ความผิดพลาด 10 ข้อ เมื่อรับประทานผัก

วันที่ 27-02-2019 | อ่าน : 6956


 

     เรารับประทานผักมากมายเป็นอาหารในชีวิตประจำวัน  ผักให้วิตามินและเกลือแร่ต่างๆ ซึ่งจำเป็นต่อร่างกาย แต่การรับประทานผักก็มีข้อต้องระมัดระวัง มิเช่นนั้น สารอาหารที่ควรจะได้กลับไม่ได้ กินไปก็สูญเปล่า

ความผิดพลาด ข้อที่ 1 -- หั่นผักก่อนล้าง :  
     ผักอุดมสารอาหารซึ่งละลายในน้ำ เมื่อผักถูกหั่นแล้วไปล้าง สารอาหารจำนวนมากจะสลายไปกับน้ำ เมื่อเรารับประทานผักก็ไม่ได้รับสารอาหารที่ต้องการ ดังนั้น วิธีที่ถูกต้อง คือ ต้องล้างผักก่อนหั่น

ความผิดพลาด ข้อที่ 2 -- คั้นน้ำผักออกมาทำอาหาร :
     อาหารบางอย่างต้องผสมน้ำคั้นจากผัก แต่การคั้นน้ำผักแบบนี้ทำให้สูญเสียวิตามินที่มีอยู่ในผักออกไปถึง 70% และแน่นอนว่าแร่ธาตุที่มีประโยชน์ก็หายไปด้วย วิธีการที่ถูกต้องสับแล้วคลุกส่วนผสมให้เข้ากัน อาทิ สมมุติว่าทำไส้เกี๊ยวหรือไส้ซาลาเปา ก็ให้สับผักรวมกับส่วนผสมอื่น แล้วคนให้เข้ากันเพื่อให้น้ำจากผักแทรกซึมเข้ากับส่วนผสมอื่น วิธีนี้นอกจากช่วยให้อาหารอร่อยขึ้นแล้ว ยังช่วยรักษาสารอาหารให้คงอยู่ด้วย

ความผิดพลาด ข้อที่  3 -- ผักที่ปรุงนาน  :
     เกลือไนเตรทที่ปลอดสารพิษในผักจะถูกลดทอนเป็นไนไตรท์  ซึ่งไนไตรท์สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพของเหล็กในฮีโมโกลบิน ที่เรียกว่า methemoglobin ซึ่งจะทำให้ฮีโมโกลบิน นั้นไม่สามารถจะนำออกซิเจน ไปส่งตามเนื้อเยื่อต่างๆ ได้ ถ้ามีภาวะร้ายแรง จะทำให้เล็บ ริมฝีปาก หรือกระทั่งทั่วร่างกาย เขียวช้ำ หายใจหอบถี่ และอาการอื่นๆ ดังนั้น เพื่อสุขภาพของตนเอง ควรต้องกินผักสด

 ความผิดพลาด ข้อที่ 4 -- การแช่เย็นที่ไม่เหมาะสม  :
     ผักสดส่วนใหญ่เหมาะสมสำหรับเก็บในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 3℃-10℃ แต่แตงกวาไม่สามารถเก็บในอุณหภูมิต่ำกว่า 10℃ ได้ หากแช่เย็นที่อุณหภูมิประมาณ 4℃ สีของแตงกวาจะดำ เนื้อแตงกว่าจะนิ่ม เมื่อหั่นดูแล้วจะเห็นมีน้ำเมือกใสไหลออกมา ซึ่งนั่นจะทำให้รสชาดของแตงกวาสูญเสียไป

ความผิดพลาด ข้อที่ 5 -- กินผักสด :
     มีผักบางชนิดสะสมสารพิษไว้ จึงไม่สามารถรับประทานแบบสดได้ จำเป็นต้องผ่านความร้อนเพื่อให้สุกก่อนจึงจะทำลายสารพิษที่สะสมไว้ได้หมด อาทิ ถั่วแขก ถั่วลันเตา ถั่วงอก เป็นต้น ส่วนผักที่สามารถกินสดต้องเป็นผักที่ไม่สะสมสารพิษ ไม่มีสารปนเปื้อน อาทิ หัวไชเท้า มะเขือเทศ แตงกวา เป็นต้น เนื่องจากผักในท้องตลาดส่วนใหญ่ถูกฉีดพ่นด้วยยากำจัดศัตรูพืช  การกินผักประเภทนี้แบบสดจะมีผลเสียต่อสุขภาพ ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรกินผักสด แม้ว่าผักชนิดนั้นจะกินสดได้ก็ตาม

ความผิดพลาด ข้อที่ 6  -- ผ่านความร้อนนาน :
     ในผักมีวิตามินซี ซึ่งง่ายต่อการสลายตัวเมื่อผ่านความร้อน จึงไม่ควรผ่านความร้อนนาน ผักเหล่านี้แม้ผ่านความร้อนอย่างรวดเร็วก็เสียคุณค่าทางโภชนาการได้ ดังนั้น หากยิ่งผ่านความร้อนนาน วิตามินซีอาจยิ่งน้อยลงไป

 ความผิดพลาด ข้อที่ 7 -- ผัดผักทิ้งไว้ข้ามวันข้ามคืน :
     ผักทำผัดเสร็จวางทิ้งไว้ 15 นาที วิตามินซีลดลง 20% เมื่อวางทิ้งไว้ 30 นาที จะสูญเสียวิตามินซีไป 30% หากวางทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง วิตามินจะสูญเสียไป 50% ผัดผักที่ทิ้งไว้ข้ามวันข้ามคืนยิ่งเสียคุณค่า กินเข้าไปมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคอาหารเป็นพิษ ที่ดีที่สุด คือ ผัดเดี่ยวนั้นกินเดี่ยวนั้น จึงจะถูกสุขอนามัยและได้คุณค่าทางอาหาร

 ความผิดพลาด ข้อที่ 8 -- ใช้น้ำมันมาก  :
     คนจำนวนไม่น้อยคิดว่า การผัดผักด้วยน้ำมันน้อยจะไม่อร่อย จึงต้องใช้น้ำมันมากๆ แต่ทั้งน้ำมันพืชและน้ำมันจากสัตว์ ล้วนให้พลังงาน 9,000 แคลอรี ต่อน้ำมัน 1 กรัม ปริมาณมากเกินไปทำให้เกิดโรคอ้วน หรือไขมันในเลือดสูง ดังนั้น ควรใช้น้ำมันแต่พอดี รับประทานน้ำมันได้ 25 กรัม ต่อคนต่อวัน ไม่ควรเกิน 30 กรัม

ความผิดพลาด ข้อที่ 9  -- ผัดผักกินแต่ผักไม่กินน้ำ  :
     เมื่อผัดผัก ประมาณ 30%-70% ของวิตามินซีและสารอาหารจะละลายไปอยู่กับน้ำผักที่ออกมา ดังนั้นเพื่อให้ได้ประโยชน์เต็มที่ควรรับประทานทั้งผักและน้ำผัดผัก แต่หากกลัวสารพิษเจือปน แนะนำให้ก่อนทำอาหารให้นำผักไปลวกน้ำร้อนก่อน 1 รอบ เพื่อชะล้างกรดออกซาลิค ไนไตรท์ และสารกำจัดศัตรูพืช ออกไป แล้วค่อยผัดด้วยน้ำมันและเกลือเพียงเล็กน้อย น้ำซุปในผัดผักก็ปลอดสารพิษแล้ว

ความผิดพลาด ข้อที่ 10 -- กินมากเกินไป  :
     ผักสดไม่ควรกินมากเกินไป เนื่องจากผักสดมากเกินไปย่อยยาก โดยเฉพาะหน่อไม้ คึ่นไช่ ถั่วปากอ้า เป็นต้น ซึ่งอุดมด้วยเซลลูโลสซึ่งเป็นกากใยอาหาร หากกินมากสำหรับผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้แล้ว จะชักนำให้โรคกำเริบ และยังทำให้ผู้ป่วยตับแข็งมีเลือดออกในกระเพาะหรือหลอดอาหารได้ อีกทั้งเซลลูโลสจำนวนมาก ยังมีผลยับยั้งการดูดซึมแคลเซียมและสังกะสีด้วย

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อาหารผู้ป่วยมะเร็ง
การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้