วันที่ 04-10-2016 | อ่าน : 2864
ช่วงถือศีลกินเจ สธ.แนะกินอย่างถูกหลักโภชนาการ งดอาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง/แปรรูป ลดหวานมันเค็ม
ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เพื่อให้ประชาชนทั่วโลกประเมินความเสี่ยงตนเอง และหันมาดูแลสุขภาพเพื่อหัวใจที่แข็งแรง อีกทั้งวันที่ 1-9 ตุลาคม 2559 เป็นเทศกาลกินเจเป็นช่วงเวลาที่ประชาชนจะรักษาศีลปฏิบัติธรรม และไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ โดยงดการบริโภคเนื้อสัตว์ หันมากินผักผลไม้ส่งผลดีต่อสุขภาพกายและจิตใจ ช่วยลดการเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด ซึ่งแต่ละปีทั่วโลกมีผู้เสียชีวิต17.5ล้านคน
คนไทยมีแนวโน้มการป่วย และเสียชีวิตจากโรคนี้เพิ่มมากขึ้น ข้อมูลในปี 2558 มีผู้เสียชีวิต 18,922 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 2คน ส่วนผู้ป่วยเฉลี่ยชั่วโมงละ 30 คน ล่าสุด ในปี 2559 มีผู้ป่วยรายใหม่ 10,957 คน มีค่าใช้จ่ายในการรักษาปีละกว่า155,000 ล้านบาท กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการทั้งด้านการป้องกัน ลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในทุกเขตสุขภาพ มีสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ เป็นแม่ข่าย เพื่อให้ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด หรือการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนอย่างรวดเร็ว ผลการดำเนินงานในปีนี้ สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้กว่าร้อยละ 90
“ขอให้ประชาชนใช้โอกาสเทศกาลถือศีลกินเจ ในการปรับพฤติกรรมสร้างสุขภาพกินถูกหลักโภชนาการครบ 5 หมู่ อย่างพอเพียงกินโปรตีนจากถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น เต้าหู้โปรตีนเกษตรทดแทน โปรตีนจากเนื้อสัตว์ หลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้งทอด มีไขมันสูง มีรสเค็มจัด หวานจัด กินผัก และผลไม้สด ให้หลากหลายหลากสี และล้างผักผลไม้ให้สะอาดเพื่อลดสารพิษตกค้าง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ขอให้งดอาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง อาหารแปรรูป ซึ่งจะมีเกลือไขมัน และน้ำตาลสูงด้วย เน้นการกินธัญพืช หรือถั่วเมล็ดแห้งที่หลากหลาย อาทิ วแดง ถั่วเขียวงา เพิ่มกากใยอาหารกินข้าวกล้องแทนข้าวขาว และเติมเต็มคุณค่าโภชนาการด้วยผลไม้รสไม่หวาน จัดเสริมด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ลดละเลิกบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในช่วงเทศกาลเจหรือตลอดไป เพื่อให้มีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วยจากโรคเรื้อรังและเพิ่มพลังชีวิตให้หัวใจแข็งแรง” ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล กล่าว
ด้าน นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า อาหารเจส่วนใหญ่มักเป็นแป้งและอาหารทอดที่มีไขมันสูงการกินเจให้มีสุขภาพดีและน้ำหนักไม่ขึ้นคือการกินอาหารให้ครบทุกมื้อในปริมาณเพียงพอเน้นกินผัก และผลไม้สดที่ไม่หวานเกินไป เมนูเจสุขภาพที่สามารถทำรับประทานเองง่ายๆในช่วงเทศกาลกินเจ ได้แก่ก๋วยเตี๋ยวหลอดปอเปี๊ยะสดยำเต้าหู้ลาบเต้าหู้น้ำพริกหนุ่มพล่าหัวปลีส้มตำผลไม้ เป็นต้นสำหรับการล้างผักผลไม้เพื่อกำจัดยาฆ่าแมลงให้หมดไปหรือลดปริมาณลงไปจนไม่เป็นอันตรายทำได้โดยการลอกเปลือกที่สามารถลอกได้ทิ้งไปแล้วล้างด้วยน้ำไหล2นาทีหรือแช่ด้วยน้ำเกลือ2ช้อนโต๊ะต่อน้ำ4ลิตรน้ำผสมน้ำส้มสายชูครึ่งถ้วยตวงต่อน้ำ 4ลิตรหรือน้ำผสมโซเดียมไบคาร์บอเนต1ช้อนโต๊ะต่อน้ำ4ลิตรนาน15 - 30นาทีจากนั้นล้างด้วยน้ำเปล่าอีก2ครั้งสำหรับผักบางชนิดเช่นคะน้ากะหล่ำถั่วฝักยาวหากมีคราบขาวจับที่กาบใบหรือฝักมากเกินไปล้างน้ำหลายๆครั้งและคลี่ใบถูหรือล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านผักสดอย่างน้อย2นาทีก่อนรับประทานหรือนำไปปรุงประกอบอาหาร
พญ.จิตสุดา บัวขาว ที่ปรึกษากรมการแพทย์ กล่าวว่า ผู้ที่เป็นโรคหัวใจจะมีอาการเตือน คือ แน่นบริเวณกลางหน้าอกคล้ายมีอะไรมากดทับร้าวไปที่กรามสะบักหลัง หรือแขนซ้ายด้านในอาการแน่นหน้าอกแต่ละครั้งประมาณ 3-5 นาที จะดีขึ้นเมื่อนั่งพักเหนื่อยง่ายกว่าปกติ เหงื่อออกใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ หน้ามืดเป็นลม บางรายมีอาการคล้ายโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อนในการรักษาแพทย์ จะใช้การรักษาด้วยยา เพื่อรักษาอาการควบคุมปัจจัยเสี่ยง และป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค หรือการทำบอลลูนขยายเส้นเลือดที่ตีบและอุดตัน พร้อมทั้งใส่ขดลวดค้ำยัน หรือการผ่าตัดเปลี่ยนทางเดินหลอดเลือดหัวใจ
นพ.สัญชัย ชาสมบัติ ผู้อำนวยการสำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การปฏิบัติตนเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยการเพิ่มพลังให้ชีวิต เพื่อสุขภาพหัวใจที่ดีมี 3 หลักการ คือ 1.เติมพลังให้หัวใจ(Fuel your heart) ลดการบริโภคอาหารแช่แข็งและแปรรูป ซึ่งมีเกลือน้ำตาลและไขมันสูง เลือกดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำผลไม้ที่ไม่หวานเปลี่ยนขนมหวานเป็นผลไม้สด เพิ่มผลไม้ผักให้ได้ 5 ส่วน หรือ 5 กำมือต่อวัน หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 2.ออกกำลังกายให้หัวใจขยับ (Move your heart) ทำตัวให้กระฉับกระเฉงเสมอ โดยออกกำลังกาย อย่างน้อย 30 นาที 5 ครั้งต่อสัปดาห์ เช่น เต้นรำเดินเล่น หรือ การทำงานบ้าน เดินขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟต์และบันไดเลื่อน เดินหรือปั่นจักรยานแทนการขับรถยนต์ และ 3.รักษ์หัวใจ (Love your heart) โดยงดสูบบุหรี่ ข้อมูลทางวิชาการ ระบุว่าการเลิกสูบบุหรี่ 2 ปีจะช่วยลดความเสี่ยง ของการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดลง หากเลิกสูบบุหรี่ภายใน 15 ปี ความเสี่ยงจะเหลือเท่าคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่
“กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ผู้ที่สูบบุหรี่มีภาวะน้ำหนักเกิน/โรคอ้วนลงพุง ผู้มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ที่มีญาติสายตรงเป็นโรคนี้ ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย กินผักและผลไม้น้อยและผู้ที่มีภาวะเครียดประจำ จึงขอให้กลุ่มเสี่ยงดังกล่าว รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างน้อยปีละ1ครั้งที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน” นพ.สัญชัยกล่าว
ที่มา : สสส
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้