วันที่ 26-12-2018 | อ่าน : 2098
การอัลตราซาวน์ช่องท้อง
อัลตราซาวน์ คือ การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงหรือ อัลตราซาวน์ (Ultrasound) ในการตรวจ โดยอาศัยหลักการดูดซับ และสะท้อนของคลื่นเสียงที่แตกต่างกัน ระหว่างอวัยวะแต่ละชนิด และระหว่างเนื้อเยื่อปกติกับเนื้อเยื่อผิดปกติ แล้วแปลงเป็นภาพแสดงออกมาทางหน้าจอแสดงภาพ คลื่นเสียงที่ใช้สำหรับการอัลตราซาวน์ อยู่ในช่วงความถี่สูง 1.5-15 MHz (ความถี่ที่หูคนเราได้ยินประมาน 20-20,000 Hz) โดยคลื่นเสียงจะถูกส่งออกจากหัวตรวจผ่านลงไปในตัวผู้ป่วย เมื่อกระทบกับรอยต่อ (interface) ระหว่างตัวกลาง 2 ชนิดที่มีความหนาแน่นต่างกัน จะเกิดการสะท้อนและการทะลุผ่านของเสียง
การตรวจวิธีนี้ใช้ได้ดีกับอวัยวะที่มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง เช่น ตับ ไต ม้าม ตับอ่อน มดลูก รังไข่ และต่อมลูกหมาก เป็นต้น และสามารถตรวจกับอวัยวะที่บรรจุของเหลวอยู่ภายในได้ เช่น หัวใจ ถุงน้ำดี กระเพาะปัสสาวะ ตรวจเด็กในครรภ์ เป็นต้น การอัลตราซาวน์ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ ต่อผู้ป่วย ปัจจุบันนอกจากการตรวจวินิจฉัยโรคแล้ว อัลตราซาวน์ยังใช้เป็นเครื่องนำทางในการดูดเจาะ (percutaneous puncture) ทั้งเพื่อการวินิจฉัยและการรักษา
ชนิดการตรวจอัลตราซาวน์มี 2 ลักษณะใหญ่ คือ
• ตรวจผ่านผิวหนังของผู้ป่วย (transcutaneous)
• ใส่หัวตรวจเข้าไปในร่างกาย (intracavitary) เช่น ผ่านทางทวาร (transrectal),ช่องคลอด (transvaginal),ทางเดินอาหาร (endoscopic), เส้นเลือด ( intravascular) หรือ ผ่านแผลผ่าตัดต่างๆ (intraoperative)
ปัจจุบันอัลตราซาวน์มีตรวจในอวัยวะหลายอย่าง แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึง การตรวจอัลตราซาวน์ในช่องท้อง (Abdomen Ultrasound) ซึ่งแบ่งเป็น
o Upper abdomen ศึกษาอวัยวะต่างๆ ของช่องท้องส่วนบน ได้แก่ ตับ ม้าม ไต ตับอ่อน กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น
o Lower abdomen and pelvis มีทั้งตรวจผ่านหน้าท้องผู้ป่วย และตรวจโดยสอดหัวตรวจผ่านทางช่องคลอด ใช้สำหรับการตรวจภายในช่องท้องเพื่อดูความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้องส่วนล่าง (อุ้งเชิงกราน) เช่น รังไข่, มดลูก, ต่อมลูกหมาก หรือ ก้อนเนื้องอกในอุ้งเชิงกราน
o Whole Abdomen คือการตรวจเพื่อดูอวัยวะในช่องท้องทั้งหมด
การเตรียมตัวก่อนตรวจ
• การเตรียมตัวก่อนการตรวจอัลตราซาวน์ช่องท้องส่วนบน ต้องงดน้ำ, อาหาร และยาทุกชนิด 4-6 ชั่วโมงก่อนตรวจ
• การเตรียมตัวก่อนการตรวจ อัลตราซาวน์ช่องท้องส่วนล่าง ไม่ต้องงดน้ำ และอาหาร (เว้นแต่แพทย์สั่ง) ควรดื่มน้ำมากๆ แล้วกลั้นปัสสาวะไว้จนกว่าจะตรวจเสร็จ โดยขณะตรวจต้องปวดปัสสาวะเต็มที่ เพราะจะสามารถเห็นได้ดี ถ้ากระเพาะปัสสาวะมีน้ำอยู่เต็ม
• งดอาหาร 6-8 ชั่วโมงก่อนตรวจ แต่ก่อนถึงเวลานัดตรวจ 3 ชั่วโมง ให้ดื่มน้ำเปล่า 4-5 แก้ว หลังจากนั้นงดดื่ม และกั้นปัสสาวะไว้จนกว่าจะตรวจเสร็จ (ขณะตรวจต้องปวดปัสสาวะเต็มที่)
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้