วันนั้นของเดือนทีไร ปวดท้องหนักมาก ทุกที เชื่อว่าผู้หญิงหลายๆคนคงอารมณ์เสียและมีอาการปวดท้องน้อยจากประจำเดือนกัน ในชีวิตของผู้หญิงเชื่อว่าต้องมีอาการปวดท้องน้อยอยู่บ่อยครั้ง ทั้งการปวดน้อย ปวดมาก ปวดตรงอุ้งเชิงกราน หรือปวดตรงกลางของท้องน้อย บางทีก็ปวดก่อน ขณะมี หรือ หลังมีประจำเดือน ซึ่งอาการปวดท้องน้อยเป็นอาการที่มาจากหลายสาเหตุ เพราะ อุ้งเชิงกรานหรืออวัยวะสืบพันธ์ของผู้หญิงประกอบไปด้วยหลายส่วน ได้แก่ ช่องคลอด มดลูก รังไข่ และท่อรังไข่) ทางเดินปัสสาวะ (กระเพาะปัสสาวะ และท่อไต) ลำไส้ใหญ่ สำไส้เล็ก กล้ามเนื้อ หลอดเลือด ดังนั้นอาการปวดท้องน้อยจะมีลักษณะแตกต่างกันไปตามอาการของโรค และมาจากหลายสาเหตุ
การปวดท้องน้อยสามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ การปวดท้องน้อยแบบเรื้อรัง การปวดท้องน้อยแบบเฉียบพลัน
2. มะเร็งรังไข่ (Ovarian Cancer)
โรคมะเร็งรังไข่ เป็น 1 ใน 10 โรคมะเร็งที่พบได้บ่อยมากที่สุด แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มเกิดจากเซลล์ตัวอ่อน หรือ เจิมเซลล์ (Germ cell) ซึ่งมักพบในเด็กและในหญิงอายุน้อย และกลุ่มเกิดจากเซลล์เนื้อเยื่อบุผิว (Epithelium) ซึ่งเป็นมะเร็งชนิดพบได้ในผู้ใหญ่ และพบมากในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป โดยทั่วไปแล้วหากมีการพูดถึงโรคมะเร็งรังไข่มักจะหมายถึงชนิดหลัง
อย่างไรก็ตาม ในทุกวันนี้ยังไม่สามารถระบุถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ได้ แต่มีการพบสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งรังไข่ได้ คือ สภาพแวดล้อม ซึ่งมีการพบว่าประเทศอุตสาหกรรมมักจะมีผู้ป่วยเป็นมะเร็งรังไข่ มากกว่าประเทศเกษตรกรรม รวมทั้งผู้ที่เคยมีประวัติเคยเป็นมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งระบบทางเดินอาหารก็จะมีความเสี่ยงมากกว่าปกติ นอกจากนี้ ในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคอ้วน ผู้ที่ใช้ยากระตุ้นตกไข่ และผู้ที่ใช้ยาฮอร์โมนเพศชดเชยในช่วงวัยทอง ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งรังไข่เช่นกัน
สำหรับอาการของผู้ป่วยโรค
มะเร็งรังไข่นั้นมักจะไม่มีอาการของโรคในระยะแรก ๆ แต่มีอาการคล้ายผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารทั่วไป เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง เรอ หรือมีอาการปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และอาจท้องผูก เนื่องจากก้อนมะเร็งกดเบียดทับลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ใหญ่ ดังนั้นผู้ป่วยจึงมักมาพบแพทย์ด้วยด้วยโรคนี้ในระยะลุกลามเสมอ เมื่อมีอาการปวดท้องน้อยและคลำเจอก้อนเนื้อในท้องน้อย มีประจำเดือนผิดปกติ หรือมีน้ำในช่องท้อง
3. เนื้องอกมดลูก (Uterine Fibroids)
เป็นเนื้องอกชนิดธรรมดา ไม่ใช่เนื้อร้าย ซึ่งพบได้ราว 25% ในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป และมักพบในผู้หญิงอายุระหว่าง 35- 45 ปี แต่อาจพบในหญิงสาวก็ได้ โดยเนื้องอกในมดลูกนี้เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุสำคัญของอาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดในสุภาพสตรี และยังเป็นสาเหตุของอาการ ปวดท้องน้อย ปัสสาวะบ่อยหรือท้องผูก จากการกดของก้อนเนื้องอกด้วย
อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่นอนของโรคได้ แต่มีข้อสันนิษฐานว่าอาจะเกิดจากพันธุกรรม หรือฮอร์โมนเพศในร่างกายที่ส่งเสริมให้เกิดการเจริญเติบโตของเนื้องอกมดลูก
4. อุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease : PID)
เป็นการอักเสบเฉียบพลันหรือเรื้อรังของอวัยวะสืบพันธุ์ส่วนบน ได้แก่ มดลูก ท่อนำไข่ รังไข่ และเยื่อบุช่องท้องบริเวณอุ้งเชิงกราน โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบถือว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และการติดเชื้ออาจกระจายเข้าสู่ช่องท้องอาจทำให้เกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบบริเวณกว้างเป็นภาวะแทรกซ้อนได้ มักพบในสตรีวัยเจริญพันธุ์
โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบก็คือ ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยครั้ง ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ขณะอายุยังน้อยซึ่งมีภูมิป้องกันตัวเองต่ำ ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือน หรือในช่วงหลังคลอดได้ไม่นาน
5. ปากมดลูกตีบ (Cervical Stenosis)
โรคปากมดลูกตีบ เป็นความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง ซึ่งมีสภาพของทางผ่านของปากมดลูกแคบหรือปิด ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ป่วยโรคนี้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ และอาจทำให้มีเลือดประจำเดือนไหลย้อนกลับ รวมทั้งในผู้ป่วยโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบก็อาจส่งผลให้มีน้ำหนองสะสมอยู่ในโพรงมดลูก เพราะไม่สามารถไหลออกมาได้
สำหรับสาเหตุของโรคปากมดลูกตีบนั้นประกอบด้วยหลายปัจจัยด้วยกัน โดยผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการปากมดลูกตีบโดยกำเนิด
6. ถุงน้ำในรังไข่ หรือ ซีสต์ที่รังไข่ (Ovarian Cysts)
ซีสต์ที่รังไข่ เป็นถุงน้ำที่พัฒนาขึ้นภายในรังไข่ โดยชนิดที่พบมากที่สุดก็คือ Functional Ovarian Cyst ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของกระบวนการสร้างไข่ภายในรังไข่ มักพบในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ และสามารถหายได้เองภายใน 8 - 12 สัปดาห์ กับชนิด Ovarian Cystic Neoplasms ซึ่งเกิดจากการเจริญของเซลล์ที่ผิดไปจากปกติในลักษณะเดียวกับการเกิดเนื้องอกและมะเร็ง โดยหากพบในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์มักจะเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง แต่หากพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นเนื้องอกแบบร้ายแรงสูง
สำหรับผู้ที่เกิดซีสต์ที่รังไข่ชนิด Ovarian Cystic Neoplasms นั้น ส่วนมากจะไม่มีอาการใด ๆ จนกระทั่งซีสต์นั้นแตกและมีเลือดออก หรือซีสต์มีขนาดใหญ่มากจนไปรบกวนอวัยวะหรือเนื้อเยื่อใกล้เคียง
การใส่ใจสุขภาพของตัวเราเองเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ควรมองข้าม เพราะบางทีการปวดเพียงเล็กๆน้อยๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนที่ร่างกายกำลังบอกเราว่าเรากำลังเจ็บป่วยอยู่ ควรสังเกตุพฤติกรรมหากมีอาการปวดซ้ำๆบ่อยๆ ควรไปพบแพทย์ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข
ข้อมูลจาก : http://www.vibhavadi.com
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง