วันที่ 11-03-2019 | อ่าน : 3292
โดย รศ.พญ.สุพัตรา แสงรุจิ
การฉายรังสีช่วยให้ ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลงหรือฝ่อหายไป ลดอาการเจ็บปวด ลดอาการเลือดคั่ง, เลือดออกมาก ลดอาการกดทับหรือกดรัดอวัยวะ ลดอาการอุดตันอวัยวะ
ฉายรังสีบริเวณศีรษะส่วนบน
ใช้รักษา มะเร็งสมอง มะเร็งเยื่อหุ้มสมอง มะเร็งกระจายไปสมอง อาการไม่พึงประสงค์ของการฉายรังศีรษะส่วนบน
อาการที่พบบ่อย คือ ปวดหัว อาเจียน ผมร่วง มีการป้องกันและรักษาดังนี้ :
-แพทย์จะให้ยาป้องกันตั้งแต่แรก
-ปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้กรณีที่ยังไม่ได้ให้
-รับยาลดอาการสมองบวม แก้ปวดหัวและอาเจียน
-ผมร่วงยังไม่มียาป้องกัน แต่หลังฉายรังสีครบผมจะงอกมาใหม่ ให้นวดเบาๆ ด้วยน้ำมันมะกอก
ฉายรังสีบริเวณศีรษะส่วนล่าง ช่องปากและลำคอ
ใช้รักษาหลายมะเร็ง ได้แก่ มะเร็งในโพรงหลังจมูก มะเร็งโพรงแก้ม โพรงจมูก มะเร็งช่องลำคอ มะเร็งช่องปาก มะเร็งริมฝีปาก มะเร็งช่องหู มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งหลอดอาหารส่วนต้น มะเร็งผิวหนัง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งกระจายไปกระดูกคอ มะเร็งกระจายไปกดไขสันหลังบริเวณกระดูกคอ
อาการไม่พึงประสงค์การฉายรังสีบริเวณศีรษะส่วนล่าง ช่องปากและลำคอ
-ผิวแห้ง ดำ (เซลล์ผิวหนังชั้นบนที่ตายแห้ง คือ ขี้ไคล)
-ผิวหนังพอง เป็นแผล (เกิดจากการเสียดสี)
-ปากเปื่อย เจ็บปาก เจ็บคอ กลืนลำบาก
-เสมหะมาก น้ำลายเหนียว
การป้องกันอาการไม่พึงประสงค์เมื่อฉายรังสีบริเวณศีรษะส่วนล่าง ช่องปากและลำคอ
-ทาครีมบำรุงผิวชนิดไม่ระคายเคืองผิวที่ไม่มีโลหะผสม
-ระหว่างฉายรังสีให้ใส่เสื้อผ้าเนื้อนุ่ม หลวม คอกว้าง แขนกว้าง
-บ้วนปากหลังอาหารทุกครั้ง แปรงด้วยแปรงสีฟันนุ่มที่สุด หรืออาจใช้นิ้วถู บ้วนน้ำเกลือ
-หลังแปรงฟันครั้งสุดท้ายก่อนนอนให้อมน้ำมันงาหรือน้ำมันมะพร้าว 2-3 ช้อนชา กลั้วปากประมาณ 5 นาที แล้วบ้วนทิ้ง
-ดื่มน้ำสะอาดวันละ 8-10 แก้ว
การดูแลแผลหนังเปิดระหว่างการฉายรังสี
-พักฉายรังสีชั่วคราว
-ทำแผลโดยใช้สำลีจุ่มน้ำเกลือ ซับรอบแผลเบาๆ
-หยอดน้ำเกลือล้างในแผล
-หากแพทย์สั่งยาใส่แผลให้ ให้หยอดยาลงในแผลเกลี่ยเบาๆ
-ปิดแผลด้วยผ้าตาข่ายเคลือบล่อน
-ปิดทับด้วยผ้าก๊อชปลอดเชื้อ
-ยึดผ้าก๊อชด้วยพลาสเตอร์ ติดกับผิวหนังนอกบริเวณฉายรังสี
-ทำแผลวันละ 1-2 ครั้ง
การดูแลอาการ ปากเปื่อย เจ็บปาก เจ็บคอ
-ให้ยาแก้ปวด
-ให้ยาบำรุงเยื่อบุปาก
-อมยมชาก่อนรับประทานอาหาร
การดูแลอาการกลืนอาหารลำบาก
-ให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่ายหรืออาหารเหลวครบ 5 หมู่
-หากรับประทานทางปากไม่ได้ ให้สอดหลอดให้อาหารเหลวทางจมูกลงกระเพาะ
-หรือทำการผ่าตัดสอดท่อให้อาหารเหลวผ่านหน้าท้องสู่กระเพาะอาหาร
-หรือให้อาหารผ่านทางหลอดเลือดดำ
ฉายรังสีบริเวณช่องอก
ใช้รักษา มะเร็งเต้านม มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งปอด มะเร็งกระจายไปปอด มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองในช่องกลางอก มะเร็งกระจายไปกระดูกซี่โครงและกระดูกสันหลัง มะเร็งกระจายไปกดไขสันหลัง มะเร็งกระดูกสันหลัง มะเร็งหรือเนื้องอกไขสันหลัง
อาการไม่พึงประสงค์การฉายรังสีบริเวณช่องอก
-ผิวแห้ง ดำ
-ผิวหนังพอง เป็นแผล อักเสบ ไข้
-กลืนอาหารเจ็บกลางอก
การรักษา :
-พบแพทย์ให้ยาตามอาการ
-การรักษาอื่นๆ เหมือนการฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำคอ
ฉายรังสีบริเวณช่องท้อง
ใช้รักษา มะเร็งหลอดอาหารส่วนล่าง มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับอ่อน มะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง มะเร็งไต กรวยไต ท่อไต มะเร็งกระดูกเอว มะเร็งกระจายไปกระดูกเอว มะเร็งไขสันหลัง มะเร็งกระจายไปไขสันหลัง
อาการไม่พึงประสงค์การฉายรังสีบริเวณช่องท้อง
-ผิวแห้ง ดำ
-คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
-ปวดท้อง
การรักษา :
-พบแพทย์ให้ยาตามอาการ
-ให้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ยาเจริญอาหาร ยาแก้ปวดท้อง ลดกรด ช่วยย่อย ขับลม
ฉายรังสีบริเวณช่องเชิงกราน
-มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด
-มะเร็งมดลูก
-มะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย
-มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
-มะเร็งต่อมลูกหมาก
อาการไม่พึงประสงค์การฉายรังสีบริเวณช่องเชิงกราน
-ผิวแห้ง ดำ
-ปัสสาวะแสบ
-ท้องเสีย ปวดท้อง
-ก้นเปื่อยอักเสบ
-ช่องปัสสาวะอักเสบ
การรักษา :
-พบแพทย์ให้ยาตามอาการ
-ให้ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้อักเสบ ยาแก้ท้องเสีย ยาทาแผล
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้