เราฝากชีวิตไว้กับยาฆ่ามะเร็งได้หรือไม่

วันที่ 18-02-2019 | อ่าน : 1860


     ในการรักษาโรคมะเร็งนั้น ยาฆ่ามะเร็งน่ากลัว การฉายแสงก็น่ากลัว หรือแม้แต่จะผ่าตัดก็ไม่หาย ผู้คนทั่วไปอาจมีความรู้สึกคล้าย ๆ กันนี้ แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วมีหลายกรณีทีเดียวที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การใช้ยาฆ่ามะเร็ง , การฉายแสงและการผ่าตัดนั้นมีรายงานว่าเปอร์เซ็นต์การอยู่รอดได้สูงถึง 5 ปี (อัตราการหายขาดที่วิเคราะห์ในทางการแพทย์) ซึ่งขึ้นอยู่กับบริเวณที่เป็นโรคมะเร็ง

     แต่ว่าเมื่อวิเคราะห์โดยรวมแล้ว เปอร์เซ็นต์ความสำเร็จในการรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด  ในระยะหลังนี้เริ่มมีการยอมรับกันว่าการกำจัดมะเร็งด้วยวิธีการเหล่านี้สร้างความเสียหายให้กับร่างกายและแม้แต่ชีวิตของคนไข้อย่างใหญ่หลวง

อันดับแรกคือยาฆ่ามะเร็ง
     ยาฆ่ามะเร็งนั้นอธิบายคร่าว ๆ ก็คือยาที่ออกฤทธิ์ในช่วงเวลาที่เซลล์แตกตัว  แล้วมีผลทำให้เซลล์มะเร็งตายลงนั่นเอง เซลล์มะเร็งมีลักษณะที่สามารถแตกตัวและเพิ่มจำนวนได้อย่างมากมายในเวลาอันสั้น  จึงนำเอาคุณลักษณะนี้มาใช้ในการฆ่าเซลล์มะเร็งและทำให้เนื้องอกหดตัวลง

     แต่อย่างที่ทราบกันว่า ภายในร่างกายของคนเราไม่ได้มีแต่เซลล์มะเร็งที่แตกตัวและเพิ่มจำนวนเท่านั้น  แต่ยังมีเซลล์อื่น ๆ นอกเหนือจากเซลล์ปกติและเซลล์สมองที่แตกตัวออกและผลัดเปลี่ยนเซลล์อยู่ตลอดเวลา

     เซลล์ที่ประกอบขึ้นเป็นร่างกายมนุษย์มีอยู่ประมาณ 60 ล้านล้านเซลล์ โดยส่วนใหญ่จะถูกแทนที่ด้วยเซลล์ที่เกิดขึ้นใหม่ในรอบเวลา 3 เดือน ยาฆ่ามะเร็งเป็นยาที่ออกฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์ ซึ่งยานี้ก็ออกฤทธิ์กับเซลล์ปกติด้วย เพราะในจำนวนเซลล์ปกติจะมีเซลล์ที่การแบ่งตัวเป็นไปอย่างรวดเร็ว อาทิ เซลล์ผนังกระเพาะและลำไส้ เซลล์รากขน  รวมถึงเซลล์ภูมิคุ้มกัน (เม็ดเลือดขาว) เซลล์ปกติเหล่านี้จะได้รับความเสียหายจากผลข้างเคียงของยาฆ่ามะเร็งนี้ไปด้วย จึงทำให้เกิดผลข้างเคียงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ผมร่วง กระเพาะและลำไส้ย่อยไม่ดี เบื่ออาหาร ภูมิต้านทานลดลงทำให้ติดเชื้อง่าย เป็นต้น

     สมดุลของฤทธิ์ยาและผลข้างเคียงเป็นปัญหาที่ไม่สามารถมองข้ามได้เหมือนกับยารักษาโรคอื่น เช่น  เวลาที่เราปวดศีรษะหรือปวดฟันเราจะทานยาระงับอาการได้โดยง่าย และมักไม่คำนึงถึงผลข้างเคียงที่จะตามมา ยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาแม้มีคำอธิบายถึงผลข้างเคียงเอาไว้ แต่เรามักไม่ใส่ใจเพราะเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย

     แต่ในกรณีของยาฆ่ามะเร็ง เราจะต้องให้ความสำคัญต่อคำว่า “ผลข้างเคียง” เป็นอย่างมาก ยาฆ่ามะเร็งมีผลดีที่ช่วยฆ่าเซลล์มะเร็ง แต่มีผลข้างเคียงด้วยเช่นกัน ผลข้างเคียงของยาฆ่ามะเร็งไม่ได้มีเพียงแค่นำความเจ็บปวดทรมานมาให้เท่านั้น แต่มีไม่น้อยที่สร้างความสูญเสียให้กับพลังของชีวิตทั่วร่างกายอีกด้วย กล่าวโดยสรุปคือ ผลข้างเคียงนี้จะก่อให้เกิดผลเสียกับระบบการดูดซึมและย่อยอาหาร สร้างความเสียหายให้กับภูมิคุ้มกันที่สำคัญกับการมีชีวิตอยู่ ในขณะเดียวกันประสิทธิภาพในการฆ่าเซลล์มะเร็งก็ยังไม่แน่นอนเสมอไป ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดคือ นอกจากเซลล์มะเร็งจะไม่ลดลง (ก้อนเนื้องอกไม่ฝ่อหรือไม่สามารถป้องกันการลุกลามได้) แล้วก็ยังส่งผลเสียอย่างรุนแรงต่อชีวิตอีกด้วย

     เมื่อคำนึงถึงผลเสียดังกล่าวนี้แล้ว จึงมีการทบทวนถึงการให้ยาฆ่ามะเร็งเป็นปริมาณในการรักษา เริ่มทดลองการรักษาด้วยเคมีบำบัดซึ่งควบคุมผลเสียที่เกิดจากยา เป็นการรักษาโดยให้ยาฆ่ามะเร็งที่ออกฤทธิ์กับเซลล์อย่างมีประสิทธิภาพโดยให้เกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด ซึ่งวงการแพทย์ต้องวิจัยและพัฒนาต่อไป

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
ความรู้มะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้