โปรตีนอัลบูมินในไข่ขาวกับผู้ป่วยโรคตับ

วันที่ 21-01-2016 | อ่าน : 31497


 
โปรตีนอัลบูมินในไข่ขาวกับผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ
  

 

โปรตีนอัลบูมินในไข่ขาวกับผู้ป่วยโรคตับ

     อัลบูมิน คือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่พบได้ ประมาณ 50% ของโปรตีนที่พบในเลือด มีหน้าที่ในการสร้างและซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย มีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน ต่อสู้กับการติดเชื้อ  

     อัลบูมินถูกสร้างจากกรดอะมิโนที่ตับ หากร่างกายได้รับโปรตีนกรดอะมิโนจำเป็น และพลังงานจากอาหารไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้ระดับอัลบูมินในเลือดต่ำได้ โดยภาวะอัลบูมินในเลือดที่ลดต่ำ มีความสัมพันธ์กับอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อน และอัตราการตายที่เพิ่มสูงขึ้น 

     ไข่ อาหารที่หาซื้อได้ง่าย สามารถนำมาปรุงได้สารพัดเมนู  นอกจากอร่อยแล้ว ไข่ยังอุดมไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย ทั้งวิตามิน ธาตุเหล็ก แคลเซียม สังกะสี แมกนีเซียม และอีกหลายสารอาหารที่ดีต่อร่างกาย แต่หากใครมีความกังวลเรื่องคอเลสเตอรอลที่สูง เราแนะนำให้ท่านเลือกทานไข่ขาว ที่เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดีที่สุด อุดมด้วยกรดอะมิโนอันจะเป็นวัตถุดิบที่จะสร้างอัลบูมิน นอกจากนี้ พบว่ากว่า 50% ของโปรตีนจากไข่ขาว คือ โปรตีนอัลบูมิน 

กรดอะมิโนในไข่ขาว

ไข่ขาว มีกรดอะมิโนหลายชนิดซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ประกอบไปด้วย
 

กรดอะมิโนจำเป็นในไข่ขาว

ปริมาณ(ร้อยละ)

ไลซีน (Lysine)

6.8

ทริพโตเฟน (Tryptophan)

1.9

ฮิสทิดีน (histidine)

2.2

ฟีนิลแอลานีน (Phenylalanine)

5.4

ลิวซีน (Leucine)

8.4

ไอโซลิวซีน (isoleucine)

7.1

ทรีโอนีน (threonine)

5.5

เมไทโอนีน (methionine)- ซิสตีน (Cystine)

3.3

วาลีน (Valine)

8.1

           ไลซีน (Lysine) ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน ฮอร์โมน และเอนไซม์ต่าง ๆ ในร่างกาย
          ทริพโตเฟน (Tryptophan) ช่วยในการนอนหลับพักผ่อน ช่วยให้ร่างกายปรับตัวเข้ากับเวลานอนได้ดียิ่งขึ้น

          ฮิสทิดีน (Histidine) เป็นกรดอะมิโนที่มีความสำคัญกับวัยเด็ก เพราะมีผลต่อการเจริญเติบโต ช่วยการทำงานของระบบประสาท นอกจากนี้ ยังช่วยให้การส่งผ่านและการรับรู้ของระบบประสาทดีขึ้น

          ฟีนิลแอลานน (Phenylalanine) ช่วยทำให้รู้สึกสบาย มีความสุข อารมณ์ดี นอกจากนี้ ยังช่วยให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น อาจส่งผลให้ในการควบคุมน้ำหนัก

          ลิวซีน (Leucine) ช่วยกระตุ้นการหลั่ง Growth Hormone ทำให้สามารถดูดซึมโปรตีนไปสร้างกล้ามเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระตุ้นการทำงานของสมอง เพิ่มกำลังให้กล้ามเนื้อ ช่วยให้เซลล์ประสาทแข็งแรง

         ไอโซลิวซีน (Isoleucine) เพิ่มความอดทน ช่วยในการรักษาและซ่อมแซมเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ อีกทั้งช่วยกระตุ้นให้เลือดแข็งตัวขณะเกิดบาดแผล

          ทรีโอนีน (Threonine) ช่วยในการเผาผลาญไขมัน ป้องกันการสะสมของไขมันในตับ ต้านการเกิดแผลเรื้อรัง ทั้งยังช่วยทำให้การทำงานของลำไส้ ระบบการย่อยและการดูดซึมสารอาหารดีขึ้น

         เมไทโอนีน (Methionine) ช่วยป้องกันการสะสมของไขมันในตับ และช่วยป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า

          ซิสตีน (Cystine) ช่วยป้องกันผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยยาคีโมและการฉายรังสี ลดการสะสมของจุดด่างดำที่เกิดขึ้นตามวัย สร้างผิว ผม เล็บให้มีสุขภาพดี ช่วยให้รากผมแข็งแรงไม่หลุดร่วงง่าย

          วาลีน (Valine) ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อ และการบำรุงรักษาสมดุลของไนโตรเจนในร่างกาย ช่วยกระตุ้นการหลั่ง Growth Hormone ช่วยเพิ่มกำลังให้กับร่างกาย

 

 โปรตีนอัลบูมินในไข่ขาว  โปรตีนอัลบูมินในไข่ขาว ประกอบไปด้วย

 

องค์ประกอบโปรตีนอัลบูมิน

ปริมาณ(ร้อยละ)

โอแวลบูมิน (Ovalbumin)

54

คอนแอลบูมิน(Conalbumin)

13

โอโวมิวคอยด์(Ovomucoid)

1.2

ไลโซโซม (Lysosome)

3.5

โอโวอินฮิบิเตอร์(Ovoinhibitor)

-

ซิสตาติน(Cystatin)

-

 

การรับประทานไข่ขาวในผู้ป่วยโรคตับและมะเร็งตับ

     โปรตีนอัลบูมิน ซึ่งนอกจากบุคคลทั่วไปยังรับประทานได้แล้ว โปรตีนอัลบูมิน ยังเป็นโปรตีนที่มีความจำเป็นต่อผู้ป่วยโรคตับและมะเร็งตับ เนื่องจาก ผู้ป่วยโรคตับและมะเร็งตับ ส่วนใหญ่มักจะมีอาการบวมน้ำ เพราะมีภาวะอัลบูมินต่ำ การรับประทานไข่ขาวช่วยให้ภาวะบวมน้ำในผู้ป่วยดีขึ้น เพราะโปรตีนอัลบูมินมีคุณสมบัติช่วยอุ้มน้ำ และมีน้ำเป็นส่วนประกอบเป็นจำนวนมาก โดยผู้ป่วยควรเลือกรับประทานแต่ไข่ขาววันละ 2 ฟอง เพื่อเพิ่มโปรตีนอัลบูมินในร่างกาย

     นอกจากนี้ อัลบูมินและกรดอะมิโนที่อยู่ในไข่ขาว มีคุณสมบัติหลัก คือ ช่วยสร้างกล้ามเนื้อ ช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตของร่างกาย ไข่ขาวจึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งตับ เพราะไข่ขาวจะช่วยซ่อมแซม เสริมสร้างกล้ามเนื้อต่าง ๆ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้ป่วยมีแรงไปต่อสู้กับมะเร็ง ทั้งยังมีกรดอะมิโนซิสตีนในไข่ขาว ที่จะช่วยลดอาการข้างเคียงของการฉายแสงและคีโมอีกด้วย
      อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการทางประสาทที่มีสาเหตุมาจากตับ ต้องจำกัดปริมาณโปรตีน ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ ก่อนรับประทานไข่ขาว

 

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.foodnetworksolution.com/ 

 

 

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อาหารผู้ป่วยะมเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้