วันที่ 14-02-2019 | อ่าน : 10923
คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
1. อนุญาตให้ผู้ป่วยรับประทานเท่าที่จะรับประทานได้ ไม่ควรบังคับให้รับประทาน
2. ควรรับประทานในแต่ละมื้อให้มีปริมาณน้อย แต่จัดให้รับประทานบ่อยๆ
3. จัดอาหารที่ให้พลังงานสูง และง่ายต่อการรับประทาน
4. หลีกเลี่ยงอาหารมัน อาหารรสจัดจากเครื่องเทศและซอสปรุงรส
5. จัดเครื่องดื่มเหลวใสและเย็นให้ผู้ป่วย
6. จัดอาหารที่อุณหภูมิห้อง หรือแช่เย็นเพื่อลดการกระตุ้นภาวะคลื่นไส้ อาเจียน
7. ถ้าผู้ป่วยท้องเสียควรจัดอาหารอ่อนให้รับประทาน และหลีกเลี่ยงธัญพืช ถั่ว ผักสด ผลไม้ เพื่อลดการเกิดแก๊ส
8. ควรจัดโต๊ะอาหารให้สวยงามน่ารับประทาน ดึงดูดใจ ควรใจสีสันของอาหารและดอกไม้เป็นสิ่งกระตุ้น
9. หากผู้ป่วยรับประทานอาหารไม่ได้จำเป็นต้องให้อาหารทางสายยาง
คำแนะนำการให้อาหารทางสายยาง
เวลา
6.00 น. อาหารเสริมทางการแพทย์ อาทิ นมเอนชัวร์, นีโอมูน 250 ซีซี ( 1 แก้ว)
8.00 น. อาหารปั่น 250 ซีซี
10.00 น. น้ำปั่น ฝักหรือผลไม้ 1 แก้ว
12.00 น. อาหารปั่น 250 ซีซี
14.00 น. อาหารเสริมทางการแพทย์ 250 ซีซี
16.00 น. อาหารปั่น 250 ซีซี
18.00 น. น้ำผักผลไม้คั้นแยกกาก 1 แก้ว
20.00 น. อาหารเสริมทางการแพทย์ 250 ซีซี
อาหารปั่นสำหรับการให้อาหารทางสายยาง
สูตรอาหารปั่นผสมมาตรฐาน 1 feeding
1. ผักต้มจนเปื่อย เช่น แครอท ผักกาดขาว มะเขือเทศ ตามชอบ
2. ไข่ลวก 1 ฟอง
3. แป้งถั่วเหลืองหรือข้าวต้ม 1 ถ้วย
4. นมสด 0.5 ถ้วย
5. ตับไก่ต้ม 0.5 ขีด
6. น้ำตาลทราย 2 ช้อนชา
7. น้ำมันถั่วเหลือง 2-4 ช้อนชา
นำส่วนผสมทั้งหมดปั่นให้ละเอียด แล้วหากมีความหนืดมากควรผสมน้ำลงไปให้ความหนืดเหมาะสมไม่ติดตามท่อสายให้อาหาร ควรเตรียมแล้วใช้เลย
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้