ยาระงับการปวดในผู้ป่วยมะเร็ง
วันที่ 23-12-2015 | อ่าน : 7686
ความปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้นมีความแตกต่างกันไปแต่ละบุคคล บางคนปวดน้อย บางคนปวดมาก ซึ่งนอกจากขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลแล้ว ความปวดยังขึ้นอยู่กับการแพร่กระจายของมะเร็งโดยตรง (metastases) โดยการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังกระดูก กระจายไปยังเนื้อเยื่อใกล้เคียง กระจายไปกดทับเส้นประสาท หรือจะเป็นความปวดที่เกิดจากการรักษา เช่น การทำเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีรักษา ล้วนเป็นความปวดที่มีสาเหตุมาจากมะเร็งทั้งสิ้น โดยเมื่อเมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดแพทย์จะพิจารณาจ่ายยาเพื่อลดอาการปวด ซึ่งยาระงับอาการปวดของผู้ป่วยมะเร็งจะต้องพิจารณาจากองค์ประกอบดังนี้
คะแนนและสัญลักษณ์ที่ให้ผู้ป่วยเลือกเพื่อวัดระดับอาการปวด
การพิจารณาอาการปวดของผู้ป่วย
1. ก่อนการให้ยาแพทย์จะต้องพิจารณาว่าผู้ป่วยมีอาการปวดในระดับไหน
ซึ่งสามารถแบ่งระดับความปวดได้ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับน้อย ระดับปานกลาง และระดับมาก โดยผู้ป่วยจะเป็นผู้บอกระดับความเจ็บปวด ซึ่งจะใช้เครื่องมือที่วัดคะแนนความปวดเป็นตัวเลข 0-10 โดยให้ผู้ป่วยบอกว่าตัวเองมีความปวดอยู่ที่ระดับกี่คะแนน
ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสารกับแพทย์ได้ เช่น ผู้ป่วยเด็ก ผู้สูงอายุ จะมีวิธีการใช้รูปแบบหรือสัญลักษณ์แทนอาการเจ็บปวดเหล่านั้น เช่น สัญลักษณ์ยิ้มแสดงอาการปวดไม่มาก เป็นต้น
2. การจ่ายยาให้กับผู้ป่วย
หลังจากที่แพทย์ทราบถึงระดับของอาการปวดแล้ว แพทย์ก็จะนำผลของระดับความปวดดังกล่าวมาพิจารณาเพื่อจ่ายยาตามมาตรฐานความปวดของผู้ป่วยแต่ละระดับ สามารถจำแนกได้ดังนี้
2.1 การจ่ายยาในผู้ป่วยที่ปวดน้อย
ผู้ป่วยที่อยู่ในขั้นปวดน้อยถือว่ายังไม่มีความรุนแรงมากนัก ดังนั้น แพทย์จะจ่ายยาในกลุ่มที่ไม่ใช่ยาเสพติด เช่น พาราเซตามอล ยาต้านการอักเสบชนิดไม่สเตียรอยด์ (ยาในกลุ่ม เอ็นเสด NSAID) เช่น Ibuprofen ซึ่งยาในกลุ่มนี้จะส่งผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยคือ จะทำให้ผู้ป่วยระคายเคืองกระเพาะอาหาร,เลือดออกง่าย และหากรับประทานเป็นเวลานานๆอาจมีผลต่อไตได้
2.2 การจ่ายยาในผู้ป่วยที่ปวดระดับกลาง
ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาระงับความปวดในกลุ่มที่เป็นยาเสพติดชนิดอ่อน ( WEAK Opioids ) เช่น โคเดอีนหรือทรามาดอล
2.3 การจ่ายยาในผู้ป่วยที่ปวดรุนแรง
ส่วนผู้ป่วยที่มีระดับความปวดขั้นรุนแรง แพทย์ต้องจ่ายยาในกลุ่มยาเสพติดชนิดรุนแรง (Strong Opioids) เช่น มอร์ฟีน เป็นต้น
3. ผลข้างเคียงของยากลุ่มยาเสพติด
มอร์ฟีน ยามอร์ฟีนถูกพัฒนาขึ้นให้มีหลายรูปแบบ ทั้งรปบะรับประทานและแบบฉีด โดยยารับประทานก็มีหลากหลายดังนี้
1. มอร์ฟีนแบบรับประทานทุก 24 ชั่วโมง
2. มอร์ฟีนแบบรับประทานทุก 12 ชั่วโมง
นอกจากนี้ยังมียามอร์ฟีนชนิดออกฤทธิ์ระยะสั้น ได้แก่
1. มอร์ฟีนแบบรับประทานทุก 2 ชั่วโมง
2. มอร์ฟีนแบบรับประทานทุก 4 ชั่วโมง
โดยส่วนใหญ่แล้วอาการปวดของผู้ป่วยมะเร็งจะเป็นอาการปวดตลอดเวลา ดังนั้นแพทย์จังต้องจ่ายยามอร์ฟีนชนิดออกฤทธิ์ 24 ชม.ให้แก่ผู้ป่วย แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดอื่นๆร่วม หรือมีอาการปวดแทรกซ้อนระหว่างวัน แพทย์ก็จะพิจารณาจ่ายยาแบบออกฤทธิ์ระยะสั้นร่วมด้วย
ยาระงับปวดชนิดแปะผิวหนัง
ยาระงับปวดชนิดแปะผิวหนัง จะออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย โดยแผ่นหนึ่งจะออกฤทธิ์ 3 วัน แต่การใช้ยาชนิดนี้ เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรังเท่านั้น
ยาระงับปวดชนิดอมใต้ลิ้น
ยาระงับปวดแบบอมใต้ลิ้นมีการออกฤทธิ์เร็ว ในประเทศไทยยังไม่มีการใช้อย่างแพร่หลาย
ยาแต่ละประเภทมีผลข้างเคียงทั้งสิ้น ซึ่งยาเป็นเพียงแค่เครื่องเบาเท่าความเจ็บปวดให้กับผู้ป่วยเท่านั้น แต่วิ่งที่เป็นยาอย่างดีอีกทั้งยังไม่มีผลข้างเคียงกับผู้ป่วยก็คือ กำลังใจ ทั้งกำลังใจจากตัวเองและจากคนรอบข้าง หากผู้ป่วยมีกำลังใจต่อสู้กับมะเร็ง ในไม่ช้ายาเบาเทาอาการปวดก็จะเป็นแค่เพียงแค่ประสบการณ์และบทเรียนชีวิตเท่านั้น
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
ความรู้มะเร็ง