซึ่งทำให้อายุสั้นลง  น้ำหนักส่วนเกินทำให้ข้อต่อต่างๆรับแรงกดมากขึ้น  ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกอักเสบและพิการ

5)  รักษาระดับความดันโลหิต  เมื่ออายุมากขึ้น  ผนังเส้นเลือดจะต้องสูญเสียความยืดหยุ่นไปบ้างแล้วอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น  คุณอาจลดความดันโลหิตลงได้ด้วยการใช้ไวตามิน ซีเป็นอาหารเสริม(วันละ 500 ม.ก.)และรับประทานอาหารที่มีน้ำมันมะกอกมากๆการได้รับเกลือมากเกินไปและได้รับปอแตสเซียมน้อยเกินไปอาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้  จึงมีความสำคัญที่จะต้องรักษาสัดส่วนระหว่างปอแตสเซียมกับโซเดียมเอาไว้ซึ่งคุณสามารถทำได้โดยรับประทานผักสดมากๆ  และลดโซเดียมส่วนเกินลง  ซึ่งมีอยู่ในอาหารสำเร็จรูปหลายชนิด

6)  ดูแลให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง  ระบบภูมิคุ้มกันที่ดีช่วยจับและทำลายเซลผิดปกติที่คล้ายมะเร็งก่อนที่เซลเหล่านี้จะอยู่นอกเหนือการควบคุม  สารแอนติออกซิแดนท์ที่ช่วยให้กลูตาไธโอนสูงขึ้น (ซึ่งสำคัญในการหายใจของเซลล์)  อย่างเช่น เอ็น-อะ-เซ็ททิลซิสเตอีน หรือ NAC, กรดอัลฟ่า ไลโปอิค และไวตามิน ซีล้วนเป็นสารอาหารที่สำคัญ นอกจากนี้ คุณอาจลองใช้หนังอ่อนๆที่หุ้มเข้ากวางก็ได้  ซึ่งสิ่งนี้เต็มไปด้วยสารอาหารต่างๆอย่างเช่นกลูโคซามีน,  คอนดรออิทิน (chondroitin) อินซูลินที่มีลักษณะคล้ายโกร๊ธแฟตเตอร์,  กรดอะมิโนต่างๆ  และสารต่อต้านการอักเสบ  ซึ่งอาหารเสริมที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัวนี้แสดงให้เห็นว่าช่วยทำให้อ่อนเยาว์ได้

7)  รับประทานไวตามินเป็นอาหารเสริม  การศึกษาทางวิทยาศาสตร์หลายพันครั้งชี้ให้เห็นถึงผลดีของอาหารเสริมไวตามินที่ต่อสู้โรคภัยและต่อสู้กับความแก่ชราตัวอย่างเช่นไวตามิน อี ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและมะเร็ง  ซึ่งเป็นสามเหตุใหญ่สองประการของการเสียชีวิตลงได้  การรับประทานไวตามิน ซี เป็นอาหารเสริมในปริมาณสูงก็มีความสัมพันธ์กับการทีอายุยืนเป็นอย่างมาก  ฟอลิคแอซิด และไวตามิน บี อื่นๆช่วยซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้นกับดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นรากฐานในความชราได้  หากคุณต้องการทำให้ง่ายๆแล้ว ก็ให้รับประทานไวตามินรวมชนิดปริมาณสูงเป็นอาหารเสริมทุกวัน  โดยแยกรับประทานเกลือแร่เสริมในมื้ออื่น

8)  พักผ่อนให้เพียงพอ  จากการสำรวจโดยมูลนิธิ National Sleep Foundation ในกรุงวอชิงตัน ดีซี พบว่าชาวอเมริกันเกือบสองในสามไม่ได้นอนหลับถึง 8 ชั่วโมงตามคำแนะนำ การนอนหลับน้อยลงทำให้เวลาที่ร่างกายใช้ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและเสียไปในวันก่อนๆมีน้อยลงแล้วยังมีผลต่อความคิดและการขับรถยนต์ ซึ่งทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ขึ้นได้

9)  หยุดยั้งนิสัยที่ไม่ดี  การสูบบุหรี่  หรือหายใจเอาควันบุหรี่ที่คนอื่นสูบเข้าไปเป็นการทำร้ายร่างกายของคุณเอง เช่นเดียวกับการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป  นอกจากนี้  ทั้งสองอย่างยังไปทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่ต้องการสำหรับสุขภาพที่ต้องการสำหรับสุขภาพลงไปและโภชนาการกับอาหารเสริมที่ดีจะไม่ปกป้องคุณได้อย่างเต็มที่  พูดอีกอย่างก็คือ  ให้หยุดสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด

10)  คอยให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างครอบครัว และ/หรือเพื่อนฝูง  สำคัญอย่างยิ่งที่จะมีความรู้สึกเป็นเจ้าของและมีคนคอยเป็นห่วงคุณอยู่ ดังนั้นจงมีส่วนร่วมกับสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อฝูง  แต่ต้องทำให้การเข้าสังคมกับการใช้เวลาคิดสร้างสรรค์อย่างเงียบๆของตนเองสมดุลกัน

11)  สำหรับผู้ชาย  ให้แต่งงาน  โดยทั่วไปผู้ชายที่แต่งงานมีสุขภาพดีกว่าและมีอายุยืนยาวกว่าผู้ที่หย่าร้างมีแนวโน้มที่จะสูบบุหรี่,  ดื่มสุรา.  รับประทานอาหารไม่ดี, เกิดโรคอัลไซเมอร์ส,  ฆ่าตัวตายหรือเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรด้วยสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง

12)  สัมผัสและรับการสัมผัส  มีบางอย่างซึ่งเป็นเรื่องพื้นๆเกี่ยวกับการสัมผัสทางร่างกาย มันทำให้คุณรู้สึกดีการทดลองในสัตว์พวกลิงแสดงให้เห็นว่าการสัมผัสในช่วงที่เป็นทารกทำให้เกิดพฤติกรรมที่ผิดปกติขึ้นเมื่อเติบโตขึ้นมา  การสัมผัสนั้นมีหลายหลากมากมาย ทั้งการกอด, รัด, นวดและการมีเพศสัมพันธ์ อีกอย่างหนึ่งการมีเพศสัมพันธ์ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันสูงขึ้น

13)  เรียนรู้ที่จะรับมือกับความเครียด  เกือบทุกคนดูเหมือนจะมีความเครียดเมื่อทำงานหนักมากเกินไปหรือมีเวลาไม่เพียงพอ  เมื่อรู้สึกเครียด ให้หยุดและหายใจลึกๆสัก 4 ครั้ง การเปลี่ยนวิธีการหายใจ แม้จะเป็นช่วงสั้นๆก็ทำให้ความเครียดลดลงได้อีกอย่างก็คือ อย่านำพฤติกรรมหยาบคายของคนอื่นมาคิดเป็นเรื่องส่วนตัว

14)  มองโลกในแง่ดี อย่ามองในแง่ร้าย  ทัศนคติของเราที่มีต่อโลกรอบข้างมีอิทธิพลอย่างแรงกล้าต่อสุขภาพของร่างกาย แค่ความหดหู่ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจแล้ว การมองโลกในแง่ร้ายยิ่งทำให้มีเมฆหมอกปกคลุมทุกสิ่งไปหมด แน่นอนที่ชีวิตต้องมีการหักเหมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องตกงาน, หย่าร้างและอื่นๆ แต่ก็เต็มไปด้วยโอกาสดีๆมากมายอยู่เช่นกันหากคุณมีทัศนคติที่มั่นคงแล้วคุณจะมีความพร้อมที่คอยกุมโอกาสงามๆเหล่านั้นไว้ได้

15)  ใช้ความคิดของคุณ  ผู้เชียวชาญด้านโรคอัลไซเมอร์สหลายคนเชื่อว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความฉลาด “สำรอง” เอาไว้เมื่อยังอยู่ในวัยหนุ่มสาวและวัยกลางคน ไม่มีคำว่าสายเกินไปที่จะเพิ่มพูนความรู้ ให้อ่าน, ฟัง, เดินทาง, เข้าชั้นเรียน และคอยเรียนรู้ และท้าทายตนเองอยู่เสมอๆ การใช้กิงโก้และโสมเป็นอาหารเสริมช่วยทำให้ความจำดีขึ้น

16)  หัวเราะ  การหัวเราะก็คือความสนุกสนานและยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีระได้อย่างน่าพิศวงมาก การหัวเราะที่ดีทำให้การหายใจเพิ่มขึ้น มีโลหิตไหลเวียนไปเลี้ยงสมองและระบบภูมิคุ้มกันในขณะที่ลดความเครียดลง ให้หาโอกาสทำอะไรไม่เป็นสาระเล็กๆน้อยๆบ้างในชีวิตประจำวันและเรียนรู้ที่จะหัวเราะเยาะตนเองบ้าง

17)  เดินเล่นทุกวัน  การศึกษาหลายครั้งแสดงให้เห็นว่า  แค่การเดินเล่นก็ช่วยเผาผลาญน้ำตาลในเลือดได้ช่วยลดโอกาสที่จะมีนำหนักตัวเพิ่มขึ้นก่อโรคหัวใจในภายหลังการออกกำลังกายเป็นประจำยังช่วยบรรเทาอาการหดหู่ให้เดินอย่างเร็วเวลาไปรับประทานอาหารกลางวันหรือหลังจากเสร็จจากอาหารเย็นแล้ว

18)  คอยรักษากล้ามเนื้อเอาไว้  เมื่อมีอายุมากขึ้นคุณก็จะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อไปด้วย แต่สามารถชะลอสิ่งที่ว่านี้ได้โดยการออกกำลังที่ใช้แรงต่อต้าน เช่นการถือตุ้มน้ำหนักเล็กๆเอาไว้ขณะเดินกล้ามเนื้อช่วยค้ำจุนกระดูกและช่วยลดความเสี่ยงต่อกระดูกหักแล้วยังช่วยเผาผลาญน้ำตาลทำให้ลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานลงด้วย

19)  จำกัดเวลาที่อยู่ใต้แสงอาทิตย์  คุณต้องการแสงแดดเล็กน้อย อาจจะวันละ 15 นาที เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายได้สร้างไวตามิน ดี ซึ่งทำให้กระดูกแข็งแรงและลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนอย่างไรก็ตาม การได้รับแสงแดดมากเกินไปก็ทำให้โปรตีนคอลลาเจนและอีลาสตินที่ประกอบเป็นผิวหนังถูกทำลายไปทำให้บางลงและเกิดรอยเหี่ยวย่นขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น การได้รับรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต (UV) จากแสงอาทิตย์มากเกินไปยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นต่อกระจกและแม็คคูล่าเสื่อมซึ่งเป็นสาเหตุใหญ่สองอย่างที่ทำให้ตาบอด ให้ทายากันแสงแดด, สวมแว่นกันแดดที่กันแสงอัลตร้าไวโอเล็ต และสวมหมวก หากต้องอยู่กลางแสงแดดนานๆ

20)  จงมีความเชื่อ  ความมีอายุยืนยาวมักมีความสัมพันธ์กับความเชื่ออย่างแรงกล้าทางศาสนา จิตวิญญาณอาจช่วยทำให้คุณมีความสงบมากขึ้น หรืออาจเป็นเพราะผู้ที่เชื่อมั่นในศาสนาดูแลตัวเองได้ดีกว่า, มีผู้คนช่วยสนับสนุนผ่านชุมชนในโบสถ์และมีแนวโน้มที่จุสูบบุหรี่น้อยกว่า

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อาหารผู้ป่วยมะเร็ง
การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้