อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร

วันที่ 25-05-2010 | อ่าน : 53063


อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร
 


  

         มะเร็งกระเพาะอาหารสามารถเกิดขึ้นที่ส่วนใดของกระเพาะอาหารก็ได้ โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นเซลล์ชนิด adenocarcinoma ปัจจัยเสี่ยงเกิดจาก การสูบบุหรี่ การติดเชื้อ Helicobacter pyroli การมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง เพศชายจะเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง 2 เท่า การป่วยเป็นโรคโลหิตจางชนิด Pernicious anemia Hereditary nonpolyposis (HNPCC หรือ lynch syndrome) ,familial adenomatous polyposis (FAP) และโรคอ้วน เหล่านี้จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร อาการของโรคบางครั้งผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใด หรือมีอาการท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียนก็ได้ การวินิจฉัยอาจทำการส่องกล้องหรือกลืนแป้งเพื่อดูชิ้นเนื้อที่เป็นอยู่ การรักษามะเร็งกระเพาะอาหารขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของก้อนเนื้อร้าย การกระจายไปอวัยวะอื่นๆ หรือไม่ และสุขภาพทั่วไปของผู้ป่วย ในหลายกรณี คณะแพทย์ซึ่งประกอบด้วยแพทย์ระบบทางเดินอาหาร ศัลยแพทย์ อายุรแพทย์โรคมะเร็ง และแพทย์รังสีรักษา ต้องปรึกษากันเพื่อวางแผนการรักษาที่ดีที่สุด ที่สำคัญอีกอย่าง คือ หลังจากการผ่าตัดกระเพาะอาหารผู้ป่วยมักจะเกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่า dumping syndrome ซึ่งอาหารก็จะเข้ามามีบทบาทสำคัญมาก

การจัดอาหาร

ข้าวแป้ง
    ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารคงต้องหันมาให้ความสำคัญต่อการควบคุมคาร์โบไฮเดรตร่วมด้วย เนื่องจากพบว่า หากคาร์โบไฮเดรตมากไปอาจทำให้เกิดผลเสียต่อโรคมะเร็งที่เป็นอยู่ได้ พลังงานจากอาหารหมู่นี้ยังคงได้รับเท่าเดิม คือ  55-60% ของพลังงานทั้งหมด แต่การได้รับนั้นควรกระจายให้มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตเท่ากันทุกมื้ออาหาร ยกเว้นในกรณีที่เพิ่งผ่าตัดกระเพาะออกไปบางส่วน ควรแบ่งมื้ออาหารและลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตให้น้อยเท่าที่ทำได้ เพื่อลดอาการไม่สบายท้องรวมไปถึงคลื่นไส้อาเจียน ควรรับประทานอาหารที่หลากหลาย หากเบื่ออาหารประเภทข้าวอาจเปลี่ยนเป็นขนมปัง หรือก๋วยเตี๋ยวราดหน้าบ้างก็ได้

เนื้อสัตว์
     การรับประทานเนื้อสัตว์มากอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารมากขึ้น โดยเฉพาะในเนื้อสัตว์ที่ติดมันมาก หรือในกรณีที่มีการปนเปื้อนของสารเคมี เช่น ในเนื้อหมูอาจจะมีไขมันอยู่เยอะ และมีการปนเปื้อนของสารเร่งเนื้อแดง ดังนั้น ควรเลือกเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำจากแหล่งหรือร้านที่เชื่อถือได้ว่าไม่มีการปนเปื้อนสารเคมี  โดยควรได้รับโปรตีนวันละ 15% ของปริมาณพลังงานที่ร่างกายต้องการแต่ละวัน แหล่งโปรตีนที่ดีที่สุด คือ ไข่ไก่ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่มีกรดอะมิโนครบทุกชนิด

ไขมัน
     ไขมันยังคงเป็นสิ่งที่ควรจำกัด และดูแลเป็นพิเศษ ควรงดเว้นของทอด กะทิ และอาหารอื่นๆ ที่มีส่วนประกอบไขมันสูง การปรุงประกอบอาหารโดยใช้น้ำมันมะกอกจะสามารถส่งผลดีต่อผู้ป่วยมะเร็งได้ ดังมีรายงานของการรับประทานอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งจะใช้น้ำมันมะกอกปรุงอาหาร พบว่าอัตราเสี่ยงต่อมะเร็งกระเพาะอาหารลดลง  แต่อย่างไรก็ตาม ถึงมีข้อมูลว่าน้ำมันมะกอกให้ผลดีต่อผู้ป่วย แต่ไม่ได้หมายถึงการรับประทานไขมันมากๆ และจะส่งผลดีต่อร่างกายดังนั้นควรลดการรับประทานไขมันเท่าที่เป็นไปได้

ผัก
       พืชในกลุ่มผักที่มีสาร Isoflavone มีรายงานทั้งช่วยควบคุมเซลล์มะเร็งและไม่มีผลต่อการควบคุมมะเร็ง แต่อย่างไรก็ตาม สารเหล่านี้ก็ยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จึงถือว่าการรับประทานผักกลุ่มกะหล่ำ บร็อคโคลี่ ยังให้ผลดีในการต้านอนุมูลอิสระอยู่ ควรรับประทานผักให้ได้วันละ 5 ทัพพี ขึ้นไป และมีรายงานถึงเห็ดหัวลิง ว่าสามารถให้ผลดีในการลดการเกิดมะเร็งกระเพาะรวมไปถึงแผลในกระเพาะอาหารได้
 

ผลไม้
    ผลไม้สามารถรับประทานได้ทุกชนิด แต่ให้ระมัดระวังในกรณีของการผ่าตัดกระเพาะแล้วเท่านั้น หลังจากนั้นสามารถเลือกรับประทานผลไม้ที่ไม่มีเนื้อหยาบเกินไปได้ตามต้องการ อาทิ มะละกอสุก ส้ม เป็นต้น

      สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการ dumping syndrome (เกิดจากการที่อาหารผ่านกระเพาะอาหารเข้าสู่ลำไส้เล็กเร็วเกินไป ทำให้มีอาการปวดเกร็งช่องท้อง คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย และอาจพบอาการน้ำตาลในเลือดต่ำได้) ร่วมด้วย ควรมีการดูแลอาหารพิเศษเพิ่มขึ้น คือ
     • ทานอาหารให้ลดปริมาณต่อมื้อให้น้อยลงแต่รับประทานเพิ่มจำนวนมื้อขึ้นแทน
     • ไม่ทานอาหารร้อนจัด หรือเย็นจัดจนเกินไป
     • ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น พวกเครื่องดื่มธัญพืช 
     • ไม่ดื่มน้ำร่วมกับมื้ออาหารควรเว้นระยะห่างจากการรับประทานอาหาร 30 นาที
     • ควรอยู่ในท่ากึ่งนั่งกึ่งนอนขณะรับประทานอาหารเพื่อให้อาหารเคลื่อนตัวได้ดีขึ้น
     • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดสูง เช่น มะเขือเทศ ส้ม มะนาว เป็นต้น
     • ควรรับประทานอาหารที่มีแพคติน (pectin) สูง เช่น  แอปเปิ้ล พลัม  พีช  เป็นต้น
     • ควรได้รับแคลเซียมและวิตามิน บี 12  เสริมจะสามารถทำให้ฟื้นฟูร่างกายได้เร็วขึ้น
 

ตัวอย่างการเลือกอาหารสำหรับผู้ป่วย dumping syndrome 

ข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าว

การเลือกอาหาร

อาหารที่ควรเลี่ยง

รับประทาน 6-11 ส่วนต่อวัน
โดย 1 ส่วนเท่ากับขนมปัง 1 แผ่น, ข้าว 1 ทัพพี, พาสต้า 1/2 ถ้วย

ขนมปังทุกชนิดที่ไม่มีรสหวาน, ข้าว พาสต้า, แครกเกอร์, ซุป

อาหารหวาน, แครกเกอร์, ขนมปัง หวาน, แพนเค้ก, วาฟเฟิล

ผลไม้

การเลือกอาหาร

อาหารที่ควรเลี่ยง

รับประทาน 2-4 ส่วนต่อวัน
โดย 1 ส่วน คือ 1 ผลของผลไม้ขนาดกลาง เช่น ส้ม 1 ผล                          

ผลไม้สดที่ไม่หวานจัด, น้ำผลไม้ 100% ไม่หวานจัด ควรรับประทานหลังอาหาร 1 ชั่วโมง

ผลไม้กระป๋องในน้ำเชื่อม, น้ำผลไม้ที่เติมน้ำตาล

นม

การเลือกอาหาร

อาหารที่ควรเลี่ยง

วันละไม่เกิน 2 ส่วน
โดย 1 ส่วน เท่ากับ 1 แก้ว 

โยเกิร์ตรสธรรมชาติ, นมพร่องมันเนยจืด                   

มิลค์เชค, โยเกิร์ตรสหวาน

เครื่องดื่ม

การเลือกอาหาร

อาหารที่ควรเลี่ยง

 

เครื่องดื่มปราศจากน้ำตาลทุกชนิด

แอลกอฮอล์, เครื่องดื่มใส่น้ำตาล

หมายเหตุ  :  กลุ่มผักและเนื้อสัตว์สามารถรับประทานได้ตามปกติและไขมันเลี่ยงให้ได้มากที่สุด

คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร
     •  รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย รสไม่จัด เนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา กุ้ง ถ้าจะรับประทานเนื้อสัตว์ที่ย่อยยากควรต้มให้เปื่อยก่อน  หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีกากมาก เช่น เมล็ดพืช เปลือกผลไม้ ผักเยื่อใยหยาบ เป็นต้น
     •  เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืนและรับประทานอาหารช้าๆ
     •  อาหารควรสะอาดสุกใหม่ งดอาหารที่คิดว่าอาจจะปนเปื้อนทำความสะอาดไม่ได้ เช่น หอยทุกชนิด อาหารหมักดอง เนื่องจากน้ำกรดที่ช่วยในการย่อยและทำลายเชื้อโรคมาจากกระเพาะ เมื่อกระเพาะถูกตัดน้ำกรดก็เหลือน้อยลง อาหาร มือ และภาชนะควรล้างให้สะอาดก่อนปรุง อาหารที่ปรุงแล้วปิดให้มิดชิด และล้างมือก่อนรับประทานอาหาร

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อาหารผู้ป่วยะมเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้