ผสมผสานต้านมะเร็งให้อยู่หมัด

วันที่ 14-11-2017 | อ่าน : 2609


             


                 สัมภาษณ์พิเศษ ศาสตราจารย์ หวัง เจิ้น กั๋ว ผู้อำนวยศูนย์วิจัยมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งเจิ้นกั๋ว ปักกิ่ง ชาวจีนคนแรก ที่ได้รับรางวัลระดับชาติและนานาชาติ 6 รางวัล จากผลงานคิดค้นยาจีนรักษามะเร็ง ประสบการณ์รักษามะเร็งกว่า 30 ปี

          ประเทศไทยโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1 ต่อเนื่อง 13 ปีแล้ว ในงานเสวนา “นวัตกรรมผสมผสาน ต้านมะเร็งให้อยู่หมัด” ซึ่งจัดโดยชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง ณ อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี กรุงเทพฯ ผู้เชี่ยวชาญรักษามะเร็งจากจีน ศาสตราจารย์ หวัง เจิ้น กั๋ว จาก ศูนย์วิจัยมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งเจิ้นกั๋ว ปักกิ่ง กล่าวว่า การจะอยู่อย่างสงบกับมะเร็งได้นั้น อาจต้องผสมผสานการดูแลรักษาหลายวิธีร่วมกัน ด้วยการใช้ภูมิคุ้มกันสู้โรค อย่าทอดทิ้งการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน และ ต้องรู้จักการผสมผสานวิธีการรักษาอย่างถูกต้อง รู้ว่ายาตัวใดมีฤทธิ์ต้านหรือเสริมกัน   


 โรงพยาบาลมะเร็งเจิ้นกั๋ว ปักกิ่ง 
 

       โอกาสนี้ เราได้มีโอกาสพูดคุยกับ ศาสตราจารย์ หวัง เจิ้น กั๋ว ซึ่งท่านเป็นแพทย์ผู้รักษามะเร็งที่มีชื่อเสียงในจีน มีสถาบันวิจัยยา และโรงพยาบาลรักษามะเร็ง 3 แห่ง ในจีน ทั้งปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ จูไห่ 
 


โรงพยาบาลมะเร็งเจิ้นกั๋ว เซี่ยงไฮ้

จุดเริ่มต้นที่ทำให้คุณหมอสนใจการรักษาโรคมะเร็ง ?

เริ่มจากวันแรกที่ผมมาเป็นแพทย์ฝึกหัดที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งเมื่อปี 1972 มีสาวน้อยคนหนึ่งมาขอร้องให้ผมช่วยแม่ของเธอ แม่ของเธอป่วยเป็นมะเร็งตับ ผมเสียใจที่ช่วยเธอไม่ได้ จำได้ว่าแม่ของเธอเสียชีวิตใน 7 วันต่อมา เมื่อหลายสิบปีก่อน ยาสำหรับรักษามะเร็งในโลกนี้น้อยมาก ไม่มีวิธีใดรักษามะเร็งได้ เป็นมะเร็งเท่ากับความตาย ผมฉุกใจคิดว่าในเมื่อตัวเองก็เป็นหมอ ผมต้องหายาที่จะช่วย ลูกหรือแม่เหล่านี้ให้ได้ นั่นจึง ปณิธานผมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

 

ทำไมปัจจุบันคนจึงป่วยเป็นมะเร็งมากขึ้น ?

ปัจจุบันมีทั้ง ปัญหามลภาวะทางสิ่งแวดล้อม ปัญหาติดเชื้อตับอักเสบ ปัญหาการอักเสบของร่างกาย ปัจจัยภายนอกรอบกายมากมาย ทำให้คนเป็นมะเร็งมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งเป็นมะเร็งกันตั้งแต่อายุยังน้อย แค่ในจีนประเทศเดียว ทุก 1 นาที มีคนเป็นมะเร็ง 6 คน 


         

การป้องกันในความคิดของคุณหมอ ?

ต้องทราบก่อนว่า เราทุกคนมีโอกาสเป็นมะเร็งได้ จึงต้องป้องกันมะเร็งดีกว่ารอเป็นแล้วรักษา ในทฤษฎีแพทย์แผนจีนกล่าวถึง การขับร้อนถอนพิษ การเพิ่มภูมิคุ้มกัน สามารถช่วยป้องกันกระบวนการพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็ง แพทย์แผนจีนใช้ทั้งยาจีน ดูแลอาหารเครื่องดื่ม ปรับเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมการใช้ชีวิต เพื่อลดอัตราการเกิดมะเร็ง เนื่องจากเรามองว่ามะเร็งสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มกิน สภาพแวดล้อมอย่างชัดเจน เราต้องให้ความใส่ใจ หากเรามีภาวะอักเสบ ไม่ว่าจะเป็น กระเพาะอาหาร หลอดอาหาร ตับ หรือเนื้องอกธรรมดา ต้องเร่งดูแลรักษาเพื่อป้องกันการกลายเป็นมะเร็ง โดยเราใช้ทั้งยาจีน และตัวผู้ป่วยต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมวิถีชีวิต 

ช่วยเล่าถึงผลงานยาต้านมะเร็งของคุณหมอ ?

เนื่องจากบ้านเกิดผมอยู่เมืองทงฮว่า มณฑลจี๋หลิน ที่นั่นมีเทือกเขาฉางไป๋ซานซึ่งเป็นแหล่งสมุนไพร ผมมีความสนใจด้านนี้ รู้ว่ามีสมุนไพรจีนหลายชนิด อาทิ โสมคน หวงฉี หนี่เจินจื่อ ไป๋ฮวาเสอเสอเฉ่า มีประโยชน์ในการต้านมะเร็ง ผมเริ่มต้นเก็บรวบรวมพืชสมุนไพรกว่า 1200 ชนิด ทดลองผสมเป็นตำรับยาไปราว 23 ตำรับ จนในที่สุดได้เป็นตำรับยาจีนที่ให้ผลในการรักษา และขึ้นทะเบียนยาในจีน ในปี 1988


เทือกเขาฉางไป๋ซาน

 

ส่วนประกอบสมุนไพรต่าง ๆ ในยามาจากเทือกเขาฉางไป๋ซาน หากเพื่อต้านมะเร็ง จะเอาสมุนไพรเหล่านี้มาต้มดื่มก็คงไม่ได้ เราจึงใช้กรรมวิธีสกัดเอาสาระสำคัญออกมาจึงได้ประสิทธิภาพต้านมะเร็งมากขึ้น ระหว่างการวิจัยยาต้านมะเร็งนั้น แหล่งที่มาของสมุนไพร อายุของสมุนไพร ปริมาณสมุนไพรที่ใช้ ต้องมีการควบคุมจึงจะได้ประสิทธิภาพในการต้านมะเร็งอย่างแท้จริง ปัจจุบันยาต้านมะเร็งจากสถาบันวิจัยของเราส่งออกไปยัง 70 กว่าประเทศทั่วโลก ช่วยชีวิตผู้ป่วยมาแล้วกว่า 3 ล้านคน

 การรักษามะเร็งแบบผสมผสานเป็นอย่างไร ?

หากพูดถึงการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการรักษามะเร็งในระดับนานาชาติ ปัจจุบันล้วนมีแนวโน้มด้านการแพทย์แบบผสมผสาน โดยการรักษาที่ใช้อยู่ ได้แก่ ผ่าตัด ฉายรังสี เคมีบำบัด ยาจีน การจี้เย็น (Cryotherapy) การทำลายก้อนมะเร็งด้วยความร้อน (Thermal Ablation) ยังมีภูมิคุ้มกันบำบัด (Biotherapy) โดยการใช้ผสมสานกันจึงได้ประสิทธิผลดี

 

ในประเทศจีน แต่ละปีโรงพยาบาลของผมดูคนไข้ราว 1 หมื่นคน ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะกลาง ถึงระยะสุดท้าย เมื่อผ่านการรักษาแบบผสมผสาน มีผลทำให้ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 80 มีชีวิตยืนยาวขึ้น ก้อนมะเร็งหดเล็กลง ซึ่งหากใช้ยาจีนเพียงอย่างเดียวอาจไม่ดีเท่า เรายังได้มีการศึกษาโดยนำยาจีน เคมีบำบัด ฉายรังสี ใช้ควบคู่กัน พบว่าประสิทธิผลการรักษาเพิ่มขึ้น 20% ดังนั้น ผู้ป่วยควรใช้การรักษาแบบผสมผสาน รวมทั้งต้องดูแลด้านโภชนาการ จิตใจ ใช้ดนตรีบำบัด ชี่กง อย่างนี้จะช่วยการฟื้นฟู สร้างความแข็งแรง และต้านมะเร็งได้ดีขึ้น

โภชนาการสำหรับผู้ป่วยมะเร็งสไตล์แพทย์จีน ?

สำหรับผู้ป่วยมะเร็งอาหารเป็นเรื่องสำคัญ ผู้ป่วยบางคนกังวลว่าหากไม่ทานเนื้อสัตว์ร่างกายจะอ่อนแอ แต่หากจะกินก็กลัวผลของมัน

สำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่สำคัญ ต้องงดเนื้อปูเพราะเนื้อปูมักกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ซึ่งมะเร็งชอบการอักเสบอยู่แล้ว ผู้ป่วยไม่ดื่มน้ำเย็นหรือเครื่องดื่มเย็น ปลา กุ้ง ไข่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ สามารถทานได้ แต่แนะนำให้เติมน้ำส้มสายชูหมัก (จากข้าว) รวมทั้งเวลารับประทานผักกลัวมีสารพิษตกค้าง ไม่ว่าจะใช้ผักประกอบอาหารกับเนื้อสัตว์ใด ๆ ให้นำมาลวกผ่านน้ำร้อนก่อน จากนั้นประกอบอาหารตามปกติ ตอนปรุงให้เติมกระเทียม น้ำส้มสายชูหมัก จะช่วยลดพิษ ไม่มีผลกระทบต่อร่างกาย

ควรรับประทานผักมาก ๆ กินเนื้อสัตว์น้อย แต่ไม่ใช่ไม่รับประทานเลย อาจเน้นเนื้อปลาเป็นหลัก แต่ละวันอาหาร 3 มื้อ อาจมีมื้อหนึ่งที่รับประทานเนื้อสัตว์

เคล็ดลับแก้ไขปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็ง ?       

           ขอแนะนำสูตรที่ผมใช้เพื่อแก้ไขปัญหาของผู้ป่วยที่พบบ่อยซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาหารเครื่องดื่ม ทำง่าย ใช้ง่าย
           - หากหลังผู้ป่วยรู้สึกปากคอแห้ง กระหายน้ำ ให้ใช้ถั่วเขียว ไป่เหอ หล่อฮั่งก้วย ต้มน้ำดื่ม หรือต้มจืดมะระกับกระดูกหมู
           - เพื่อบำรุงชี่ บำรุงเลือด บำรุงร่างกาย อาจรับประทาน โจ้กพุทราจีน ถั่วแดง ลูกเดือย, มะระผัดตับหมู, เห็ดหอมต้มกระดูกหมู 

ผู้ป่วยมะเร็งควรหมั่นรับประทาน เห็ดหอม เห็ดหูหนูดำ กระเทียม พุทราจีน ลูกเดือย เต้าหู้ มันเทศ ถั่วแดง ถั่วต่าง ๆ สมุนไพรซานย่าว ไป่เหอ โดยรับประทานสลับกันไป และสามารถใส่ในการประกอบอาหาร

             จากผลงานคิดค้นยาจีนต้านมะเร็ง ทำให้ ศาสตราจารย์ หวัง เจิ้น กั๋ว ได้รับรางวัลต่าง ๆ จากในและต่างประเทศ

              (1) ธันวาคม 1989 ตำรับยาเทียนเซียน ได้รับ 3 เหรียญรางวัล จากเวทีประกวดผลงานวิจัยและนวัตกรรมนานาชาติ บรัชเซล ยูเรก้า ครั้งที่ 38 (The 38th Brussels Eureka World Invention Expo) ณ กรุงบรัซเซล ประเทศเบลเยี่ยม

             (2) ปี 1990 ได้รับรางวัล ผู้เชี่ยวชาญรุ่นใหม่ที่มีผลงานโดดเด่นของจีน , รางวัล 1 ใน 10 คนรุ่นใหม่ของจีน , รางวัลผู้เป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  


  นอกจากนี้ มีหลายสถาบันในหลายประเทศ อาทิ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน (National Taiwan University Hospital), สถาบันวิจัยสุขภาพแห่งชาติไต้หวัน (The National Health Research Institutes) , ศูนย์วิจัยและพัฒนายาใหม่ ฮอกไกโด ญี่ปุ่น (New Drug Development Research Center Inc) , วิทยาลัยแพทย์แผนจีน แห่งมหาวิทยาลัยฮ่องกง (School of Chinese Medicine, the University of Hong Kong) นำตำรับยานี้ไปศึกษาวิจัย จนมีผลงาน 24 หัวข้อการวิจัย ที่ได้รับการตีพิมพ์วารสารทางการแพทย์แล้ว 16 ฉบับ และตั้งแต่ปี 2011 ตำรับยาสมุนไพรจีนของ ศาสตราจารย์ หวัง เจิ้น กั๋ว ยังได้รับการบรรจุในสารานุกรมยา ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติอเมริกา

 

 

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ความรู้มะเร็ง
การดูแลผู้ป่วย
การรักษามะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้