วันที่ 08-11-2018 | อ่าน : 2287
บทความโดย ดร.แอนดี้ ซุน
National Taiwan University
จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขไต้หวันแสดงให้เห็นว่า สถิติโรคมะเร็งที่เกิดกับเพศชายสูงสุด คือ มะเร็งตับ เพศหญิงสถิติสูงสุดอยู่ที่ มะเร็งปากมดลูก แม้ว่าปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งจะใช้การผ่าตัด เคมีบำบัด และฉายรังสี เป็นหลัก แต่วิธีการพื้นฐานที่สุดที่ควรจะเริ่มลงมือปฏิบัติ คือ การดูแลเรื่องอาหารและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันโรค จึงจะสามารถรับมือกับโรคร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สุขภาพร่างกายของคนเราจะดีได้จุดสำคัญ ต้องอาศัยระบบภูมิคุ้มกันมาต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งโรคมะเร็งก็ไม่มีข้อยกเว้น ดังนั้น ภูมิคุ้มกันของคนเราจะอ่อนแอหรือเข้มแข็ง ย่อมเป็นผลชี้ขาดว่าจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยและเป็นโรคมะเร็งได้ง่ายหรือไม่ ระบบภูมิคุ้มกันมีบทบาทสำคัญในการปกป้องสุขภาพให้รอดพ้นจากการถูกคุกคามทำลายของเชื้อโรคต่างๆ อีกทั้งยังสามารถช่วยให้สมรรถภาพของเซลล์ทำงานได้ตามปกติและป้องกันโรคมะเร็ง
สรุปคุณสมบัติสำคัญ 3 ประการของระบบภูมิคุ้มกัน
1. สามารถจำแนกเซลล์ปกติกับสิ่งแปลกปลอมที่มาจากภายนอก
2. ช่วยดูแลควบคุมการสร้างภูมิคุ้มกันโรค ป้องกันมิให้เกิดมะเร็งขึ้นในตัวเซลล์
3. สามารถขจัดเชื้อโรคต่างๆได้อย่างเป็นระบบ
การขจัดเชื้อโรคของระบบภูมิคุ้มกันเป็นทำงานร่วมกันของ 2 ระบบ โดยระบบแรกทำหน้าที่ในการจับกินหรือปล่อยสารออกมาทำลายเซลล์เชื้อโรค โดยไม่จำเพาะเจาะจงชนิดของเชื้อโรคสามารถกำจัดได้หมด แต่หากกระบวนการของระบบแรกไม่สำเร็จจะอาศัยระบบที่สอง คือ การสร้างแอนติบอดี้ (Antibody) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดียิ่งขึ้น หรือทำงานร่วมกันกับระบบแรกเลย ซึ่งการทำงานของชนิดที่สองนี้เป็นแบบจำเพาะเจาะจงกับชนิดเชื้อโรค
สภาวะแวดล้อมส่งผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
ภูมิคุ้มกันของเราจะเข้มแข็งหรืออ่อนแอ ภูมิต้านทานโรคมะเร็งจะสูงหรือต่ำ ย่อมมีส่วนเกี่ยวพันกับพันธุกรรมและสุขภาพของแต่ละคน แต่ทว่า ภาวะแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราในปัจจุบัน เช่น มลพิษ เชื้อโรคติดต่อ การบำรุงร่างกาย สภาวะของพลังงานและลมปราณภายในร่างกายคน ล้วนแล้วแต่แสดงบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งยวด จากการรวบรวมสถิติในระยะหลายปีมานี้ มีผู้ป่วยที่ต้องเสียชีวิตเพราะเป็นโรคมะเร็งปีละไม่ต่ำกว่า 5 ล้านราย ในร่างกายคนสามารถเกิดโรคมะเร็งได้ทุกที่ ยกเว้นเล็บกับเส้นผมเท่านั้น
สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง คือ สภาพแวดล้อม เช่น ในสมัยศตวรรษที่ 16 มีการรายงานว่า กัมมันตภาพรังสีทำให้เกิดโรคมะเร็ง ในญี่ปุ่นหลังจากที่ถูกระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ ผลกระทบของระเบิดทำให้ผู้ที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย การที่ต้องรับแสงอัลตราไวโอเลทเป็นเวลายาวนาน กับผลกระทบจากการเป็นแผลเน่าเปื่อยเรื้อรัง เป็นต้น ล้วนทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ ในการสูบบุหรี่ หรือในอากาศทั่วไปมีสารพิษเจือปนก็จะนำไปสู่โรคมะเร็งปอดได้เช่นกัน สารโพลีเอทธิรีนที่นำไปเป็นส่วนประกอบทำเป็นเครื่องใช้พลาสติก สารพิษอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) ในธัญญพืช หรือสารประเภทไนโตรซามิน (Nitrosamine) ล้วนแต่เป็นสื่อทำให้เกิดโรคมะเร็งได้
จงระวังเชื้อไวรัสและสนใจพฤติกรรมการดำรงชีวิต
ไวรัสบางชนิดสามารถนำไปสู่โรคมะเร็งได้ เช่น ไวรัสอีบี (EB = Epstain Bar Virus) ทำให้เป็นมะเร็งในโพรงจมูก, ไวรัสโรคอีสุกอีไสแบบ II และ ไวรัสโรคเนื้องอกหัวนมแบบ 16 และ 18 ทำให้เป็นมะเร็งปากมดลูก, ไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี ทำให้เป็นมะเร็งตับ
ผู้ที่สูบบุหรี่มักจะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งมากกว่าผู้ที่ไม่สูบ โรคมะเร็งปอดมีมูลเหตุมาจากการสูบบุหรี่อย่างแน่นอน นอกจากนี้โรคมะเร็งที่ริมฝีปาก มะเร็งที่ลิ้น มะเร็งในช่องปาก มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ล้วนเกี่ยวพันธ์กับการสูบบุหรี่ ส่วนการดื่มเหล้าจะเสริมอันตรายที่เกิดจากการสูบบุหรี่ให้รุนแรงยิ่งขึ้น ทั้งยังอาจนำไปสู่โรคตับแข็ง และพัฒนาเป็นโรคมะเร็งตับในที่สุด
การบริโภคอาหารที่ไม่มีกากใยอาหาร อาหารไขมันสูง โดยเฉพาะมีคอเลสเตอรอลสูง มีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ขณะเดียวกัน ถ้าหากบริโภคอาหารที่หยาบมากเกินไป ขาดสารอาหารมากไป ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหาร และกระเพาะอาหารมากขึ้นได้
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้