เห็ดทางการแพทย์ กับการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

วันที่ 06-03-2019 | อ่าน : 3089


    เมื่อเห็นชื่อเรื่อง หลายคนคงกำลังสงสัยว่า “เห็ดทางการแพทย์”  คืออะไร และมีบทบาทสำคัญอย่างไรกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

    เห็ดทางการแพทย์ (Medicinal Mushrooms) หมายถึง เห็ดที่มีคุณสมบัติในการป้องกันและบำบัดโรค ซึ่งถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์ นอกเหนือจากคุณค่าทางโภชนาการ โดยมีสารที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงหลอดเลือด ต่อต้านกระบวนการอักเสบในร่างกาย โดยเห็ดทางการแพทย์ บางชนิดค่อนข้างหายาก จึงมีราคาสูงมาก

    สาระสำคัญที่พบในเห็ดทางการแพทย์ ได้แก่ สารประกอบโพลีแซ็คคาไรด์ ไกลโคโปรตีน เลคติน และเทอร์ปีนอยด์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า สารประกอบในกลุ่มโพลีแซ็คคาไรด์ ทำหน้าที่หลักในการช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เมื่อระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็เหมือนกับเป็นการเสริมสร้างเกราะป้องกันร่างกายให้แข็งแรง ส่งผลให้ลดความเสี่ยงในการเกิดโรค เช่น โรคติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ และโรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้

    มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จำนวนมาก ที่แสดงถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเห็ดทางการแพทย์ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ทำให้ปัจจุบันเห็ดทางการแพทย์หลายชนิด ถูกนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อส่งเสริมสุขภาพและใช้เป็นยารักษาโรค เช่น เห็ดยามาบูชิตาเกะ (เห็ดปุยฝ้าย) เห็ดชิตาเกะ (เห็ดหอม) เห็ดไมตาเกะ เห็ดหลินจือ และเห็ดฮิเมะ มัตสึทาเกะ เป็นต้น

    ดังนั้น เห็ดทางการแพทย์ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ร่วมกับการพักผ่อนให้เพียงพอและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

 

ที่มาโดย  ดร.เอกราช  บำรุงพิชน์  ( จุลสารชมรม  โภชนวิทยามหิดล  ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 กันยายน  -  ธันวาคม  2553 )

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อาหารผู้ป่วยมะเร็ง
การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้