การดูแลผู้ป่วยในภาวะเจ็บช่องปาก กลืนเจ็บ

วันที่ 27-05-2016 | อ่าน : 3299


 การดูแลผู้ป่วยในภาวะเจ็บช่องปาก กลืนเจ็บ

     อาการเจ็บช่องปาก เจ็บคอ อาการกลืนเจ็บ หรือติด เป็นภาวะที่เป็นผลมากจากการฉายรังสีในบริเวณช่องคอ ปาก เช่น มะเร็งลำคอ มะเร็งศีรษะ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองของอวัยวะในช่องปาก คอ มะเร็งปอด(ที่มีการฉายแสงบริเวณทรวงอก) มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ช่องอก ซึ่งเกิดจากภาวะอาการอักเสบของเยื่อบุอวัยวะภายในช่องปาก คอ หรือหลอดอาหาร 

เมื่อมีอาการเจ็บช่องปาก คอ หรือกลืนเจ็บ ติด การดูแล บรรเทาอาการ มีดังนี้
 
1.ผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วย ญาติ ควรต้องเข้าใจสาเหตุของอาการดังกล่าวว่าเป็นผลข้างเคียง อาการแทรกซ้อนจากการรักษา โดยจะมีอาการจะมีอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง คือประมาณสัปดาห์ที่ 2 ของการรักษาไปจนตลอดครบการรักษาและอาจมีผลไปอีก 2 สัปดาห์หลังการรักษา หลังจากนั้นแล้วจะค่อยๆดีขึ้น อาการจะดีขึ้นเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับร่างกายของผู้ป่วย หากผู้ป่วยดื่มน้ำสะอาดและอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอ ก็จะทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้รวดเร็ว
 
2.การบรรเทาอาการเจ็บช่องปาก กลืนเจ็บ คือการดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 1 ลิตร ให้ร่างกายมีน้ำเพียงพอไม่ขาดน้ำ การปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำจะทำให้อาการเป็นเป็นอยู่แล้วเป็นมากขึ้นและจะฟื้นตัวได้ช้า ดังนั้นควรดื่มน้ำสะอาดทุกๆ 10-15 นาที 
 
3.ปรับอาหารเป็นอาหารอ่อน รสจืด และมีอาหารเสริมช่วยหลายๆมื้อ
4.ปรับอาหารเป็นอาหารน้ำ อาหารเหลว ในกรณีที่ไม่สามารถรับประทานอาหารอ่อนได้  โดยควรรับประทานให้มากมื้อขึ้น ไม่ต้องรอ 3 มื้อหลัก หรือไม่ต้องรอให้หิว อาหารในกลุ่มนี้อาจจะมีรสชาติที่ไม่ถูกปาก ผู้ป่วยจึงควรคำนึงเสมอว่าเรากินอาหารเหล่านี้ไปเพื่อให้ร่างกายฟื้นตัว ไม่ต้องคำนึงรสชาติ ในภาวะนี้อาหารเปรียบเสมือนยาที่สำคัญที่จะทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้ดี หากสามารถแบ่งการรับประทานเป็นชั่วโมงละ 1 ครั้งได้จะยิ่งดี โดยสามารถทานได้ทุกอย่างไม่ต้องกังวลเรื่องไขมัน หรือหากผู้ป่วยมีความกังวลใจว่าจะกระทบต่อตัวโรค ควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะรับประทาน
 
5.การที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้เลย ร่างกายจะขาดน้ำ ขาดอาหาร ดังนั้นอาจจะต้องเข้ารับน้ำเกลือหรืออาหารทางน้ำเกลือที่โรงพยาบาล เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวและมี่ขาดสารอาหาร 
 
6.ในกรณีที่เจ็บมาก แพทย์อาจต้องจ่ายยาชาชนิดอมให้กับผู้ป่วยก่อนการรับประทานอาหาร เพื่อลดอาการเจ็บและสามารถทานอาหารได้
 
7.ภาวะขาดสารอาหารจะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจติดเชื้อได้ง่าย ต้องรักษาสุขอนามัย พักผ่อนให้เต็มที่ และหลีกเลี่ยงการไปในสถานที่ที่อาจมีการติดเชื้อได้ง่าย เช่น การไปในที่ๆมีผู้คนจำนวนมาก เป็นต้น

  8.ต้องรักษาความสะอาดในช่องปากเสมอ โดยควนบ้วนปากทุกครั้งหลังการรับประทานอาหาร เปลี่ยนชนิดของแปรงสีฟันและยาสีฟันให้เป็นชนิดบอบบาง อ่อนนุ่ม ไม่เผ็ดร้อน เพื่อไม่เพิ่มการระคายเคืองเยื่อบุในช่องปาก
 
9.ควรสังเกตสุขภาพในช่องปาก ลิ้น เพดาน เหงือก อยู่เสมอว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ หากมีการติดเชื้อราจะมีลักษณะเป็นฝ้าขาวฝนช่องปาก ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
 
10.หากเกิดภาวะมีไข้แทรกซ้อน หรืออาการท้องเสียร่วม ต้องรีบพบแพทย์ทันที 

       ทุกข้อที่กล่าวไป คือคำแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้ที่มีภาวะเจ็บปาก กลืนเจ็บ สิ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้ คงเป็นเรื่องของกำลังใจที่แข็งกล้า ความพยายามที่จะต่อสู้กับอาการ และการปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด หากผู้ป่วยสามารถทำได้ตามที่กล่าวไปข้างต้น ก็อาจเป็นหนทางที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้ในไม่ช้า
 

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ความรู้มะเร็ง
การดูแลผู้ป่วย
การรักษามะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้